โครงการเสริมศักยภาพกลุ่มผู้หญิงในเขตป่าเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ


เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของกลุ่มผู้หญิงและเครือข่ายให้มีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพ และลดพฤติกรรมที่มีผลต่อการทำลายสุขภาพของครอบครัว ผู้หญิงและชุมชน โดยผ่านการจัดกระบวนการกลุ่มผู้หญิงและการจัดการเรียนรู้ และมีศักยภาพในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้สามารถในการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

โครงการเสริมศักยภาพกลุ่มผู้หญิงในเขตป่าเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

 

๑.  คำสำคัญ :       เสริมศักยภาพกลุ่มผู้หญิง   

๒.  จังหวัด :           ลำพูน

๓.  กลุ่มเป้าหมาย :   กลุ่มผู้หญิงในพื้นที่ ๓ ตำบลของ อ.ทุ่งหัวช้าง ได้แก่ ต.ตะเคียนปม ต.ทุ่งหัวช้าง และ ต.บ้านปวง โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ๑๕ กลุ่ม จาก ๑๕ หมู่บ้าน

๔.  เป้าหมาย :

               เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของกลุ่มผู้หญิงและเครือข่ายให้มีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพ และลดพฤติกรรมที่มีผลต่อการทำลายสุขภาพของครอบครัว ผู้หญิงและชุมชน โดยผ่านการจัดกระบวนการกลุ่มผู้หญิงและการจัดการเรียนรู้ และมีศักยภาพในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้สามารถในการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

๕.  สาระสำคัญของโครงการ :

               เนื้อที่ของ อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า ประชากรเกือบสองหมื่นคนซึ่งประกอบไปด้วยชาวไทยภูเขา และชาวไทยพื้นเมือง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งต้องอาศัยและพึ่งพิงจากทรัพยากรธรรมชาติ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้พื้นที่ป่าถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านโดยรวมมีความเป็นอยู่ที่ลำบากยิ่งขึ้น

               จากประสบการณ์ทำงานในพื้นที่พบว่ากลุ่มผู้หญิงในชุมชนมีศักยภาพหลายประการ แต่ก็มีข้อจำกัดอีกหลายประการโดยเฉพาะในด้านการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ ผู้หญิงในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสในการเรียนรู้วิชาการใหม่ ๆ การขาดโอกาสในการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและขาดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมตัดสินใจในการพัฒนาชุมชน เป็นต้น

๖.  เครื่องมือที่ใช้ :

               การพัฒนาทีมงาน, การจัดกระบวนการเรียนรู้ (การจัดเวทีแลกเปลี่ยน, การฝึกอบรม, การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้) และการประสานความร่วมมือ

๗.  การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน :

               เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิรักษ์ไทย (ประสานงาน) สถานีอนามัย ต.บ้านปวง สถานีอนามัย ต.ตะเคียนปม ร.พ.ทุ่งหัวช้าง และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข อ.ทุ่งหัวช้าง (สำนักงานมูลนิธิรักษ์ไทย อ.ทุ่งหัวช้าง เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ทำงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับองค์กรชุมชน ปี ๒๕๔๙ เป็นปีสุดท้ายที่จะทำงาน และต้องถอนตัวออกจากพื้นที่)

๘.  ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :

               ระยะเวลาดำเนินงาน ๑ ปี ระหว่าง ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๘

๙.  การประเมินผลและผลกระทบ :

            ได้ว่าจ้าง อ.นภัส  ศิริสัมพันธ์ นักวิชาการอิสระที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับผู้หญิงมาประเมินผล ประเด็นประเมินได้แก่ผลและความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้หญิง การสร้างเครือข่าย ทิศทางการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพชุมชน และแนวโน้มความยั่งยืนของโครงการ

๑๐. ความยั่งยืน

            แม้ว่าโครงการจะสิ้นสุดลงแล้ว กลุ่มผู้หญิงใน ๑๖ หมู่บ้านก็ยังคงอยู่และมีกิจกรรมต่อเนื่อง บางแห่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรสนับสนุนทุน ซี่งกลุ่มแกนนำผู้หญิงจำนวนมากมีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น นอกจากนั้นการรวมตัวกันเป็นกลุ่มสมาชิกก็ความสามัคคี พร้อมเพรียงในการทำกิจกรรมของกลุ่ม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มเข้มแข็งและทำงานได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับการการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย แม้ว่าจะอยู่ในระยะเริ่มต้นและมีมูลนิธิรักษ์ไทยเป็นสื่อกลางในการประสานงาน แต่ก็มีกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีการนัดหมายประชุมร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน แนวโน้มความต่อเนื่องมีสูง เนื่องจากหลังสิ้นสุดโครงการเครือข่ายฯ ได้ตกลงให้มีศูนย์ประสานงานขึ้น หลังจากที่มูลนิธิรักษ์ไทยจะถอนเจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่

๑๑. จุดแข็งและอุปสรรค

               โครงการมีต้นทุนที่เป็นจุดแข็งในการทำงานหลายประการ เช่น องค์กร (มูลนิธิไทยรักษ์ไทย) มีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ฝังตัวอยู่ในพื้นที่ มีความสัมพันธ์อันดีกับชาวบ้านและหน่วยงานในพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีทุนทางสังคมในพื้นที่ที่เข้มแข็ง ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นยังมีความเข้มแข็งที่สืบทอดกันมานาน ลักษณะทางสังคมยังมีการพึ่งพาอาศัยกันค่อนข้างมาก ความสัมพันธ์แบบเครือญาติยังเหนียวแน่น

               อุปสรรคในการทำงาน ๆ ได้แก่ ระยะเวลาในการดำเนินงานสั้นไป, ภาระความรับผิดชอบของผู้หญิง, ข้อขัดข้องในการทำงานของกลุ่มย่อยต่าง ๆ

๑๒.                 ที่ติดต่อ :

            มูลนิธิรักษ์ไทย ภาคเหนือ

หมายเลขบันทึก: 71601เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท