รายงานวิจัยหน้าเดียว


การวิจัยเป็นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งได้ดำเนินการและประสบผลสำเร็จ ดังนี้

วิจัยเรื่อง          การพัฒนาการสอนภาษาไทยโดยใช้ชุดนิเทศการสอนภาษาไทยที่โยงใยสู่ท้องถิ่น

ชื่อผู้วิจัย           นางวรรณดี  สุธาพาณิชย์ 

ปีที่ทำการวิจัย  2543วัตถุประสงค์       1.      เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอน ที่มีต่อชุดการสอนและชุดฝึกอบรม  2.   เพื่อติดตามผลการใช้ชุดการสอน   อ่านไทยที่โยงใยสู่ท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

นวัตกรรม

                   1.   ชุดการสอนอ่านไทยที่โยงใยสู้ท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4                   2.   แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ที่มีต่อชุดการสอนอ่านไทยที่โยงใยสู่ท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4       3.   ชุดฝึกอบรม  9  ขั้นตอน  สู่ชุดการสอนภาษาไทยที่โยงใยสู่ท้องถิ่น                   4.    แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน     ที่มีต่อชุดฝึกอบรม   9  ขั้นตอนสู่ชุดการสอนภาษาไทยที่โยงใยสู่ท้องถิ่น

การดำเนินงานวิจัย

1.      กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่  ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12  คน  และนักเรียนห้องเรียนของครูผู้สอนดังกล่าว จำนวน  388  คน2.      ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น   ชุดการสอนอ่านไทยที่โยงใยสู่ท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  และชุดฝึกอบรม  9  ขั้นตอนสู่ชุดการสอนภาษาไทยที่โยงใยสู่ท้องถิ่น

ตัวแปรตาม  ความคิดเห็นและผลการสอนภาษาไทยของครูผู้สอน       และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสมรรถภาพการอ่านจับใจความของนักเรียน3.      การนำไปใช้  ใช้นวัตกรรมประกอบการนิเทศ จำนวน  1  ภาคเรียน  โดยมีการทดสอบความรู้ความสามารถของครูและนักเรียน  สอบถามความคิดเห็นครูผู้สอน4.      การเก็บรวบรวมข้อมูล  ทดสอบครู, นักเรียนก่อนและหลังนิเทศ   และ สอบถามความคิดเห็นครูผู้สอนหลังการนิเทศ5.      วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล     วิเคราะห์คะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน     วิเคราะห์คะแนนความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นของครูผู้สอน6.      สถิติที่ใช้   ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน   และค่าที(t – test)     ผลการวิจัย     หลังจากการนิเทศ  ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อชุดการสอนและชุดฝึกอบรมว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก    ครูผู้สอนและนักเรียนมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

วิจัยเรื่อง          การศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนอ่านจับใจความ   โดยใช้ชุดการสอนอ่านไทยที่โยงใยสูท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

ชื่อผู้วิจัย           นางวรรณดี  สุธาพาณิชย์ 

ปีที่ทำการวิจัย  2542วัตถุประสงค์      

 1.   เพื่อสร้างชุดการสอน อ่านไทยที่โยงใยสูท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

2.      เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่เรียนจากชุดการสอน    กับการเรียนแบบปกติ

นวัตกรรม

                   1.   ชุดการสอนอ่านไทยที่โยงใยสู้ท้องถิ่น  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4                   2.   แบบทดสอบประจำชุดการสอน3.      แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความ

การดำเนินงานวิจัย

1.      กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 6 ห้องเรียน  154  คน  โดยจัดเป็นกลุ่มทดลอง  จำนวน  3 ห้องเรียน  กลุ่มควบคุม  จำนวน  3  ห้องเรียน2.      ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น   วิธีสอนอ่านจับใจความจากชุดการสอน

ตัวแปรตาม  คะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ3.      การนำไปใช้  ใช้นวัตกรรมประกอบการสอนอ่านจับใจความ  จำนวน  1  ภาคเรียน  โดย   มีการทดสอบประจำชุดการสอนจำนวน 10 ครั้ง 4.      การเก็บรวบรวมข้อมูล  ทดสอบนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม   5.      วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล     วิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ     6.      สถิติที่ใช้   ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย     และค่าที(t – test)     ผลการวิจัย     พบว่าชุดการสอนอ่านไทย   ที่โยงใยสู่ท้องถิ่น    มีประสิทธิภาพ  E1/E2 เท่ากับ  79.13/78.41  และนักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสมรรถภาพการอ่านจับใจความ  สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

 

วิจัยเรื่อง          การใช้คู่มือครู  การสอนแจกลูกและสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย           นางวรรณดี  สุธาพาณิชย์ 

ปีที่ทำการวิจัย  2538วัตถุประสงค์      

 1.   เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยที่มีต่อคู่มือครู

                   2.   เพื่อศึกษาการปฏิบัติการนำคู่มือครูไปใช้

3.   เพื่อศึกษาความสำเร็จของการนำความรู้จากคู่มือครูไปใช้

4.       เพื่อศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมการสอนเรื่องการแจกลูกสะกดคำ

นวัตกรรม

                   1.   แบบสอบถามความคิดเห็นต่อคู่มือครู                   2.   แบบสำรวจการปฏิบัติการนำไปใช้

             3.   คู่มือครู  การสอนแจกลูกและสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

                   4.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การดำเนินงานวิจัย

1.      กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ครูผู้สอนภาษาไทยชั้น ป. 2  จำนวน  10 ห้องเรียนและนักเรียนห้องเรียนดังกล่าว  261  คนเป็นกลุ่มทดลอง  5 ห้องเรียน  กลุ่มควบคุม  5  ห้องเรียน2.   ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น   ครูมือครู

ตัวแปรตาม  ระดับความคิดเห็นของครูและคะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน

3.   การนำไปใช้  ใช้นวัตกรรมประกอบการสอนแจกลูกและสะกดคำ  จำนวน  1  ภาคเรียน  โดยมีการทดสอบนักเรียนและสอบถามความคิดเห็นของครู

4.   การเก็บรวบรวมข้อมูล  ทดสอบนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม   และสอบถามความคิดเห็นครู

5.      วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล     วิเคราะห์คะแนนความคิดเห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน     6.      สถิติที่ใช้   ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   

ผลการวิจัย     พบว่าครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อคู่มือครูว่าเหมาะสมมากที่สุด  มีการนำไปใช้ในระดับมากที่สุดทุกรายการ    ความสำเร็จของการนำความรู้จากคู่มือครูไปใช้อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด     ครูผู้สอนพัฒนาพฤติกรรมการสอนเรื่องการแจกลูกสะกดคำสูงขึ้นและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแจกลูกสะกดคำสูงขึ้นเช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 71790เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะอาจารย์  วรรณดี  

  • เป็นบันทึกที่ดีเยี่ยมค่ะ  ครูอ้อยจะเก็บไว้ในห้องทำงานของครูอ้อยนะคะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยค่ะ

ขอตามครูอ้อย มาเก็บในโลกนวัตกรรมของผมด้วยนะครับ

ดิฉันได้อ่านงานวิจัยหน้าเดียวของท่านแล้วให้สาระความรู้ดีมากค่ะ  หวังว่าโอกาสคงได้รับความรู้จากท่านอีกนะคะ
     คุณครูพิศมัย  พานโฮม  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส.พ.ท.ส.น. 2

วิจัยอันดีมากผมไปสอนพัฒนาขั้น

ดิฉันได้อ่านวิจัยหน้าเดียวของคุณแล้วมีประโยชน์ต่อการเรียนกานสอนของครูดีมาก หวังว่าโอกาสต่อไปคงจะได้ความรู้จากคุณอีก

ครูเอมอร จิระเนตร โรงเรียนบ้านทุ่งแค สพท.เพชรบูรณ์ เขต 1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท