การจัดการความรู้เพื่อการวิจัย(KMR)


การจัดการความรู้เพื่อการวิจัย(KMR)

 ก่อนจะมีการวิจัย  การจัดการความรู้เพื่อการวิจัยนั้น  ต้องมีการจัดการความรู้ที่ดี ต้องผ่านกระบวนการคิดที่ดี จากหลายฝ่ายที่มีความรู้ เรื่องนั้นอย่างแท้จริง  ซึ่งวิธีการจัดการความรู้เพื่อการวิจัยอาจจะผ่านเวทีแลกเปลี่ยนในทุกระดับและจากทุกภาคส่วน  การพัฒนาและการรื้อฟื้น/พัฒนาการเรียนรู้ (ทั้งการยกระดับ พัฒนา    ถ่ายทอด ขยายผล และเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย) ถึงจะเป็นการจัดการความรู้เพื่อการวิจัยอย่างแท้จริง 

สำคัญอีกประการหนึ่งการจัดการความรู้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ  ไม่สามารถจะต่อยอดเป็นการจัดการความรู้เพื่อการวิจัยและไม่ถือว่าเป็นการวิจัยเพื่อการจัดการความรู้ได้ เพียงแต่เป็นการรวบรวมความรู้มาจัดระบบ  เป็นหมวดหมู่แล้วนำมาสังเคราะห์ แท้จริงแล้วการจัดการความรู้เพื่อการวิจัย ต้องเริ่มจาก การสร้างความรู้  การจัดเก็บความรู้  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การถ่ายทอดความรู้  การวิเคราะห์ความรู้ และการวัด ประเมินผลความรู้ ถึงจะเป็นการจัดการความรู้เพื่อการวิจัย

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 9/01/2550

หมายเลขบันทึก: 71574เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ประสิทธิ์ ประมูลทรัพย์

ตอนนี้ผมเรียนอยู่ปีสี่เเล้ว มรภ.นครสวรรค์ กำลังทำวิจัยอยู่ครับเเต่ไม่รู้ว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรครับ เครื่องมือที่ผมใช้คือการสัมภาษณ์ งานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพครับช่วยบอกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลให้ด้วยครับ

                                            ขอบคุณมากครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท