BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ความจริงแห่งชีวิต


ความจริงแห่งชีวิต

ผู้เขียนใช้โกทูโนมาราวเดือนกว่าๆ สำรวจดูก็เห็นว่ามีการพูดคุยเรื่องธรรมะอยู่ทั่วไป จึงได้เพิ่มบันทึกนี้ขึ้นมาเพื่อร่วมสนทนาธรรมกับผู้ที่สนใจ...

ความจริงแห่งชีวิต ? ข้อความธรรมดา แต่การอธิบายอาจแตกต่างกันไปตามความเห็นของแต่ละคน ...

ฟ้าชายสิทธัตถะ หลังจากทรงเห็นเด็กแรกเกิด คนเจ็บ คนตาย และนักบวชแล้ว ..ก็ทรงดำริว่า "คนเราเกิดมาแล้ว ต้องแก่ เจ็บ ตายไป ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของชีวิต ควรออกบวชแสวงหาสัจธรรมคือความจริงแห่งชีวิต จะทำให้ชีวิตนี้ไม่เป็นหมันคือสูญเปล่า"...

ใคร่จะทราบว่า ผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตายอื่นๆ มีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร ?

  

หมายเลขบันทึก: 71563เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เข้ามาแวะเยี่ยมเยียนครับ

คำถามนี้ยังตอบไม่ได้ครับ และกำลังหาคำตอบอยู่ครับ

ความจริงที่ยิ่งใหญ่...ไร้ข้อโต้แย้ง...

ที่จริงอยากให้พระอาจารย์ไล่เรียง...ความจริง...เพื่อสนทนาธรรม ตามลำดับของความจริงแต่ละขั้น....นั่นจะเป็นกุศลกรรมร่วมกันในภพนี้อ่ะครับ....

 

ความจริงของชีวิต...ทุกคนมีสิทธิ์รู้...มีสิทธิ์คิด...และมีสิทธิ์แสวงหาความจริงให้กระจ่างใจตนเอง...

แต่โดยส่วนใหญ่ คนเรามักปล่อยใจให้หลงใหลไปกับ อวิชชา...หรือเป็นเพราะว่า...ความจริงของชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์(ไม่สามารถจับต้องได้...หรือว่าไกลตัวเกินไป)...จึงได้แต่แสวงหาความเพลิดเพลินในโลกียสุข...

 

มนุษย์เราเกิดมา(ตั้งแต่ปฏิสนธิ)พร้อมกิเลสอาสวะ(ความอยากความต้องการ...และแข่งขันเอาชนะ...ประมาณว่าเราเป็นอสุจิที่ชนะตัวอื่นมาราว 250 ล้านตัว ... 555) ยิ่งเป็นตัวเป็นตนแล้วออกมาจากท้องแม่ก็ยิ่งเพิ่มทวีความอยากความต้องการมากขึ้น ยิ่งโตขึ้นว่ายิ่งได้รับการสนองตอบกิเลส...ยิ่งตอบสนองกิเลสตัณหาก็ยิ่งต้องการเพิ่มขึ้น... กว่าจะพบเห็นหรือสะกิดใจต่อความจริงแห่งทุกข์..... 

...ราวกับว่า จะต้องฝ่ากำแพงเหล็ก...ภูผาหิน...จึงจะพบเห็นความจริงแห่งชีวิตได้...

เจริญพร

ยินดีครับ คุณโยมจันทร์เมามาย ผู้แรกเจิมบันทึกนี้ ว่างๆ ก็เชิญนะครับ กำลังต้องการสมาชิกอยู่พอดี...ทุกคนที่เกิดมา และดำเนินชีวิตก็เพื่อต้องการคำตอบทำนองนี้ทั้งนั้นครับ เพียงแต่หลายๆ คนไม่ตระหนักถึงเรื่องนี้เท่านั้น..

คุณโยมขำ มาถึงก็อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์เลยนะครับ... แต่เป็นธรรมชาติฝ่ายต่ำ ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเบื้องต้น บอกว่าจะต้องมีสิ่งแก้ ซึ่งเป็นสิ่งตรงกันข้าม เป็นธรรมชาติฝ่ายสูง...ประมาณนี้

ว่าต่อ...นะครับ.. ฟ้าชายสิทธัตถะ จึงทรงออกบวช ไปศึกษาอยู่ที่สำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบสตามลำดับ...จนกระทั้งสำเร็จสมาบัติ ๘ ...ภายหลังก็มาทดลองวิธีการทรมารตนเอง แต่ก็ไม่สามารถบรรลุ ..จึงเปลี่ยนมาเป็นบำเพ็ญเพียรทางใจ ภายหลังก็ได้บรรลุธรรม...

นี้คือ พุทธประวัติซึ่งพวกเราก็รับรู้มาเหมือนๆ กัน ใช่มั้ย ครับ

เจริญพร

 

  

ความจริงแห่งชีวิต...ความจริงแห่งธรรม...

พระอาจารย์ครับ...

 

การเกิด...นั่นสิ่งหนึ่ง...ที่ควรพิจารณา(เหตุที่ต้องเกิด....ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พระอาจารย์กล่าวว่าเป็นธรรมชาติฝ่ายต่ำ)...

ความแก่...นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง... ที่ผู้คนพยายามหลีกหนีกันสุดชีวิต(ทั้งที่หนีไม่พ้น)

ความเจ็บ....หามีใครอยากประสบพบเจอไม่

ความตาย... เป็นเรื่องน่ากลัวที่สุดในโลกอย่างไม่ต้องสงสัย(สำหรับผู้ครองเรือง)....

 

ก็แล้วเหตุใดเล่าครับพระอาจารย์... เมื่อรู้กันอยู่ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไป ประกอบเส้นทางแห่งชีวิต...ผู้คนจึงยอมรับไม่ได้ ...ทำใจไม่ลง... เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเทวทูตเหล่านี้(ยกเว้นการเกิด)...

คุณโยมขำ

คงจะเคยผ่านหูผ่านตา สวดมนต์แปลมาบ้าง ตอนหนึ่งบอกว่า...

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

ว่าโดยย่อ อุปทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์

เหล่านี้ คือ มูลเหตุที่คุณโยมสงสัย

เจริญพร

พูดถึงเรื่องนี้...ผมยังระลึกถึงรุ่นน้องของผมคนหนึ่ง...ที่เสียชีวิตไปแล้ว(นัยว่าฆ่าตัวตาย...)

 

เขาคุยกับผมเรื่องที่ค้างคาใจเขามาตลอด...นั่นคือ...เหตุใดคนทั่วไปจึงโง่เขลา มัวเมา... ไม่ยอมศึกษาธรรมะ ที่ประดุจวิชชาอันสูงส่งสุดยอด...ว่าแล้วก็เอ่ยอ้างธรรมบาลีหลายบทมาสนทนาแลกเปลี่ยนกับผม(ซึ่งคนที่ร่วมวงสนทนาอยู่ด้วยไม่เข้าใจและไม่พอใจน้องคนนี้อยู่พอควร)...

ผมพยายามสะท้อนให้เขามองกลับไปที่ตัวเอง...พิจารณาความคิดตัวเอง(ขณะนั้นผมคิดว่าเขาคงใกล้ไฟธาตุแตกเต็มทีแล้ว...)

 เขาบอกผมว่าในจังหวัดพิษณุโลกมีคนที่จะคุยกับเขาได้แค่ 3 คน(ก็แน่ละ...น้องเราเล่นยึดมั่นถือมั่นกับวิชชาจนกลายเป็นอวิชชาไปเช่นนั้น)... หลังจากผมกลับมาก็ไม่ได้ระลึกถึงเขาอีก... กว่าจะนึกถึงเขาได้ก็ทราบจากพรรคพวกเพื่อนฝูงเขาว่าเสียชีวิตไปแล้ว...

 

 ไม่มีใครเสียดายเขา...(เพราะเขาพูดกับใครไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว...ไม่ว่าจะเป็นญาติหรือเพื่อนร่วมงาน)

ไม่มีใครยอมรับวิชชาของเขา...(เพราะว่าเขาเครียดจนต้องสูบบุหรี่มวนต่อมวน...ย้ำคิดย้ำทำ)

 ผมเสียดาย...ที่ไม่มีโอกาสเจาะลึกลงไปเพื่อดึงเขากลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง...ความจริงแห่งชีวิต

 

คุณโยมขำ ครับ

ตอนนี้นึกถึงคำว่า นานาจิตตัง ครับ พอพูดคำนี้เราก็เข้าใจถึงความไม่เหมือนกันของคนในเรื่องต่างๆ คำนี้แฝงการมองโลกไว้ด้วยนะครับ เพิ่งนึกได้ว่า คำนี้ค่อนข้างลึกซึ้ง ..คุณโยมว่าไง ครับ

เจริญพร

ครับพระอาจารย์...นานาจิตตัง...คำนี้สะท้อนความหมายถึงตัวคนทุกคนด้วยครับ...ความแตกต่างของคนทั้งกายและจิตของแต่ละคน...บ่งบอกว่า...ทุกคนเป็น 1 เดียวในโลก...หาใครมาเทียบแนบสนิทเป็นตัวเรา(แม้ว่าจะโคลนนิ่งได้ก็ตาม...อิอิ)ไม่มีอีกแล้ว...

 

จะสำเร็จหรือล้มเหลว...จะสุขหรือทุกข์...ก็แล้วแต่ตัวท่านเองละครับ.....55555

 

ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสถ่ายทอดแนวคิดหรือจัดอบรมให้ใครก็ตาม...ผมเน้นเรื่องนี้เป็นหลักครับพระอาจารย์....

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

  ความจริงแห่งชีวิต คือ เกิดขึ้น ดำเนินไป และแตกดับ ครับผม นี่คือธรรมชาติ ไม่ใช่ธรรมะ ความจริงแห่งชีวิตที่เป็นธรรมะ ยังหาคำตอบไม่ได้ครับ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า หากต้องการรู้ความจริงแห่งชีวิต ต้องใช้ปัญญา ซึ่งปัญญาจะได้มาก็ต้อง มีศีล สมาธิ แล้วเกิดปัญญา สมาธินี่มียากจริง ๆ นะครับ ปุถุชนทำมาหากินนี่หาสมาธิไม่ค่อยเจอเลย มีเทคนิคเจ๋ง ๆ บ้างไหมครับ ชนิดนั่งปับได้ปุ๊บเลย มีไหมครับ 

อาจารย์ลุง

สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิก็ได้ครับ...

สั้นๆ นะครับ ธรรมชาติของจิตใจ จะคิดอยู่ตลอดเวลา การทำสมาธิก็คือการเอาใจไปผูกไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ถ้าเราฟังเพลงรู้เรื่อง และรู้สึกเพลิดเพลิน นั่นเป็นสมาธิแล้วครับ ถ้าช่วงไหนเราสับสนมากๆ แม้เพลงเราก็อาจฟังไม่รู้เรื่อง...

การฝึกสมาธิเป็นเรื่องยาก ครับ อาตมาไม่ค่อยชอบสอนใคร และไม่ค่อยคุยกับใคร (ยกเว้นบางคนเท่านั้น) เพราะพวกอวดรู้มีมาก บางคนไปฝึกมานิดหน่อย ได้ประสบการณ์แห่งจิตมาบ้าง ก็คิดว่าคนอื่นๆ เค้าไม่เคยผ่าน ชอบทำตัวเป็นอาจารย์คุยอวดคนอื่น...

ในวัดก็มีครับ พระบางรูปขี้เกียจศึกษาเล่าเรียน ไปอยู่สำนักปฏิบัติได้ 2-3 เดือน ก็อาศัยความเป็นพระ สอนญาติโยมแล้ว...

สมาธิ เป็นกลางๆ ครับ มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ดังนั้น ถ้าฝึกไปแล้วอาจหลง หรือเพี้ยนๆ ก็ได้ ครับ...

สมาธิ มีหลายระดับ ระดับน้อยๆ ระดับกลางๆ และระดับลึกๆ ...

อยู่กับความรู้สึกปัจจุบัน รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ค้นหาสาเหตุว่าทำไม เรามีความคิดเห็นทำนองนี้ ...น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ครับ...สำหรับคำแนะนำเบื้องต้น

เจริญพร

555...ที่จริงอันท้ายสุดของพระอาจารย์...ผมได้ยินได้ฟังหลายคนเขาเรียกว่า มีสติ....(ซึ่งก็แบ่งเป็นหลายระดับอีก)...

 

อาจารย์ลุงครับ... ความเห็นของอาจารย์กระตุ้นความสงสัยเดิมของผมขึ้นมาตะหงิดๆเลยครับ....

ธรรมชาติ กับ ธรรมะ...เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร...

ต้องมีศีล สมาธิ จึงจะมีปัญญา...อันนี้ก็มีข้อโต้แย้งอยู่ไม่น้อยเลยครับ...

คุณโยมขำ...

ท่านอาจารย์พุทธทาส บอกว่า

ธรรมะ คือ ธรรมชาติ

ธรรมะ คือ กฎเกณฑ์ธรรมชาติ

ธรรมะ คือ หน้าที่

....มีอีกหลายนัย ซึ่งภาษาที่สื่อออกมา บางคนไม่คิดว่า คนอื่นๆ เค้าจะเข้าใจหรือไม่ อย่างไร..

เบอร์ทัลด์ รัสเซลล์ บอกว่า เมื่อจะสนทนาก็ต้องสร้างกรอบความคิดของคำเฉพาะให้ลงรอยเป็นอย่างเดียวกัน ถ้าอย่างนั้น จะคุยกันไม่รู้เรื่อง...

นี้เป็นปัญหาพื้นฐานเลย ซึ่งบางครั้งอาตมาไม่อยากจะต่อความยาวก็เลยปล่อยให้ผ่านไป...จ้า

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

 เป็นดั่งที่ท่านว่านั่นแหละ หากจะคุยกันก็ต้องอยู่ในกรอบเดียวกัน ไม่งั้นก็เป็นการทะเลาะกันมากกว่าคุยกัน ผมเชื่อในพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีข้อสงสัย หากไม่มีศีลแล้วจะมีสมาธิได้อย่างไร ต้องเข้าใจคำว่าศีลให้ตรงกันก่อน ศีล น่าจะเป็นกฏ ระเบียบ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ศีลไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นศีลห้าเท่านั้น กฎหรือระเบียบใด ๆ อันจะนำสู่การเกิดสมาธิก็คือศีลนั่นเอง และเชื่อสนิทว่า มีสมาธิแล้วปัญญามาจริง ๆ มีตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราเคยประสบกันมา เมื่อมีปัญหา หากได้หยุดนิ่ง อยู่คนเดียว ตัดสิ่งอื่น ๆ คิดเรื่องนี้เรื่องเดียว เราจะมองเห็นทางแก้ปัญหาได้ นั่นแหละทำให้เกิดสมาธิแล้วจะมีปัญญาเกิดขึ้น แต่สมาธิแบบนี้มันขั้นต้น ๆ เท่านั้นเอง ไม่อาจจะสลัดกิเลสได้ ทำยังไงจะพัฒนาไปสู่สมาธิขั้นสูง ๆ ได้

นมัสการครับ 

P

อาจารย์ลุงหายไปนาน ...

สมาธิธรรมดาก็สามารถเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญาได้ครับ ...

โบราณาจารย์เปรียบเทียบไว้ว่า กิเลสเป็นประดุจหญ้าที่เป็นวัชพืชเกิดขึ้นภายในจิตใจ ศีล ก็ประดุจศาสตรามีคม เช่น มีดหรือจอบ ซึ่งพอที่จะตัดวัชพืชให้ขาดได้ ... แต่ไม่นานได้น้ำได้ปุ๋ย วัชพืชก็จะเกิดขึ้นมาอีก

สมาธิ เป็นประดุจก้อนอิฐหรือก้อนหินที่ทับวัชพืชไว้ ตราบเท่าที่ยังไม่ยกอิฐหรือหินนั้นออกไป วัชพืชก็จะไม่งอกในที่ตรงนั้น... แต่เมื่อเอาอิฐหรือหินออกไป วัชพืชก็งอกขึ้นมาอีกได้เช่นกัน

ปัญญา คล้ายกับกระบวนการที่จะขจัดให้วัชพืชหมดไป นั่นคือ ถอนวัชพืชออกมาให้หมดทั้งต้นทั้งราก นำมาตากให้แห้ง และเผาไฟในที่ตรงนั้น ...ทำอย่างนี้ วัชพืชก็ไม่อาจงอกขึ้นมาได้อีกต่อไป ...

สมาธิขั้นสูงนั้น อาตมาไม่ทราบ แต่เคยเห็นพระ-เณรหรือโยมที่เพี้ยนๆ เพราะฝึกสมาธิมาพอสมควร...

จะนำเสนอวิธีฝึกสมาธิเป็นหัวข้อใหม่สั้นๆ อาจารย์ลุงค่อยนำไปปฏิบัติก็แล้วกันนะครับ..

เจริญพร   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท