โครงการหนังสั้น


เป้าหมาย : ต้องการใช้หนังสั้น และสารคดี ซึ่งเป็นสื่อที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน และนักศึกษา มาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ และรณรงค์ด้านสุขภาพ เพราะที่ผ่านมาการใช้สื่อรณรงค์เพื่อสุขภาพนั้นมีน้อยมาก มีเพียงหน่วยงานสาธารณสุขเท่านั้นที่ทำ เช่น รณรงค์เรื่องต่าง ๆ ตามนโยบาย

 โครงการหนังสั้น

 

1.      คำสำคัญ        : สื่อ หนังสั้น สารคดี  เยาวชน

 

2.      จังหวัด : มหาสารคาม

 

3.      กลุ่มเป้าหมาย  : เด็กนักเรียนระดับมัธยมปลาย และเยาวชนระดับอุดมศึกษา ในภาคอีสาน

 

4.   เป้าหมาย        : ต้องการใช้หนังสั้น และสารคดี ซึ่งเป็นสื่อที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน และนักศึกษา มาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ และรณรงค์ด้านสุขภาพ เพราะที่ผ่านมาการใช้สื่อรณรงค์เพื่อสุขภาพนั้นมีน้อยมาก มีเพียงหน่วยงานสาธารณสุขเท่านั้นที่ทำ เช่น รณรงค์เรื่องต่าง ๆ ตามนโยบาย

 

5.   สาระสำคัญของโครงการ  : แกนนำทั้ง 2 ท่าน เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และถนัดการใช้สื่อ ในการทำกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยมีประสบการณ์การทำงานกับเด็กในชุมชน เพราะเข้าไปทำละครเร่ ซึ่งมักเป็นเด็กเล็ก (ประถมปลาย มัธยมต้น) มากกว่า โดยมีเด็กมหาวิทยาลัยเป็นแกนนำ (แต่เป็นเด็กที่อยู่ในสาขาวิชา การทำงานช่วงแรกกลุ่มเป้าหมายจึงไม่ได้เน้นที่เด็กมหาวิทยาลัย แต่มุ่งให้เด็กในชุมชนมีบทบาทในการร่วมคิดเรื่องยาเสพติดในแต่ละชุมชนมากกว่า) ซึ่งพื้นที่การทำกิจกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในเขต อ.เมือง จ.มหาสารคาม ส่วนโครงการนวัตกรรมสื่อฯ ที่ทำครั้งนี้เป็นการทำงานกับเด็กโต (มัธยมปลาย อุดมศึกษา) เนื่องจากเห็นว่ามีความพร้อมทางเครื่องมือ และเด็กโตก็มีความสนใจมากขึ้นในเรื่องสื่อสมัยใหม่ เช่น การทำหนังสั้น ทำสารคดี เป็นต้น ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยม จึงลองขยับมาทำงานกับเด็กโต

 

6.   เครื่องมือที่ใช้ : มีกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม คือ (1) อบรมให้ความรู้เรื่องการผลิตภาพยนตร์ โดยเชิยผุ้มีความรู้และผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากร (2) workshop ผลิตหนังสั้นและสารคดีร่วมกับผู้กำกับในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมการผลิต (Pre-Production) ,ขั้นตอนการผลิต (Production) และขั้นตอนหลังการผลิต (post-Production)  ก่อนที่เด็กจะกลับไปถ่ายทำงานของตัวเอง (3) กิจกรรมจัดประกวดโดยให้รางวัลตั้งแต่ระดับดีเด่น ถึงระดับชมเชย โดยแบ่งเป็นระดับอุดมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา (4) การประชาสัมพันธ์ โดยเอาผลงานทั้งหมดออกฉายในเคเบิลทีวีท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ FREE T.V. ซึ่งอาจารย์ชาคริตมีเครือข่ายอยู่ และฉายในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในภาคอีสานด้วย

 

7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : ทีมงานมีการปรับเปลี่ยนการทำงานเล็กน้อย กล่าวคือในตอนแรกจะเป็นการเชิญชวนให้เยาวชนส่งบทและวาด storyboard เข้าประกวด แล้วจะคัดเรื่องที่ผ่านก่อนจะส่งกลับให้ถ่ายทำ แต่พบว่าที่ส่งมายังใช้ไม่ได้หลายเรื่อง จึงปรับแนวทางการทำงานใหม่ โดยคัดเลือก plot ที่น่าสนใจ 3 เรื่องออกมาเป็นเรื่องหลัก ถือว่าเป็นตัวอย่าง เพื่อนำไปถ่ายทำ โดยให้เด็กมหาวิทยาลัย ชั้นปี 2 และปี 3 จำนวน 30 คนมารวมกันเป็นทีม เพื่อทำหนังสั้นตัวอย่าง 3 เรื่อง ที่จะไม่ประกวด (ให้ทุกคนร่วมเรียนรู้ และใช้เป็นหนังสั้นตัวอย่าง) แล้วเอาเด็กทั้งหมดที่สนใจมาอบรม และทำ workshop ให้รู้จักมุมมองของกล้อง เทคนิคการถ่ายทำ รวมทั้งขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญ 3 รอบ (รอบละ 10 วัน) จากนั้นจึงให้เด็กกลับไปถ่ายทำ พบว่าเด็กส่งหนังเข้าประกวดทั้งหมด 18 เรื่อง จากนั้นจึงจัดประกวดให้รางวัล 10 เรื่อง (หนังสั้น 5 เรื่อง หนังสารคดี 5 เรื่อง)

 

8.   ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการ 1 ปี (1 พฤศจิกายน 2547 -  31 ตุลาคม 2548) เด็กที่ส่งผลงานเข้าร่วมทั้งหมด 50 คน จากตัวแทนสถาบันการศึกษา 19 จังหวัดในภาคอีสาน โดยในจำนวนนี้มาจากโรงเรียนมัธยม 20 แห่ง  และมาจากระดับอุดมศึกษาอีก 26 แห่ง

 

9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : โครงการไม่มีกิจกรรมประเมินผลอย่างเป็นทางการ แต่สามารถประเมินความรู้ความเข้าใจของเด็กได้จากบทที่ส่งมาก่อนอบรมและหลังอบรม ทั้งเรื่องมุมมอง เทคนิค และไอเดีย ซึ่งพบว่าเด็กมีความเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนามากขึ้น นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังสนับสนุนให้มีกิจกรรมต่อ คือทีวีเยาวชน ที่จะลงไปทำงานกับระดับโรงเรียนโดยเฉพาะเรื่องเทคนิคการถ่ายทำและตัดต่อภาพยนตร์ ซึ่งหลายโรงเรียนให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ

 

10. ความยั่งยืน     : เทคนิคการผลิตหนังสั้นและมุมมองเรื่องการวางภาพ การสื่อสารผ่านกล้องเป็นสิ่งที่จะติดตัวเด็กและเยาวชนที่ผานการอบรมไป อันเป็นความรู้ที่ยั่งยืน ส่วนใครจะมีการพัฒนาศักยภาพการทำงานเพิ่มเติมมากขึ้นก็เป็นเรื่องของแต่ละคนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทาบัย ชุมชน และโรงเรียนอันจะเป็นฐานสำคัญในการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต

11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : อาจารย์ทั้งสองท่านเป็นจุดแข็งที่เสริมกันได้ดี เพราะทั้งคู่มีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์การทำงานด้านสื่อมายาวนาน มีเครือข่ายทั้งเครือข่ายสื่อ เช่น  ทีวีท้องถิ่น เคเบิลทีวี ฯลฯ และเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่ร่วมกันทำโครงการทั่วภาคอีสาน ซึ่งความสัมพันธ์ของเครือข่ายที่กว้างไกลนี้ส่งผลให้เกิดกระแสความตื่นตัวเรื่องสุขภาพ ผ่านการใช้สื่อหนังสั้นและสารคดีอย่างได้ผล ส่วนอุปสรรคสำคัญที่อาจารย์ทั้งสองท่านเห็นตรงกันคือ วิธีทำให้เด็กมีความคิด และตีความเป็นขั้นตอนที่ยากพอสมควร เนื่องจากเด็กอยู่ในวัยที่สนใจเรื่องเทคนิคหรือการสนำเสนอที่น่าตื่นเต้น มากกว่าจะเห็นความสำคัญเรื่องเนื้อหาหรือความคิดที่อยู่ภายในเรื่องราว ซึ่งการกระตุ้นตรงนี้ต้องขึ้นอยู่กับตัวเด็กเองด้วยเป็นสำคัญ เพราะแม้ผู้กำกับเก่ง ๆ ก็ยังอาจจะทำไม่ได้

 

12.  ที่ติดต่อ   :      ชมรมสื่อสร้างสรรค์ สาขาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 

โทรศัพท์ 043 – 754321 ต่อ 2452, โทรสาร 043 – 754359

                        .อังคณา พรมรักษา 01 – 5442611 / อ.ชาคริต สุดสายเนตร 09-841-8085

 

 

หมายเลขบันทึก: 71616เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท