กรณีนายสมจร บัวซ้อน ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1513-1514/2531 : คนเชื้อชาติเวียดนามที่ประสบปัญหาการมีสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา


สิ่งที่ศาลคำนึงอยู่เสมอคือความถูกต้อง และความเป็นธรรม เมื่อบุคคลไม่ว่าชาติใด หรือภาษาใดมีความเป็นมนุษย์เขาจึงมีสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิตามกฎหมายธรรมชาติจึงไม่ควรถูกละเมิด ไม่ว่าในกรณีใดๆ การพิจารณาตัดสินคดีของศาลในคดีนี้จึงตั้งอยู่บนความสมดุลย์ระหว่างความมั่นคงของรัฐ และสิทธิมนุษยชนของมนุษย์

            นายสมจร บัวซ้อน เป็นบุตรของนายประกอบ     หรือเต่ยและนางเกียกหรือเกียด โดยนายประกอบหรือเต่ยเกิดเมื่อ พ.ศ.2473 ที่จังหวัดนครพนมมีบิดาคือนายมา ดีเต้ย     เป็นคนญวน นางเกียกหรือเกียดมารดาของนายสมจรเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทย  โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

 

            นายประกอบหรือเต่ยบิดานายสมจร และนายสมจรจึงเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติสัญชาติที่มีผลใช้บังคับขณะที่บุคคลทั้งสองเกิด โดยในขณะที่เกิดบุคคลทั้งสองเป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย

 

             ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337        ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 นายประกอบหรือเต่ยบิดาของนายสมจร และนายสมจร จึงถูกถอนสัญชาติไทย

 

            พนักงานอัยการศาลแขวงอุบลราชธานี ได้ฟ้องนายสมจร     ต่อศาลขอให้ศาลพิพากษาว่านายสมจร ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337

 

            คดีทำในสามศาลโดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวฯ

 

            ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

 

            ศาลฎีกาพิพากษาว่าการที่บุคลลที่เกิด    ในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 นั้น ในประการแรกจะต้องปรากฏว่า        บิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย        กรณีของนายสมจรจำเลยจำเลยในคดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาแล้วว่า        ในขณะที่เกิดนายสมจรจำเลยเป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้นายสมจรจำเลยจึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีของมารดาได้ ส่วนกรณีของบิดานั้นข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่านายประกอบหรือเต่ยบิดาของนายสมจรจำเลยเกิดเมื่อ พ.ศ.2473    ที่จังหวัดนครพนม เป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติสัญชาติ และนายสมจรจำเลยก็เป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรเช่นกันแต่ศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่านายสมจรจำเลยเกิดเมื่อใดซึ่งศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้    ได้ความจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ และทะเบียนบ้านว่านายสมจรจำเลยเกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2506 ดังนี้ ขณะที่นายสมจรจำเลยเกิด นายประกอบหรือเต่ยบิดาของนายสมจรจำเลยมีสัญชาติไทย     แม้นายประกอบหรือเต่ยบิดาของนายสมจรจำเลยจะได้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337ในภายหลังก็ตาม   นายสมจรจำเลยก็หาถูกเพิกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวไม่ถือไม่ได้ว่านายสมจรจำเลยเป็นบุคคลต่างด้าวโดยการถูกถอนสัญชาติไทย        ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดดังโจทก์ฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองมานั้น     ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์                

 

            ในการพิจารณาตัดสินคดีของนายสมจร  จะเห็นได้ว่าศาลไทยได้ให้ความยุติธรรมโดยไม่นำเอาการมีเชื้อชาติต่างประเทศของบุคคลมาปฏิเสธสิทธิที่บุคคลพึงจะได้รับ      สิ่งที่ศาลคำนึงอยู่เสมอคือความถูกต้อง และความเป็นธรรม   เมื่อบุคคลไม่ว่าชาติใด หรือภาษาใดมีความเป็นมนุษย์เขาจึงมีสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิตามกฎหมายธรรมชาติจึงไม่ควรถูกละเมิด ไม่ว่าในกรณีใดๆ     การพิจารณาตัดสินคดีของศาลในคดีนี้จึงตั้งอยู่บนความสมดุลย์ระหว่างความมั่นคงของรัฐ    และสิทธิมนุษยชนของมนุษย์

 

             จากคดีของนายสมจร ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาของบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดาแม้บุคคลดังกล่าว     จะมีองค์ประกอบในการได้สัญชาติไทยตามที่กฎหมายกำหนด    แต่เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังขาดความชัดเจน ทำให้การใช้กฎหมายไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ประกอบกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐยังขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้จึงเป็นเหตุให้บุคคลในกลุ่มนี้ต้องประสบกับปัญหาในการมีสถานะดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับความยุติธรรมจากศาลแล้วจึงทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป  โดยปัจจุบันนายสมจรมีสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดาส่วนนายประกอบ หรือเต่ยบิดาของนายสมจรได้สัญชาติไทยกลับคืนมาอีกครั้งโดยผลของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับลง วันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2547   เรื่องการสั่งให้บุคคลซึ่งถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 และบุตรหลานได้สัญชาติไทย 
หมายเลขบันทึก: 71405เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท