การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาวิธีการสอน:กิจกรรมการแก้ปัญหานักศึกษาไม่อ่านหนังสือ


อันที่จริงความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติย่อมดีกว่าความรู้จากการอ่านแล้วรู้ ที่นี้ถ้ายังไม่มีแรงจูงใจให้ปฏิบัติ การอ่านเพื่อเป็นข้อมูลก็น่าจะดีกว่าการไม่อ่าน

ก่อนเข้าบรรยายในชั้นเรียน ผมจะพบว่า นักศึกษาไม่ชอบที่อ่านหนังสือก่อนเข้าชั้นเรียน จริงอยู่การอยู่ในชั้นเรียนน่าจะเป็นเพียงการมาสรุปข้อมูลร่วมกัน แต่มันจะสรุปได้อย่างไรในเมื่อนอกชั้นเรียนไม่ได้แสวงหาข้อมูลอะไรเลย

กิจกรรมที่จะกล่าวถึงนี้ อาจไม่เหมาะสมถ้าจะทำจนเป็นนิสัย นั้นคือการเอาคะแนนเป็นตัวล่อ ผมมองว่าไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะจะเป็นการสร้างนิสัยว่า ถ้าไม่ได้สิ่งตอบแทนฉันจะไม่ทำ แต่นั่นเองแม้เราจะปฏิเสธแต่สังคมรอบข้างอย่างสื่อโทรทัศน์ก็สร้างนิสัยนี้คือ ถ้าไม่ได้สิ่งตอบแทนก็จะไม่ทำ เช่นรางวัลต่างๆ ที่เป็นตัวล่อให้ซื้อสินค้า เป็นตัวล่อให้ทำอย่างนี้ อย่างนั้น อย่างไรก็ตาม ผมก็ต้องทำเพื่อให้เด็กอ่านหนังสือ (อันที่จริงไม่ทำก็ได้) เป็นกิจกรรมดังนี้

เงื่อนไขคือ

๑. มีคะแนน ๕ คะแนน (พูดให้เห็นความสำคัญก่อนว่า ๑ คะแนนก็มีความหมายสามารถปัดจาก B เป็น B+ ได้ และให้เห็นความสำคัญของภาษิตบทหนึ่งที่ว่า มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท...)

๒. แต่ละคนจะได้รับคำถาม ๑ คำถาม ถ้าทำได้....

เขียนอธิบายได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ รับไป ๕ คะแนน (ฝึกฝนการเขียนด้วย เราจะพบว่า เด็กเดี๋ยวนี้แม้แต่ตัวผมเองก็เขียนผิดพลาดเยอะมาก)

เขียนอธิบายได้เกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ รับไป ๔ คะแนน

เขียนอธิบายได้ประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ รับไป ๓ คะแนน

เขียนอธิบายได้บ้าง รับไป ๑ คะแนน

เขียนไม่ตรงคำถามเลย รับไป ๐ คะแนน

สิ่งที่ต้องเตรียม

๑. ชุดคำถาม (ผมเตรียมคำถามทั้งหมด ๑๒ ข้อ แต่ละข้อต้องอธิบายด้วย นั้นหมายความว่า ตอบโดยมีหลักการและวิธีการ วิธีการคือความเข้าใจจากการตีความตามความสามารถของเด็ก) ที่ระบุหมายเลขหัวข้อ (ใครได้ข้อไหนแล้วแต่บุญกับการเลือกเก้าอี้)

๒. กระดาษเปล่าที่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาแต่ละห้อง / อาจให้นักศึกษาเตรียมไว้

กิจกรรม

๑. มีเนื้อหาอยู่จำนวนเท่านี้ (ประมาณ ๓๐ หน้า) ให้เราตกลงกันว่าจะใช้เวลาในการอ่าน ศึกษาข้อมูลด้วยเวลาเท่าไร (พบว่า นักศึกษาขอ ๑ ชั่วโมงเต็ม)

๒. ระหว่างนักศึกษากำลังอ่านหนังสือ ผมก็จะจัดโต๊ะให้เป็นวงกลมรอบห้อง (ยกโต๊ะ ไม่ลาก เพราะถ้าลากจะมีเสียงดังรบกวนเด็ก) โดยหมายเหตุตัวที่จะนับ ๑ ไว้แล้ว และบอกนักศึกษาก่อนที่เข้าจะเลือกที่นั่งว่าจะนับจากตัวไหนเป็นลำดับแรก

๓. เมื่อครบเวลาตามกำหนด ให้แต่ละคนวางหนังสือไว้บนโต๊ะ (กลาง) หยิบเพียงกระดาษเปล่าและปากกาด้ามเดียว จากนั้นออกไปเลือกที่นั่งที่จัดไว้ได้ตามใจชอบ จะนั่งที่ไหน อย่างไร ใกล้ใครก็ตามใจ

๔. ให้นักศึกษานับ ๑๒ (เพราะมี ๑๒ ข้อ)

๕. มอบหัวข้อให้ คือ นักศึกษาที่ได้หมายเลข ๑ ดังต่อไปนี้.........

๖. นักศึกษาลงมือเขียน (ให้เวลา ๒๐ นาที) และส่ง

-------------------------------------------------------------

แต่ปรากฎว่า แต่ละคนเขียนไม่ได้ เพราะได้รับหัวข้อที่ไม่ถนัดโดยมาก แม้จะถนัดแต่คงได้ไม่หมด (อันนี้ผมคาดการณ์ไว้ก่อนแล้ว) ผมจึงรอเวลาสักพักใหญ่ จึงเริ่มแผน ๒ โดยกล่าวว่า "ทำได้ไหมครับ..." เสียงตอบพร้อมกันว่า "ไม่ได้ครับ..ค่ะ" "ถ้าอย่างนั้น วางปากกาลงบนโต๊ะ และยืนขึ้นพร้อมกัน ผมมีเวลาให้ ๕ นาทีในการไปค้นคว้าจากหนังกลางห้อง (วงกลางของห้อง) โดยห้ามมานั่งอ่านที่วงนอก ใครอ่านได้ข้อมูลแล้ว ให้มานั่งเขียนต่อ และจะลุกไปอ่านอีกไม่ได้" (ดูเหมือนจะเผด็จการมากเลยครับ แต่ปริบทของชุมชนมันต่างกัน เผด็จการก็ต้องเผด็จการ แต่ไม่ใช่เผด็จการทุกวัน) ปรากฎว่า แต่ละคนรีบไปอ่านหนังสือ ค้นหา บางคนค้นหาไม่เจอ เพราะอ่านผ่านๆ กว่าจะได้ข้อมูลมีอันต้องรีบร้อนกันยกใหญ่ (แต่ผมก็ปล่อยให้อ่านเกินกว่า ๕ นาที) จากนั้นแต่ละคนจึงรีบทยอยไปเขียนตามกติกา เสร็จแล้วจึงนำส่ง

-------------------------------------------------------

สิ่งที่ผมสรุปตอนท้ายคือ

๑. อย่างน้อยวันนี้เราได้อ่านหนังสือทั้งแบบมุมกว้างและแบบเจาะลึก (ต่อไปปลายภาคจะได้อ่านอีกสักรอบสองรอบ จะได้เป็นการเพิ่มพูลความรุ้ต่อไป)

๒. คะแนนที่ได้ไม่ใช่เกิดจากความสงสาร หรือขอจากใคร

๓. ทุกคนมีเวลาเท่ากัน และควรจะยอมรับกฎเกณฑ์กับสิ่งที่เราเลือกที่จะนั่ง อาจได้หัวข้อที่ยาก

--------------------------------------

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ บทนี้ผมเคยท่องจำมาเมื่อเกือบสิบปีมาแล้ว วันก่อนได้ไปอ่านใน BLOG ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ทำให้ผมเข้าใจตัวนี้

หมายเลขบันทึก: 71732เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2016 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นการพัฒนาการเรียนการสอนไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว

ทำต่อไปนะพี่เผื่อกลับไปจะได้นำความรู้ที่ท่านจัดการมาใช้ในการเรียนการสอนของตัวเองบ้าง

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • สำหรับมุมมองในสายกิจการนักศึกษาอย่างผมที่ไม่เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนในหลักสูตร..ก็ตระหนักว่านิสิตอ่านหนังสือน้อยมาก และถึงอ่านก็อ่านไม่หลากหลายแนว
  • ผมจึงมักคัดลอก หรือนำเรื่องสั้น บทกวี บทความต่าง ๆ ทั้งเริงรมย์และเริงปัญญามานำเสนอให้เขาอ่าน บางครั้งก็ทำเป็นเอกสารประกอบการสัมมนาในรูปเล่มเล็ก ๆ น่ารักและน่าสนใจ
  • และก็กลายเป็นความนิยมในหมู่ผู้นำนิสิต มีการนำไปผลิตซ้ำในหมู่พวกเขาเองบ่อยครั้งมาก
  • หลายคนเข้ามาติดต่อขอรับเพิ่มเติม บ้างมาถามว่าจะติดตามอ่านทั้งเล่มได้ที่ไหน ...โดยเฉพาะหนังสือหายากในยุคสมัยก่อนที่ไม่ค่อยพิมพ์เผยแพร่ใหม่
  • บางเล่มราคาสมัยนั้น ไม่ถึง 10 บาทแต่ผมก็ลงทุนซื้อเล่มละเกือบร้อยหรือมากกว่านั้นด้วยซ้ำไป
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนซึ่งอาจไม่เกี่ยวโยงนักก็คงไม่ว่ากัน ...ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับคุณออต ยินดีครับคุณจักรพงศ์และbeerthai และขอขอบคุณคุณแผ่นดิน ที่ให้แนวคิดที่ดีมา ผมก็ต้องขอนำไปพัฒนาการเรียนการสอนในความรับผิดชอบต่อไปครับ:-)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท