แนวคิดและทฤษฏีการบริหารประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้


ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการทางการพยาบาล

แนวคิดและทฤษฏีการบริหาร
ทฤษฏีการบริหาร ได้พัฒนาขึ้นตามปรัชญาของการมององค์กร เป็น 3 ทฤษฏี คือ

  1. ทฤษฏีแบบสมัยเดิมหรือที่เรียกว่าการบริหารที่มีหลักเกณฑ์
  2. ทฤษฏีมนุยสัมพันธ์ คือ วิธีการบริหารแบบมนุษยสัมพันธ์
  3. ทฤษฏีการศึกษาในแง่ที่เป็นระบบ
    ดังนั้น ทฤษฏีทางการบริหารในแนวทางดังกล่าวพื้นฐานของความสำคัญจะอยู่ที่ความคิดที่จะมีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่วางไว้จากวิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด เน้นผลลัพธ์เป็นหลัก

ทฤษฏีแบบสมัยเดิมหรือที่เรียกว่าการบริหารที่มีหลักเกณฑ์
1.    เป็นการบริหารที่มีความเชื่อว่าองค์กรเปรียบเสมือนเครื่องจักรยนต์หรือโครงสร้างที่มีขึ้นให้ สมาชิกปฏิบัติภายในกรอบของเหตุผล และเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจเท่านั้น
2.    ทฤษฏีการมององค์กรเปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรตามแนวความคิดของ Frederick W.Taylor
3.    ทฤษฏีการศึกษาองค์กรในแง่ที่เป็น Bureaucracy
4.    วิชาที่เกี่ยวข้องคือ วิชาวิศวกรรมหรือวิชาทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆและจิตวิทยา
5.    เทคนิคการบริหารที่ใช้ในการวิเคราะห์ก็คือการศึกษาเรื่องเวลาที่ใช้ในการทำงาน(Time study)และการวิเคราะห์ด้านการผลิต การวางแผนและการควบคุม(Production Planning and Control)


ทฤษฏีมนุยสัมพันธ์ คือ วิธีการบริหารแบบมนุษยสัมพันธ์
1.      แนวความคิดของ Elton Mayo
2.      วิชาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฏีของมนุษยสัมพันธ์นั้นก็คือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางจิตวิทยาต่างๆและการศึกษากลุ่มสัมพันธ์
3.      เทคนิคการบริหารที่ใช้คือการใช้กระบวนการให้คำปรึกษา(Consultation)การให้คำปรึกษา(Counseling)และการศึกษาอบรมและสอนงาน
4.      เป็นการมององค์กรที่ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มทำงานต่างๆซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นจะมีค่านิยม บรรทัดฐานที่ไม่เหมือนกัน
ดังนั้น การจัดการที่ถูกต้องจึงอยู่ที่การต้องสามารถเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดและสามารถกำกับกลไกของอารมณ์และความรู้สึกต่างๆเพื่อให้มีจุดมุ่งหมายไปยังผลสำเร็จขององค์กรเป็นสำคัญ


ทฤษฏีการศึกษาในแง่ที่เป็นระบบ
1.    แนวความคิดของ Bertalanffy
2.    วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านนี้จะประกอบด้วยวิชาทางชีวะวิทยาคณิตศาสตร์และ พฤติกรรมศาสตร์
3.    เทคนิคการบริหารที่ใช้คือวิธีการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างแบบจำลองและการใช้วิธีการจัดรูปแบบแนวความคิด และการสรุปย่นย่อเป็นคำจำกัดความ
4.    ทฤษฏีเกี่ยวกับระบบนั้น เปรียบเสมือนว่าองค์กรประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยของหลายส่วนที่เกี่ยวข้องถึงกันและกัน ซึ่งกลไกส่วนประกอบขององค์กรนี้ต่างก็จะทำงานคล้ายๆกับสิ่งมีชีวิตซึ่งจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับสภาพแวดล้อม เป็นการมององค์กรที่ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มทำงานต่างๆซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นต่างก็จะมีค่านิยมบรรทัดฐานที่ไม่เหมือนกัน
5.    เทคนิคของการศึกษาระบบนี้ เป็นรูปแบบสมัยใหม่ที่มีขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้การศึกษามีความสมบูรณ์ และสามารถวิเคราะห์เพื่อที่จะปรับตัวให้องค์กรมีการเติบโตอย่างสมดุลทั้งภายในและภายนอก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท