ไปฟังส.6สร้างสรรค์/นวัตกรรม (1):อยากรู้ ฟังและ เห็น กับความเหมือนที่แตกต่าง


ช่วงบ่ายวานนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน ส.6 สร้างสรรค์/นวัตกรรม ซึ่งมีทีมจากภาคพยาธิถึง 5 ทีมด้วยกัน และหนึ่งในห้าก็มีทีมของหน่วยเคมีเราถึง 2 โครงการด้วย เลยถือโอกาสไปฟังและให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน แต่จริง ๆ แล้วก็อยากมากกว่านั้น....

จะว่าไปก็อยากไปหมดนั่นแหละ อยากรู้ อยากเห็น อยากฟัง เว้นก็แต่อยากกิน ผู้เขียนว่าถ้าเราฟังมาก เห็นมาก รู้มาก ในสิ่งที่ดี สร้างสรรค์ ประโยชน์ย่อมได้กับตัวเราเอง เป็นต้นว่า...

  • ได้ Idea มาพัฒนางานตัวเองได้อีกบ้าง ซึ่งก็ได้รับผลคุ้มค่าจริง ๆ โดยเฉพาะเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหรือแรงบันดาลใจ และที่มาของ Idea ในการนำเสนอผลงาน (เคล็ดลับแบบไม่ลับได้จากผู้เสนอท่านหนึ่งค่ะ แล้วผู้เขียนจะเล่าในบันทึกต่อไป)
  • ได้รู้ถึงการทำงานของหน่วยงานหรือภาควิชาอื่นบ้าง ยอมรับว่าคณะแพทย์เรานี่ใหญ่จริง  ๆ มีหลายหน่วยงานที่ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่ามี และตั้งอยู่ที่ใด ลักษณะงานเป็นอย่างไรกัน
  • ได้รู้จักหน้าค่าตา แบบว่าได้เห็นด้วยตาและได้ฟังจากผู้ปฏิบัติงานจริง ๆ
  • ได้ความรู้จากคำแนะนำเพิ่มเติมของท่าน commentator

ผู้เขียนก็นับว่าโชคดีอยู่บ้าง เพราะอยู่ในจุดที่สามารถปลีกเวลาได้บ้าง เพราะจากกำหนดการไม่เกินบ่ายสองการนำเสนอจบครบทุกทีม แต่จริง ๆ แล้วปาเข้าไปเกือบ 4 โมงอย่างไม่รู้ตัวเลย เพราะฟังการนำเสนอซะเพลินลืมเวลาซะสนิท

ซึ่งการนำเสนอในวันนี้มีท่านคณบดี อาจารย์กิตติ ลิ่มอภิชาติ และผอ.รพ. อาจารย์สุเมธ พีรวุฒิ ร่วมเป็นกรรมการรวมทั้งอาจารย์ท่านอื่นไม่ว่าจะเป็นอาจารย์โสภณ อาจารย์เรืองศักดิ์ และอาจารย์ถวัลย์ ลืมไปค่ะว่าคุณเอื้อเราก็ไปเป็นกำลังใจให้กับลูกภาคด้วยอีกด้วย

จากกำหนดการมี 12 เรื่อง แต่มีเพิ่มอีก 2 โครงการ รวมแล้ว 14 โครงการดังนี้ค่ะ

1. เครื่องกดแผล จากศูนย์โรคหัวใจนราธิวาสราชนครินทร์
2. ที่วางอุปกรณ์การทดลองทางห้องปฏิบัติการ อายุรศาสตร์
3. อุปกรณ์สำหรับย้อมสไลด์ อายุรศาสตร์
4. ปากกามหัศจรรย์ งานเวชภัณฑ์กลาง
5. เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่งานโภชนาการในการบริการอาหารงานเลี้ยง งานโภชนาการ
6. ถุงใส่ probe อัลตร้าซาวด์ ภาควิชารังสีวิทยา
7. Connector เอนกประสงค์ ภาควิชารังสีวิทยา
8. IQC Hb typing สู่มาตรฐานคุณภาพ ภาควิชาพยาธิวิทยา
9. ฐานข้อมูลการรับส่งเอกสารภาควิชาพยาธิวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา
10. ประดิษฐ์อุปกรณ์วัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ภาควิชาพยาธิวิทยา
11. PHA สกัดจากถั่วแดงหลวง ภาควิชาพยาธิวิทยา
12. ลดอัตราความผิดพลาดจากการติดฉลาก barcode มากกว่าหนึ่งชิ้น ภาควิชาพยาธิวิทยา
13. ประดิษฐ์อุปกรณ์วาง Summer bed จาก ward เด็ก2
14. ประดิษฐ์ที่วางอุปกรณ์ จาก Ward เด็ก 2

จะว่าไปก็คล้าย ๆ กับโครงการ Patho OTOP ของภาคเรานี่เองค่ะ อาจจะเป็นความเหมือนที่แตกต่างกันบ้างในบางประเด็น ตามความเห็นและความเข้าใจของผู้เขียนมีดังนี้ค่ะ

ความแตกต่าง : ส.6

  • เป็นการเสนอโครงการที่สำเร็จแล้ว ภายในรอบเดียว
  • ไม่มีการส่งรายงานล่วงหน้า (หรือตามหลัง)
  • ให้เวลาเพียง 5 นาทีในการนำเสนอ
  • ท่านคณะกรรมการเป็นทั้งผู้ให้คะแนนและ Commentator ภายในครั้งเดียว และลงคะแนนเดี๋ยวนั้นมีการทยอยรวบรวมเก็บใบคะแนนของแต่ละท่าน
  • ไม่มีรางวัลปลอบใจอย่างเรา เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่ว่าทุกทีมจะได้รางวัล
  • ความเหมือน

    • ไม่แบ่งแยกการนำเสนอของระดับผู้ปฏิบัติการเช่นเดียวกัน
    • เป็นโครงการที่หลากหลายรูปแบบมีทั้งนวัตกรรม สร้างสรรค์ทั้งพัฒนา และงานวิจัย เพราะบางเรื่องก็ต่อเป็น R2R ได้เช่นเดียวกัน
    • เวที เป็นห้อง M เช่นเดียวกัน เสียดายที่ไม่ได้มีการถ่ายทอดวงจรปิด

ผู้เขียนชอบทุกทีมเลยค่ะ แต่ไม่อยากลงลึกในรายละเอียด เพราะกลัวจะไปเป็นการล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ผู้เขียนจะมาเล่าคร่าว ๆ แบบไม่ลงลึก และผู้เขียนได้อะไรบ้างในการฟังของแต่ละผลงาน ในบันทึกต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 71701เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไปฟังได้ไม่หมด จะรออ่านจากคุณศิริค่ะ

  • สวัสดีปีใหม่ครับคุณศิริ
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาเล่าเพื่อแบ่งปัน
  • อาจารย์ปารมีค๊ะ -ขอบคุณค่ะ แอบเสียดายเล็ก ๆ แทนค่ะ  
  • สวัสดีปีใหม่คุณสิงห์ป่าสัก เช่นกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท