โครงการมหานครสดใส เยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลบุหรี่


เป้าหมาย : สร้างนักศึกษาแกนนำ และแนวร่วมในการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคยาสูบ รวมถึงกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรื่องพิษภัยของควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่แก่นักศึกษาทั่วไป และผู้ติดบุหรี่ทั่วไป

 โครงการมหานครสดใส เยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลบุหรี่
 
1.      คำสำคัญ : การรณรงค์ ,ลดปัจจัยเสี่ยง
 
2.      จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
 
3.      กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และกลุ่มเพื่อนต่างสถาบัน
 
4.      เป้าหมาย : สร้างนักศึกษาแกนนำ และแนวร่วมในการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคยาสูบ รวมถึงกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเรื่องพิษภัยของควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่แก่นักศึกษาทั่วไป และผู้ติดบุหรี่ทั่วไป
 
5.      สาระสำคัญของโครงการ : เกิดจากนักสร้างเสริมสุขภาพมือใหม่ที่ชื่อ  นพดล สมยานนทนากุล  นักศึกษาคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ประธานชมรมวิชาการ และหัวหน้าโครงการ เมื่อได้สังเกตเห็นสิ่งที่เป็นไปในสังคมของมหาวิทยาลัยคือภาพของเพื่อนนักศึกษาที่มีการสูบบุหรี่กันมาก ประกอบกับมีพื้นฐานทางครอบครัวที่พ่อ แม่ ไม่สูบบุหรี่ และดื่มเหล้า ทำให้เกิดความคิดว่าทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหานี้ได้ ประกอบกับอีกส่วนหนึ่ง ได้ทำกิจกรรมในชมรมวิชาการ ซึ่งมีกิจกรรม เรื่องของการติววิชาให้กับเพื่อนๆ น้องๆในชมรมอยู่เป็นประจำ และมีบางส่วนที่ได้ทำกิจกรรม ของมหาวิทยาลัยชื่อ ความรู้สู่ชุมชน อันเป็นโครงการที่ทำกับชุมชนอยู่แล้ว และได้แรงสนับสนุนบางส่วน จาก ดร.บัณฑิต ธานินทร์ธราธร ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมวิชาการ เป็นแรงเสริมในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมอีกทางหนึ่ง ขบวนการจึงเกิดขึ้น ประกอบกับเห็น ประชาสัมพันธ์ของ สสส. ในเรื่องของบุหรี่ ความคิดขอทุนจึงเกิดขึ้น ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา  ปรึกษาเพื่อนๆที่เป็นแกนในการทำกิจกรรมชมรม หารายละเอียด เมื่อตกลงใจแล้วจึงขอทุน โดยมี ความคิดเริ่มที่รูปแบบของกิจกรรมที่ทำ และจากพื้นฐานการทำงานด้านกิจกรรมอื่นมาก่อน พบว่า การคิดรูปแบบที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาที่มหานคร เป็นสิ่งที่นพดลให้ความสำคัญ
 
6.      เครื่องมือที่ใช้ : รูปแบบกิจกรรมที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย คือ ได้ทั้งความรู้ และความสนุก ในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ 1. การจัดกระบวนการให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ และแนวทางการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ เช่นมีการจัดการบรรยาย และออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่  2. การรณรงค์ และมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นการรณรงค์ เพื่อชักจูงให้เข้าโครงการ อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของพิษภัยการสูบบุหรี่
                  โดยทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะมีการวางแผนหรือออกแบบให้เข้ากับความสนใจของ           นักศึกษาเป็นประการแรก เน้นได้ความสนุก แล้วสอดแทรกวิชาการเข้าไป
 
7.      การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน : โครงการนี้เป็นโครงการที่เกิดจากการคิดของนักศึกษาเอง อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก และเป็นที่ปรึกษา ที่คอยช่วยประสานกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย โดยมีโครงสร้างในทีมทำงานที่ประกอบด้วยนักศึกษาหลากหลายชั้นปี ซึ่งจะมีผลในเรื่องการทำงานต่อของรุ่นน้อง และยังประสานการทำงานไปยังเพื่อนต่างสถาบันอีกด้วย เพื่อเพิ่มความหลากหลาย โดยกระบวนการทำงานเน้นการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อชักชวนให้เข้าโครงการ โดยมีกิจกรรมที่ออกแบบให้ตรงวัย และตรงใจ กลุ่มนักศึกษาที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่
 
8.      ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :  นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ดำเนินการปี 2547
 
9.      การประเมินผลและผลกระทบ : ในโครงการมีการออกแบบการประเมินผลในรูปการวัดความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของบุหรี่ก่อน และหลังเข้าโครงการพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ และความเข้าใจที่มากขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับผู้สูบบุหรี่ และยังส่งผลถึงผู้ใกล้เคียงอีกด้วย ซึ่งบางพฤติกรรมได้จากการสังเกต และนอกจากนี้ยังมีผลต่อแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อเรื่องการสูบบุหรี่ของนักศึกษาอีกด้วย เช่น การกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ และห้ามสูบที่ชัดเจน
 
10.  ความยั่งยืน : จากการลงพื้นที่ศึกษาพบว่าเนื่องจากเป็นโครงการเพียงปีเดียวเมื่อจบโครงการไม่ได้ขอต่อ กิจกรรมแบบในโครงการจึงไม่ปรากฏ แต่ที่ยังคงอยู่คือเรื่องสถานที่ที่มีการกำหนดเขตอย่างชัดเจน นอกจากนี้หลังปิดโครงการได้มีนักศึกษาสถาบันอื่นได้นำรูปแบบกิจกรรมไปขยายผลต่อ
 
11.  จุดแข็ง และอุปสรรค : จุดแข็งของโครงการอยู่ที่ผู้รับผิดชอบโครงการคือนายนพดล สมยานนทนากุล (ปัจจุบันจบการศึกษาแล้ว) ที่มีความสามารถ .ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์/การสร้างนวัตกรรม ออกแบบโครงการ พร้อมทั้งการมีทีมทำงานที่เข้มแข็งในการช่วยกันทำโครงการ และการมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีเป็นแรงเสริม ส่วนอุปสรรคยังคงเป็นเรื่องงบประมาณของโครงการที่เบิกจ่ายไม่พอดีกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น
 
12.  ที่ติดต่อ : นายนพดล สมยานนทนากุล  081-8026605
หมายเลขบันทึก: 71608เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท