การวัดและประเมินผลทางภาษา(17)


เรื่อง ความรู้และความเข้าใจในมโนทัศน์.....แน่นอนว่า....สิ่งนี้จะเป็นส่วนปกติที่เชื่อมโยงกับการทดสอบ อย่างไรก็ตาม เป็นส่วนที่มีความหลากหลายมาก และครูผู้สอนจะใช้วิธีการที่แตกต่างกัน สำหรับการประเมินชนิดของความรู้ที่แตกต่างกันด้วย ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ ต้องกำหนดจุดประสงค์ของการประเมินก่อน แล้วจึงกำหนดวิธีการประเมินผล เช่น ถ้าจุดประสงค์การประเมินเป็นเรื่องการจดจำ เช่น ข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ ก็ต้องมีการทดสอบความจำของนักเรียนที่มีต่อข้อมูลที่ได้ไป ไม่ว่าจะโดยพูดหรือการเขียน
บันทึกที่แล้ว  เรื่อง การวัดและประเมินผลทางภาษา(16)  เป็นการกล่าวถึง  การประเมิน  ในหัวข้อ  ความรู้และความเข้าใจในมโนทัศน์  แต่คราวนี้ครูอ้อยก็ยังย่ำอยู่กับการประเมินผล  แต่เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวกับ  การคิด
เวลาสอน  ครูผู้สอนต้องย้ำเน้นเกี่ยวกับการคิดอย่างสม่ำเสมอ
ครูอ้อยเน้นให้นักเรียนคิด  ตั้งแต่การดูรูปภาพในหนังสือ  ปล่อยเวลาให้คิดและตอบอย่างอิสระ  พูดเสมอว่า  นักเรียนมีความคิด  และความคิดของนักเรียนย่อมถูกเสมอ  แล้วแต่ว่า  เราจะเลือกหยิบประเด็นใดมาพูดกัน
ดังนั้น  นักเรียนของครูอ้อยจะถูกฝึกให้คิดแบบแยกแยะ  คิดให้ได้เป็น mind mapping   คิดให้ออกเป็นชนิด  และคุณสมบัติของสิ่งนั้น
การคิดเป็นทักษะอย่างหนึ่ง  ที่ดูเหมือนว่า  จะเป็นมากกว่าทักษะ  ซึ่งสามารถปรับปรุงได้  จึงควรแยกส่วนนี้ออกมาประเมินเฉพาะ  และการประเมินอาจเป็นการใช้แบบทดสอบปรนัยแบบเป็นตัวเลือก  แบบฝึกหัดเพื่อแก้ปัญหา  และการพูดหรือการเขียนเพื่ออธิบายก็ได้
เห็นไหมคะ  การฝึกการคิดไม่ยากอย่างที่คิด  แต่มันเป็นเรื่องละเอียดและต้องใช้เวลา  ใช้ความอดทนพยายาม  แต่สิ่งได้รับนั้นมากมายมหาศาล  ลองทำดูนะคะ  การประเมินด้วยการใช้ทักษะการคิด
หมายเลขบันทึก: 71350เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2007 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
แวะมาสวัสดียามดึกค่ะครูอ้อย เดี๋ยวไปออกข้อสอบต่อค่ะ

สวัสดีค่ะน้องลูกหว้า

  • ถึงเทศกาลการออกข้อสอบแล้วหรือคะ
  • ขยันจัง...ครูอ้อยยังไม่ได้แตะเลยค่ะ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท