โครงการอนามัยดี ชีวีสดใส


เป้าหมาย:ต้องการให้ผู้มีหน้าที่ดูแลเยาวชนมีความรู้และมีศักยภาพที่จะเสริมสร้างและช่วยเหลือให้เยาวชนได้เติบโตตามวัยอย่างสมบูรณ์เป็นองค์รวม ร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม ส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะชีวิตที่จะแก้ปัญหาและปรับตัว รวมทั้งกระตุ้นให้ พ่อบ้าน แม่บ้าน นักเรียน กรรมการดำเนินงานมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในบ้านพัก

โครงการอนามัยดี ชีวีสดใส

 

1.คำสำคัญ :     การป้องกัน งานส่งเสริมสุขภาพ การจัดกระบวนการให้ความรู้

 

2.จังหวัด :        เชียงใหม่

 

3.กลุ่มเป้าหมาย: เยาวชน (กะเหรี่ยง) ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักของคริสตจักรและที่ทำงานอยู่ในเมือง รวมทั้งผู้ปกครองของเยาวชน สำหรับเยาวชน ประกอบด้วย เยาวชนคริสตจักรแสงประทีปจำนวน 20 คน เยาวชนที่ทำงานอยู่ในเมือง 30 คน นักเรียนนักศึกษา (เยาวชนกะเหรี่ยง) 30 คน และบ้านพักนักเรียนกะเหรี่ยงโปว์อีก 40 คน โดยมีค่าเฉลี่ยกลุ่มอายุ 6-14 ปี จำนวน 38 คน อายุ 15-24 ปี จำนวน 70 คน   ส่วนผู้ปกครองอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี จำนวน 12 คน รวมทั้งหมด 120 คน

 

4.เป้าหมาย:ต้องการให้ผู้มีหน้าที่ดูแลเยาวชนมีความรู้และมีศักยภาพที่จะเสริมสร้างและช่วยเหลือให้เยาวชนได้เติบโตตามวัยอย่างสมบูรณ์เป็นองค์รวม ร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม ส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะชีวิตที่จะแก้ปัญหาและปรับตัว รวมทั้งกระตุ้นให้ พ่อบ้าน แม่บ้าน นักเรียน กรรมการดำเนินงานมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในบ้านพัก

 

5.สาระสำคัญของโครงการ:จ.เชียงใหม่ มีอัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว เมื่อเชียงใหม่ได้ชื่อเป็นจังหวัดสำคัญทางด้านการท่องเที่ยวของภาคเหนือ วัฒนธรรมตะวันตกจึงไหลบ่าเข้ามาอย่างรวดเร็ว ทำให้เยาวชนชาวกะเหรี่ยงทั้งที่ทำงานและศึกษาอยู่ ในจ.เชียงใหม่ และที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิคริสเตียนบริการโดยอาศัยอยู่ในบ้านพักของเครือคริสตจักร มักก่อปัญหาให้ผู้ปกครองต้องหนักใจ ทั้งเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งพบว่า มีเยาวชนของคริสตจักรบางคนเลือกที่จะแยกตัวเองออกจากบ้านพักคริสตจักรไปอยู่กินกับเพื่อนหญิง-ชาย รวมทั้งความฟุ้งเฟ้อทางด้านวัตถุ ซึ่งใช้เงินจากโครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษามาซื้อโทรศัพท์มือถือ และรถมอเตอร์ไซด์ ส่งผลกระทบต่อการเล่าเรียนเพราะไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แต่กลับสนใจเที่ยวเตร่และฟุ้งเฟ้อตามการบริโภควัตถุนิยม ตลอดจนความห่วงใยของผู้ปกครองเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยาเสพติด กลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยงยังมีปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ไม่ถูกสุขอนามัย (ไม่รู้จักดูแลเรื่องการรักษาความสะอาดในบ้านพัก) ทั้งซึ่งติดตัวมาจากวิถีชีวิตบนดอยสูง

            สภาพปัญหาต่างๆ ถือเป็นภาระหน้าที่ประจำของเจ้าหน้าที่มูลนิธิคริสเตียนบริการ ในการดูแลเยาวชนกะเหรี่ยงเชื่อมโยงกับเงินงบประมาณของคริสตจักร จากเงินบริจาคของชาวคริสตจักร แต่ปัจจุบันมีอยู่จำนวนจำกัด บ้านพักแบบติสต์ ซึ่งสังกัดมูนิธิคริสเตียนบริการ จึงเสนอขอทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เพื่อมาสนับสนุนงานประจำที่ทำอยู่

 

6.เครื่องมือที่ใช้:จัดกิจกรรมหลักๆ คือ 1.1 จัดกระบวนการให้ความรู้แก่เยาวชน ผู้ดูแลบ้านพัก ผู้ปกครอง และชุมชนที่เยาวชนอยู่อาศัย เกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การจัดการสิ่งแวดล้อมของหอพักให้ถูกสุขลักษณะปลอดภัยจากสารพิษและสิ่งเสพติด รวมทั้งการป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ ตลอดจนความรู้ในการป้องกันสิ่งเสพติดและภัยสังคมแก่เยาวชน  1.2 งานส่งเสริมสุขภาพ เช่น จัดในวันแม่แห่งชาติ การแข่งกีฬาสัมพันธ์ และการประกวดหอหัก อนามัยดีเด่น

            แต่ละกิจกรรมเป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักและมองเห็นความสำคัญของการป้องกัน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งต่อตัวเอง และสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอยู่อาศัย       

 

7.การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน: เจ้าหน้าที่จากบ้านพักแบบติสท์ เป็นผู้ออกแบบกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมทั้งหมด การดำเนินการแต่ละกิจกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จะแบ่งหน้าที่ในการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมกิจกรรม โดยในส่วนของเยาวชนจะมอบหมายให้แกนนำเยาวชน 2 คน ที่คอยช่วยเหลืองานของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนการประสานงานกับผู้ปกครอง รวมทั้งการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ชุมชน มอบหมายให้ครูสอนศาสนาซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้ปกครองและเยาวชนเป็นผู้รับผิดชอบ

 

8.ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ: ดำเนินการประมาณ 7 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2547 28 กุมภาพันธ์ 2548 โดยดำเนินการกับ เยาวชนของคริสตจักร ผู้ปกครอง และผู้ดูแลบ้านพักของคริสตจักร

 

9.การประเมินผลและผลกระทบ: ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นำปัญหาต่างๆ มาวิเคราะห์และหาสาเหตุของปัญหา และแนวทางในการแก้ไขเพื่อพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ มีการติดต่อประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ทั้งหอพักและนอกหอพักเพื่อทำงานร่วมกันในการเสริมสร้างชุมชน รวมทั้งการจัดทำรายงานสรุปเป็นรายเดือน

            อย่างไรก็ดี โครงการฯ นี้ไม่มีการประเมินผลตามหลังเสร็จสิ้นโครงการฯ

 

10.ความยั่งยืน: หลังเสร็จสิ้นโครงการฯ ๆ นี้ไม่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ มีภารกิจงานในหน้าที่จำนวนมาก ขณะที่แกนนำเยาวชนที่ต้องทำหน้าที่ประสานกับเยาวชนด้วยกันมีภาระทางด้านการเรียน และเตรียมที่จะจบการศึกษา

 

11.จุดแข็งและอุปสรรค: ตัวของเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายและผู้ปกครองบางส่วน ซึ่งเป็นเยาวชนและผู้ปกครองส่วนน้อย ที่มองเห็นความสำคัญของแต่ละกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีครูสอนศาสนา และแกนนำเยาวชนคอยเป็นตัวหลักในการทำหน้าที่สร้างความเข้าใจในแต่ละกิจกรรมที่ทำ

            ส่วนที่เป็นอุปสรรค คือ เวลาของเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่จะมาร่วมกิจกรรมไม่ตรงกัน เนื่องจากอยู่ต่างสถาบันการศึกษา และมีกิจกรรมในสถาบันนั้นๆ  ทำให้เป้าหมายแต่ละครั้งของการจัดกิจกรรมมีเยาวชนมาร่วมเพียง 30-40 คน จากที่ตั้งตัวเลขไว้ที่ 120 คน ส่วนผู้ปกครองเองก็เข้าร่วมร่วมกิจกรรมน้อย และผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาสูง จึงมองเห็นความสำคัญของโครงการฯ ด้วยการนำบุตรหลานมาร่วมกิจกรรมด้วยตนเองทุกครั้ง

 

12.ที่ติดต่อ: บ้านพักแบบติสท์ สังกัดมูลนิธิคริสเตียนบริการ

 

 

หมายเลขบันทึก: 71603เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท