กองทุนสัจจะ


กองทุนของชาวบ้าน ก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งภายนอก ชุมชนต้องสนับสนุนและต้องช่วยกันเอง คงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และเข้าใจกัน
วันนี้ ชาวบ้านมาประชุมที่หอประชุมที่เด็กรักป่า ที่กลุ่มหมู่บ้านนี้จะประกอบไปด้วย 4 คุ้มย่อย คือ คุ้มบ้านแสลงพันธ์ , คุ้มบ้านถนน , คุ้มบ้านช้างลง และ คุ้มบ้านป่ายาว ส่วน เด็กรักป่า เป็นที่ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 4 คุ้ม จึงเป็นที่พบกันครึ่งทางของทุกคุ้ม เหมาะเป็นที่พบเจอของทุกฝ่าย ชาวบ้านว่าอย่างนั้น........ ประชุมกันหลายเรื่อง สรุปผลงานจากทุกกองทุนที่ชาวบ้านดำเนินการ แจงรายรับรายจ่าย อย่าง ฝ่ายเก็บค่าน้ำประปา ฝ่ายจัดเก็บค่าให้เช่าต็นท์ อุปกรณ์งานเลี้ยงต่างๆ การติดตามเงินกองทุนเงินล้าน และที่เป็นไฮไลท์ คือการรอเงินปันผล กองทุนสัจจะ พร้อมถอน / กู้ และทั้งหมดนี้ ประชุมด้วยภาษาท้องถิ่นสุรินทร์ “ เยย ขแมร์ “ ซึ่งฉันก็อาศัยล่าม หรือไม่ก็เดาเอา แม่บ้าน จะคอยถามว่า เข้าใจไหม ซึ่งก็น่ารักดีคะ................. การประชุมแบบนี้ ก็ถือโอกาส เดินทักทายพูดคุย ทุกข์สุข กับทุกๆคน เป็นการสวัสดีปีใหม่ไปด้วย บางคนก็รายงาน ............. “ โอ้ย .....ช่วงปีใหม่ ยุ่งมากเลย ไม่ได้มาช่วยงานศาลตายาย ไอ้ทางโน้นก็งานแต่ง ทางนี้ก็งานเลี้ยง ยุ่งมากๆเลย แต่ให้ตามาแทน “ ป้าแอ็ด แม่ยายของผู้ใหญ่บ้านรายงาน ....................................... “ ไม่ได้ทอผ้าเลย ที่ผ่านมา ตาไม่สบาย ไปแต่โรงพยาบาล “ สมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านแสลงพันธ์ ........................................ “ นี่ สุขภาพ ไม่ดีเลย ปวดเข่า เท้าที่บวม นี่ยุบแล้ว “ พี่พินิช แม่ครัวคนเก่งของหมู่บ้าน ....................................... แม่บ้านอีกคนที่มาคุยกับฉัน เรื่องอยากได้รูปงานกิจกรรมที่ผ่านมา ฉันดูที่มือของเธอลอกๆ เหมือนถูกน้ำกรดทั้งสองมือ ถามว่าไปทำอะไรมา “ งานก่อสร้างจ้ะ ไปทำที่กรุงเทพฯ ฉันอยู่แผนกผสมปูน นี่ดีขึ้นแล้วนะ เขาห้ามกินปลาร้า ปลาจ่อม ( หัวเราะ ) ไปกินมา มันเลยเป็นอีก “ “ ไม่ได้นา ต้องเปลี่ยนแผนกแล้วล่ะ อย่างนี้สุขภาพแย่เลย “ ฉันรู้สึกว่า เธอจะลำบากมากเกินไป ก็ได้แต่ให้กำลังใจ ............................................. วันนี้ ชาวบ้านซื้อใบกู้เงิน ถือกันเยอะมาก หลายคนบ่น เรื่องการเงิน ฉันได้แต่เดินทักทาย พูดคุยไปแต่ละกลุ่ม เพราะต้องประสานงานเรื่องวันเด็ก ที่แม่บ้านคนไหน อาสาจะมาทำอาหาร ในแต่ละคุ้ม ให้เด็กๆทานในวันเด็กที่จะถึง ............................................ การเงินกองทุนสัจจะ นับวัน ยอดเงินจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปี 2546 ยอด เป็นแสนกว่า ถึงปีนี้ ยอดเงินเป็นห้าแสนกว่า มีสมาชิก 159 คน ปันผลให้ ร้อยละ 15 ถือว่าเยอะมากกว่าธนาคารในเมือง กรรมการก็ทำงานอย่างเอาใจใส่ ยามขัดสน กองทุนของชาวบ้าน ก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งภายนอก ชุมชนต้องสนับสนุนและต้องช่วยกันเอง คงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และเข้าใจกัน
คำสำคัญ (Tags): #เรียนรู้ชุมชน
หมายเลขบันทึก: 71463เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตามมาอนุโมทนาค่ะ

ชอบคำว่า ชุมชนต้องสนับสนุนและช่วยกันเอง จะได้ไม่ต้องไปพึ่งภายนอก

สมัยก่อนนู้นญี่ปุ่นก็เคยพยายามปิดประเทศนะคะ สมัยโตกุกาว่า  ก็พยายามจำกัดการค้นกับจีนและหมู่เกาะชวาต่าง ๆ นี้เพียงปีละสองสามลำเรือ  คือพยายามอยู่อย่างพอเพียงเหมือนกันนี่ล่ะค่ะ  ก็พออยู่กันได้

แต่ก็อย่างว่าล่ะค่ะ ไม่มีอะไรเที่ยง  เขาอยู่กันสุขสงบดีสองร้อยห้าสิบปี ชาติตะวันตกก็เอาเรือรบปาปิดอ่าวบังคับให้เปิดประเทศค้าขายด้วยซะอย่างนั้น

ขอให้กำลังใจคุณดอกแก้วในงานที่ทำอยู่นะคะ มาอ่านทีไรก็ชื่นใจค่ะ

สวัสดีค่ะ,

ณัชร

ดีใจคะเจอกันทุกวัน เหมือนมีเพื่อนใหม่ที่ระลึกถึงกัน จากที่ห่างๆนะคะ สุขใจดีคะ จริงๆชาวบ้านเราก็พึ่งทุนจากทั้งภายในภายนอกคะ บางชุมชนก็ไม่มีระบบช่วยเหลือกันในชุมชน เท่าที่ควร การพยายามสร้างกลไลช่วยกันเองก็เป็นทางออกที่ดี เราก็เป็นฝ่ายให้กำลังใจชุมชนอีกทอดนึงคะ ........................ แบ่งปัน ความรัก ความรู้

สวัสดีอีกรอบค่ะ (วนเข้าวนออกชักเวียนหัว ฮิ ๆ),

หาเจอแล้วค่ะ ลิ้งค์ไปที่บล๊อกของอ.หมอ วิจารณ์ ในบทความที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับชุมชนที่เข้มแข็งช่วยตัวเองได้

ก็ไม่ทราบพอจะมีประโยชน์เล็ก ๆ น้อย  ๆ หรือเปล่าน่ะนะคะ  เพราะอาจจะเป็นเรื่องที่คุณดอกแก้วชำนาญอยู่แล้ว แต่ไปอ่านเจอแล้วนึกถึงค่ะ

http://gotoknow.org/blog/thaikm/71395

สวัสดีค่ะ,

ณัชร

เข้าไปอ่านมาแล้วค่ะ ขอบคุณมากคะ ไว้จะได้ติดตามอ่านไปเรื่อยๆ
บอง ปโอน โกน เจา เซราะ ซะแร ยืง เจีย สรูล เซาะ สะบาย เจีย ละออ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท