BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

Beneficence และ Benevolence


Beneficence และ Benevolence

ศัพท์เหล่านี้มีความหมายหลายนัยและแตกต่างจากบริบทของสังคมไทยจึงเป็นการยากที่จะบัญญัติให้ตรงกับความหมายเดิมได้ และศัพท์เหล่านี้ก็มีประเด็นปัญหาในจริยศาสตร์ตะวันตก ซึ่งเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจความหมายและประเด็นปัญหาเชิงปรัชญาของศัพท์เหล่านี้ให้ละเอียดถ่องแท้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่าจะต้องศึกษาเป็นการเฉพาะศัพท์เฉพาะเรื่อง แต่ประเด็นเหล่านี้อยู่นอกกรอบของการวิจัยครั้งนี้ ดังนั้น จะนำเสนอความสอดคล้องระหว่าง Beneficence และ Benevolence เพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น

. ความหมายของคำว่า Beneficence

Webster’ new world dictionary and thesaurus บอกว่า คำว่า Beneficence มาจากภาษาลาตินว่า bene (well) + facere (to do) และให้ความหมายไว้ว่า ความกรุณา” (a being kind) “การกระทำหรือการให้ของขวัญเพื่อแสดงความช่วยเหลือ” (a charitable act or gift) [1]

ดังนั้น ถ้าถือเอาตามรากศัพท์ภาษาลาติน ผู้วิจัยมีความเห็นว่า Beneficence ควรจะแปลว่า การกระทำดี” (well+do)

ใน Principles of Biomedical Ethics ฉบับปี ค.. 1983 โบฌองพ์ได้อธิบายไว้ตอนหนึ่ง ว่า

 ในภาษาอังกฤษทั่วไป คำว่าความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่” (Beneficence) รวมอยู่ในบรรดาคำเหล่านี้ คือ ความกรุณา (mercy ) ความปราณี (kindness ) และการช่วยเหลือ (charity ) อย่างไรก็ตาม ในบทนี้ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จะใช้ในฐานะ หน้าที่ (duty) เพื่อให้แตกต่างจากความกรุณา ความปราณี และความช่วยเหลือ ตามลักษณะธรรมดาที่สุดของมัน หลักการแห่งความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่บ่งถึงหน้าที่ในการช่วยเหลือคนอื่นๆ เกินเลยความสำคัญของพวกเขาหรือผลประโยชน์ตามกฎหมาย[2]  

แต่ ใน Principles of Biomedical Ethics ในฉบับ ค.. 1994 เขาได้อธิบายใหม่ว่า 

ในภาษาอังกฤษทั่วไปคำว่า ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่บ่งชี้การกระทำเกี่ยวกับความกรุณา ความปราณี และการช่วยเหลือ ในบางครั้ง ปรัตถนิยม ความรัก และความเป็นมนุษย์ก็ยังพิจารณาเป็นลักษณะของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นี้ด้วย เราจะเข้าใจได้ว่าการกระทำด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นี้มีความกว้างมาก ดังนั้น มันจึงรวมการกระทำทุกรูปแบบที่มุ่งจะให้ประโยชน์บุคคลอื่น[3] 

 ตามความเห็นของโบฌองพ์ ความหมายของคำนี้คือ การกระทำที่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่ง ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ น่าจะตรงกับความหมายของคำนี้มากที่สุด และเขายังได้กำหนดว่าคำนี้เป็นหน้าที่หรือหลักการส่วนความเห็นแตกต่างกันของคำนี้ก็มีนัยหลากหลาย เช่น บางท่านก็จัดคำนี้เป็นหน้าที่สมบูรณ์ บางท่านก็บอกว่าเป็นหน้าที่ไม่สมบูรณ์ หรือบางท่านก็เห็นว่าคำนี้ไม่สามารถกำหนดเป็นหน้าที่ได้เพราะเป็นศัพท์คุณธรรม ซึ่งโบฌองพ์ได้นำเสนอไว้อย่างละเอียดใน Principles of Biomedical Ethics ทั้งสองฉบับ ซึ่งผู้วิจัยจะทิ้งประเด็นนี้ไว้

อนึ่ง สำหรับโบฌองพ์ เขาคิดว่าศัพท์นี้มีความหมายคลุมเครือ นั่นคือ ศัพท์นี้อาจเป็นได้ทั้งหลักการและคุณธรรม  

. ความหมายของคำว่า Benevolence

Webster’ new world dictionary and thesaurus บอกว่า คำว่า Benevolence มาจากภาษาลาตินว่า bene (well) + volens (to wish) และให้ความหมายไว้ว่า แนวโน้มในการกระทำดี” (an inclination to do) “ความมีใจดี” (kindliness) “การกระทำเพื่อแสดงความช่วยเหลือ” (a charitable act)[4]

ดังนั้น ถ้าถือเอาตามรากศัพท์ภาษาลาติน ผู้วิจัยมีความเห็นว่า Benevolence ควรจะแปลว่า ความประสงค์ดี” (well+wish)

 ใน Principles of Biomedical Ethics โบฌองพ์มิได้อธิบายศัพท์นี้ไว้เป็นพิเศษ มีเพียงข้อความตอนหนึ่งอ้างว่าเป็นคุณธรรมคู่กับความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดังที่เขากล่าวไว้ว่า ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อ้างถึงการกระทำดีเพื่อประโยชน์ของคนเหล่าอื่น ขณะที่ ความเมตตากรุณาอ้างถึงลักษณะอุปนิสัยหรือคุณธรรมของแนวโน้มสำหรับการกระทำเพื่อประโยชน์ของคนเหล่าอื่น[5]

ตามความเห็นของโบฌองพ์ ความหมายของคำนี้คือ ความประสงค์ที่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่ง ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ความเมตตากรุณา น่าจะตรงกับความหมายของคำนี้มากที่สุด โดยเขาได้กำหนดว่าคำนี้เป็นลักษณะอุปนิสัย

อนึ่ง ใน International Encyclopedia of Ethics ได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ว่า ความเมตตากรุณาเป็นการจูงใจในการกระทำโดยความเห็นอกเห็นใจและโดยความไม่เห็นแก่ตัว[6]

 และได้ให้นัยสำคัญของคำนี้ไว้ว่า ฮูมพิจารณาความเมตตากรุณาว่าเป็นพื้นฐานของจริยศาสตร์ และประชาชนจำนวนมากเชื่อว่างานหลักของจริยศาสตร์เป็นการสนับสนุนความเมตตากรุณา แต่อัตตานิยมเชิงจริยะและเฟดิริช นิชเช่ พิจารณาความเมตตากรุณาว่าเป็นอจริยธรรม[7]

       

 ดังนั้น คำว่า Beneficence ซึ่งเป็นหลักการแห่งหน้าที่ มีความสอดคล้องกับคำว่า Benevolence ซึ่งเป็นคุณธรรม โดยคำทั้งสองนี้ตามรากศัพท์ภาษาลาตินจะบ่งความหมายว่า หลักการแห่งการกระทำดี มีความสอดคล้องกับ คุณธรรมแห่งความประสงค์ดี และตามแนวคิดของโบฌองพ์ความหมายที่สอดคล้องของคำทั้งสองนี้ คือ การกระทำที่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่น คู่กับ ความประสงค์ที่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยบัญญัติเป็นภาษาไทยว่า ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คู่กับ ความเมตตากรุณา

  ตามที่นำเสนอมา จะเห็นได้ว่าคำว่า Benevolence และ Beneficence มีนัยลึกซึ้งและยังเป็นประเด็นปัญหาถกเถียงในจริยศาสตร์ตะวันตก ซึ่งยากที่จะบัญญัติศัพท์และอธิบายให้ถ่องแท้ในบริบทของภาษาและสังคมไทยได้ และประเด็นนี้มิใช่วัตถุประสงค์ของการวิจัยด้วย ดังนั้น ผู้วิจัยจะทิ้งประเด็นปัญหาของศัพท์เหล่านี้ไว้ทั้งหมด ส่วนบางศัพท์ที่อ้างถึง ผู้วิจัยจะใช้คำภาษไทยตามที่เห็นสมควรโดยจะวงเล็บภาษาเดิมไว้เพื่อความชัดเจน

อนึ่ง ตามความเห็นของผู้วิจัย แนวคิดเรื่องความสอดคล้องระหว่างหลักการแห่งหน้าที่กับคุณธรรมนี้คล้ายคลึงกับ หลักเบญจศีล-เบญจธรรม ในหลักคำสอนจริยธรรมของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยที่บอกว่า ศีลซึ่งหมายถึงข้อห้ามจะต้องควบคู่ไปกับธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมภายในจิตใจ เช่น ศีลข้อแรกคือห้ามฆ่าสัตว์จะต้องคู่กับเมตตากรุณาซึ่งเป็นความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขและพ้นทุกข์ เป็นต้น ดังที่พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ให้ความเห็นไว้ตอนหนึ่งว่า

ในยุคหลังต่อมา ปราชญ์ได้นำเอาธรรมบางข้อที่เข้าคู่กันกับสิกขาบทหรือศีล 5 นั้น มาจัดวางเป็นหมวดขึ้น สำหรับแนะนำให้คฤหัสถ์ปฎิบัติคู่กันไปกับ เบญจศีล โดยเรียกชื่อว่า เบญจธรรม หรือเบญจกัลยาณธรรม ข้อธรรมที่นำมาจัดนั้น ก็เดินตามแนวของหลักที่เรียกว่ากุศลกรรมบถนั่นเอง แต่ในการเลือกข้อธรรมมาจัดเข้ามีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะในแง่ของข้อธรรมที่มีความหมายกว้างแคบกว่ากัน หัวข้อของเบญจธรรมนั้น เรียงตามลำดับให้เข้าคู่กับศีล 5 คือ 1. เมตตาและกรุณา 2. สัมมาอาชีวะ (บางท่านเลือกเอาหรือรวมเอาทานเข้าด้วย) 3. กามสังวร คือความรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์หรือเรื่องรักใคร่ไม่ให้ผิดศีลธรรม (บางท่านเลือกเอา สทารสันโดษ คือความยินดีด้วยคู่ครองของตน) 4. สัจจะ 5. สติสัมปชัญญะ (บางท่านเลือกเอาอัปปมาทคือความไม่ประมาท ซึ่งความก็ไม่แตกต่างกัน)”[8]

 

โดยผู้วิจัยมีความเห็นว่า มาตรฐานแห่งข้อผูกพันเทียบได้กับเบญจศีลซึ่งมีนัยที่จะต้องดำเนินการ ขณะที่มาตรฐานแห่งคุณธรรมเทียบได้กับเบญจธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของอุปนิสัยที่ดี  โดยทั้งสองนี้จะต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกันเพื่อความสมบูรณ์ของการดำเนินชีวิตทางศีลธรรม

ประเด็นเรื่องเบญจศีลเบญจธรรมของพุทธปรัชญาคล้ายคลึงกับความเห็นว่าทฤษฎีหลักการมีความสอดคล้องกับทฤษฎีคุณธรรม ตามที่นำเสนอมาเป็นเพียงความเห็นของผู้วิจัยเท่านั้น และมิใช่ประเด็นในการวิจัย ดังนั้น จะยุติไว้เพียงแค่นี้ ขอเสนอแต่เพียงว่าเป็นประเด็นที่ควรจะมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบเรื่องนี้โดยเฉพาะ

 


[1] Webster’ new world dictionary and thesaurus. ( U.S.A. : Macmillan), p. 55.

[2] Tom L. Beauchamp and James F. childress. Principles of Biomedical Ethics. (New York : Oxford, 1983), p. 148.

[3] Tom L. Beauchamp and James F. childress. Principles of Biomedical Ethics. (New York : Oxford, 1994), p. 260.

[4]   Webster’ new world dictionary and thesaurus. ( U.S.A. : Macmillan), p. 55.

[5] Tom L. Beauchamp and James F. childress. Principles of Biomedical Ethics. (New York : Oxford, 1994), p. 260.

[6] John K. Roth, ed. International Encyclopedia of Ethics. (London : Selem Press, 1995), p. 77.

[7] Ibid.

[8] พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธธรรม. (กรุเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2529), หน้า 773.

คำสำคัญ (Tags): #beneficence#benevolence
หมายเลขบันทึก: 71374เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 01:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เย้ได้เรียน ภาษาอังกฤษ มีหลายบันทึกจังตามไปไม่หมดนะครับ ขอบคุณมากครับผม

เจริญพร อาจารย์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์นะครับ เอามาใส่ไว้เล่นๆ ...

นายโบฌองพ์ เสนอว่า หลักการกับคุณธรรมต้องคู่กัน และหลวงพี่เสนอความเห็นว่าแนวคิดนี้คล้ายคลึงกับหลักเบญจศีล-เบญจธรรม ตามแนวคิดพระพุทธศาสนาในเมืองไทย (ท่านอาจารย์เจ้าคุณประยุทธ์ บอกว่า เรื่องเบญจศีล-เบญจธรรม เป็นเรื่องที่คนไทยคิดขึ้นเอง ไม่มีปรากฎอยู่ในคัมภีร์ใดๆ )

ศัพท์อังกฤษที่นายโบฌองพ์นำมาเปรียบเทียบนะยากส์สุดๆ เลยครับ จึงนำมาเสนอเพียงคู่เดียว แต่กว่าจะขุดมาได้ก็ต้องใช้เวลาหลายวัน

พื้นฐานอังกฤษอ่อนมากครับ เพิ่งมาเอาจริงเอาจังก็ตอนอายุมากแล้ว เขียนศัพท์ไม่ถูก ออกเสียงก็ไม่ถูก เพียงแต่เรื่องที่ถนัดพออ่านจับความได้ รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างเท่านั้นแหละครับ

เจริญพร

     

  • มาทักทายอีกครับ
  • จับใจความบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆก็จะได้ครับ
  • ภาษาอังกฤษเป็นทักษะครับหลวงพี่

อาจารย์ขจิต

ภาษาอังกฤษเป็นทักษะ ดังนั้น ภาษาอื่นไม่เป็นทักษะ หรือภาษาอื่นก็เป็นทักษะเหมือนกัน ? (5 5 5)

ขอบใจ จ้า

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท