BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

๗. ปฏิบัตินิยม : บิดาแห่งปฏิบัตินิยม


ปฏิบัตินิยม

แนวคิดปฏิบัตินิยม เริ่มต้นที่อเมริกาเมื่อปี พ.ศ ๒๔๒๐จากบทความชื่อ The Fixation of Belief ของ ชาลล์ เพียช นักปรัชญาชาวอเมริกัน แต่เค้าก็มิได้ตั้งชื่อ Pragmatism (ปฏิบัตินิยม) ... ผู้ที่ตั้งชื่อแนวคิดนี้คือ วิลเลี่ยม เจมส์ ...ส่วนผู้ที่นำมาประยุกต์ใช้ก็คือ จอห์น ดิวอี้ ..ฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่า เพียชเป็นบิดาผู้ให้กำเนิด เจมส์เป็นผู้ตั้งชื่อ และดิวอี้เป็นผุ้เลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมา ...ซึ่งผู้จะนำเสนอแนวคิดพื้นฐานของสามเสาหลักเหล่านี้ต่อไป

แนวคิดในบทความเริ่มแรกของเพียช จะประมวลมาบอกเล่าตามความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่ยืนยันว่าจะถูกต้องตามที่เพียชต้องการนำเสนอหรือไม่

ตามแนวคิดของเพียช คนเราเมื่อแรกเกิดนั้น สมองว่างเปล่า ไม่มีอะไรบรรจุอยู่โดยประการทั้งสิ้น สิ่งที่เรารับรู้ได้โดยผ่านประสาทสัมผัสนั้น เป็นเพียงข้อมูลดิบๆ ซึ่งเรายังคงสงสัยสิ่งเหล่านั้นอยู่เสมอ นั่นคือ ความรู้ตามนัยของเพียชเป็นเพียงความสงสัยเท่านั้น 

เมื่อมีโอกาสทดลองทำ หรือทดลองใช้ข้อมูลเหล่านั้น ถ้าได้ผลเป็นจริงเราก็จะค่อยๆ เชื่อ นั่นคือ ความสงสัยที่ทดลองใช้แล้วได้ผลก็จะกลายเป็นความเชื่อ ถ้าใช้ทุกครั้งได้ผลทุกครั้งสิ่งนั้นก็จะเป็นความจริง ดังนั้น ความจริงตามความเห็นของเพียชก็คือ ความเชื่อที่ฝังแน่น หรือ ความเชื่อที่ยึดตึดเท่านั้น ...ส่วนสิ่งที่เราทดลองใช้แล้วไม่ได้ผลก็จะยังคงเป็นความสงสัยและเราก็จะค่อยๆ กำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไปจากสิ่งที่เราจะเชื่อว่าเป็นความรู้ของเราเท่านั้น 

เมื่อจัดกระบวนการตามแนวคิดของเพียช จะได้ดังต่อไปนี้

๑. ความว่างเปล่าของสมอง

๒. การรับรู้สิ่งภายนอกเป็นข้อมูลต่างๆ

๓. ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงความสงสัย

๔.๑ ความสงสัยที่ถูกทดสอบแล้วได้ผลจะเป็นความจริง

๔.๒. ความสงสัยที่ถูกทดสอบแล้วไม่ได้ผลก็จะทิ้งไป

๔.๓. ความสงสัยที่ถูกทดสอบแล้วได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างก็ยังคงเป็นความสงสัย

สรุปได้ว่า ความรู้ก็คือความสงสัย ความจริงก็คือความเชื่อที่ยึดแน่นเท่านั้น...ประมาณนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #ปฏิบัตินิยม
หมายเลขบันทึก: 71342เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2007 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

นมัสการครับหลวงพี่

ความจริงก็คือความเชื่อที่ยึดแน่นเท่านั้น

..ความเชื่อ มีทั้งที่เป็นจริง และความเชื่อที่ผิดๆด้วย เช่นความเชื่อในการรับประทานยาบำรุงกำลังทางเพศ จากอวัยวะของสัตว์ป่า ซึ่งหลายคนก็ยังคงเชื่ออย่างยึดแน่นเช่นนั้นมาอย่างยาวนาน

 

  • สีสวยเชียวครับหลวงพี่
  • จำวัดดึกนะครับ

ด้วยความยินดี จ้า

ปรกติจำวัดหลังตีหนึ่ง... แต่ช่วงนี้ฝนตกนอนไม่หลับ จ้า ..เป็นโรคประจำตัวชนิดใหม่เป็นมาปีกว่าๆ แล้ว พอฝนตกอากาศชื้นๆ นอนไม่หลับ จ้า

เจริญพร

นมัสการเจ้าค่ะ 

โธ่หลวงพี่ กำลังมีรายงาอยู่พอดี ข้อมูลน่าจาเข้มข้นกว่านี้หน่อย

สรุปได้ว่า ความรู้ก็คือความสงสัย ความจริงก็คือความเชื่อที่ยึดแน่นเท่านั้น...ประมาณนี้

>>ปฏิบัตินิยม แต่ทำไมไม่เห็นกล่าวถึงการปฏิบัติเยอะๆหน่อย

ทำไมไปสรุปว่าสงสัยอะ

เพราะเคยอ่านผ่านว่ามีลัทธิสงสัยอีก ........ งง จัง ยากด้วยวิชานี้

คุณนิสิต

แนวคิดนี้ มาจากประเด็นบ่อเกิดความรู้ แล้วก็ค่อยแปรไปสู่ประเด็นอภิปรัชญาเรื่องความจริง ต่อจากนั้นก็ให้ความหมายว่า ความจริงคือความเชื่อที่ยึดแน่น ต่อมาก็มีการประยุกต์ว่า ต้องทดลองทำหรือปฏิบัติดู ถ้าใช้ได้ก็จัดเป็นความจริง ถ้าใช้ไม่ได้ก็ไม่จัดว่าเป็นความจริง ..นั่นคือ ค่อยๆ แปรไปเรื่อย

หลวงพี่ไม่ได้นำเสนอในด้านการนำไปประยุกต์ใช้ เพียงแต่เรียงลำดับการเกิดของของแนวคิดนี้ เพื่อจะยืนยันว่า แนวคิดนี้ไม่ควรนำมาใช้และขัดแย้งกับพุทธปรัชญาอย่างไร ..

ถ้าว่าด้วยการนำไปประยุกต์ใช้ ลัทธินี้แปรไปเยอะแล้ว ตอนนี้มีความคิดใหม่ๆ เค้าเรียกว่า ปฏิบัตินิยมใหม่ ซึ่งหลวงพี่ไม่รู้เรื่อง จ้า

เจริญพร

ความแตกฉานในสิ่งที่ยากยิ่งของพระคุณเจ้า  ทำให้ผู้อ่านรู้สึกชื่นชมมากครับ  เพียซ ได้แสดงให้เราเห็นว่า "ก่อนที่จะมาเป็นความรู้" นั้น สิ่งนั้นจะต้อง "เกิดซ้ำได้"  ถ้าทำซ้ำได้  สิ่งนั้นก็เป็น"ความรู้"  และความรู้นี้ เป็น "จริง" เช่น  ถ้าเรา "เห็นผี" ที่ตรงนั้น  เราจะต้อง "เห็นผีได้อีกครั้ง" ในเวลาต่อมา  ถ้าไม่เห็นอีก  "ผี" นั้นก็ "ไม่ใช่ความรู้"  และถ้าใครว่ามี  เขาก็มีความรู้เท็จ ฯลฯ  นี่เป็นตัวอย่างเฉพาะความรู้ประเภท "ข้อเท็จจริง"  ถ้าเป็นความรู้ประเภท "มโนทัศน์"  หรือ "กฎธรรมชาติ"ด้วยแล้ว  จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นไปอีก

การทำหรือสัมผัสซ้ำๆนี้ก็คือ "การปฏิบัติซ้ำ"  คำ Pragmatism จึงได้ถูก "โยน"เข้ามาในวงการของปรัชญา  ทำให้ พจนานุกรมปรัชญาหนาขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง

บล็อกดีๆอย่างนี้น่าจะมีให้มากกว่านี้ครับ

อาจารย์ ดร.ไสว

ยินดีครับ ...เรื่องนี้ อาตมาก็ค้างอยู่ ยังไม่ถึง วิลเลี่ยม เจมส์ ...พอดี บางประเด็นที่เคยโน้ตไว้หายไป ยังต่อกรอบความคิดไม่ได้ ถ้าพูดตาม เพียช ก็หมายถึงว่า ไอเดียทำท่าเลือนๆ ไม่ค่อยชัดเจนเหมือนตอนเรียน...  ก็คงอาศัยช่วงว่างๆ ค่อยไปปัดฝุ่นหนังสือ ทำไอเดียให้ชัดเจนอีกครั้งแล้วค่อยมาเขียนต่อครับ..

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

 ความรู้ กับ ปัญญา ตัวเดียวกันไหมครับ? 

อาจารย์ลุง

ความรู้ เป็นภาษาไทย ส่วน ปัญญา เป็นภาษาบาลี อีกคำคือ ปรัชญา เป็นภาษาสันสกฤต

ความรู้  และ ความเข้าใจ ...น่าจะมีแค่นี้สำหรับภาษาไทยซึ่งความหมายใกล้เคียงกันที่สุด

ส่วน ปัญญาในภาษาบาลี ซึ่งมีความหมายว่า ความรู้ในภาษาไทยนั้นมีเป็นเป็นสิบคำ ยากส์....

ดังนั้น ความรู้ กับ ปัญญา จะเหมือนกันไหม..  ถ้าจะตอบแบบกว้างๆ ก็คงจะเหมือนกัน แต่ถ้าจะเอาชัดเจน ก็ต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ใช้จริงๆ ...ประมาณนี้

เจริญพร

นิสิตมหาจุฬาขอนแก่น
แล้ว  สสาร ครับผม  แยกออกจากวัตถุแล้ว แต่วัตถุ ก็ยังเป็น สสารเหมือนเดิม  แสดงว่า2ตัวนี้เป็นตัวเดียวกัน  แต่ใช้คนละสภาวะใช่ใหม ขอรับ?
นิสิตมหาจุฬาขอนแก่น
ในเรื่องปรัชญาเถรวาท๑อะครับ
ไม่มีรูป
นิสิตมหาจุฬาขอนแก่น
ทั้ง สสารนิยมและวัตถุนิยม เป็นคำที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้แทนคำว่า materialism ... ความแตกต่างกันคือ..
สสารนิยมใช้ในอภิปรัชญา
วัตถุนิยมใช้ในจริยศาสตร์
แต่ปัจจุบันนิยมใช้ วัตถุนิยม ทั้งสองสาขา...
ดูหนังสือ คู่มืออภิปรัชญา ของ อดิศักดิ์ ทองบุญ หน้า ๑๓๔...
อามันตา 
นมัสการพระคุณเจ้า มีบางท่านกล่าวว่าปฏิบัตินิยม คือ พวกที่มุ่งเน้นแต่ผล  โดยไม่สนใจวิธีการว่าถูกหรือผิด  เขากล่าวมาอย่างนี้ถูกใหมครับ
ไม่มีรูป
small man

น่าจะต่างประเด็นออกไป...

ปฏิบัตินิยม เชื่อว่า...

ความจริงแท้ ยังรู้ไม่ได้ หรือมีหลายนัย (อภิปรัชญา)

ความรู้ คือ สิ่งที่นำมาใช้ได้ (ญาณวิทยา)

ส่วนการมุ่งเน้นแต่ผล น่าจะเป็นจริยศาสตร์ของสำนักประโยชน์นิยมหรืออัตตนิยมเชิงจริยะ มากกว่า....

............

แต่ถ้าถามว่า ประโยชน์นิยม และ อัตตนิยมเชิงจริยะ มีแนวคิดพื้นฐานทางอภิปรัชญาและญาณวิทยาสอดคล้องกับ ปฏิบัตินิยม หรือไม่ ?...

ประเด็นหลังนี้ อาตมามีความเห็นว่าสอดคล้องกัน....

เจริญพร 

นมัสการพระคุณเจ้า ผมขออนุญาตกล่าวถึงปฏิบัตินิยมในเชิงประยุกต์ครับ (ต่อยอด) ผมอยู่ในวงการศึกษา ก็คงต้องกล่าวถึงการนำหลักการของปฏิบัตินิยมมาใช้ในวงการศึกษา โดยเรียกชื่อว่า"ประสบการณ์นิยม" Experimentalism โดยฝ่ายนี้ลงความเห็นว่า ความเป็นจริงก็คือประสบการณ์ และไม่มีความเป็นจริงที่กลั่นกรองแล้ว หากจะต้องสืบเสาะคิดค้นหาความจริงด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นที่มาของ Learning by doing ถ้าว่าด้วยแนวคิดของปรัชญานี้จริงๆแล้ว ความจริงจะมีลักษณะยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ โดยความเป็นจริงอย่างถูกต้องเพียงใด ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องมือ ดังนั้น ลัทธิประสบการณ์นิยม ก็คงจะคล้ายๆกับกระบวนการศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์นั่นเอง ซึ่งไม่เกี่ยวกับจิตใจหรือคุณธรรม เพราะโดยพื้นฐานแล้ว ปรัชญาตะวันตกจะเน้นการเอาชนะธรรมชาติเสียเป็นส่วนใหญ่
ไม่มีรูป
small man

ตามที่ท่านผ.อ. ว่ามา ชัดเจนแล้ว....

ปรัชญาการศึกษาตามแนวคิดของปฏิบัตินิยม เริ่มต้นที่ดิวอี้ ซึ่งนำ "ความเชื่อที่ยึดแน่น" มาใช้เป็นเครื่องมือเรียกว่า อุปกรณ์นิยม.............

ตามความเห็นของอาตมา (และคิดว่านักเรียนปรัชญาโดยมากก็น่าจะมีความเห็นทำนองนี้) แนวคิดของสำนักนี้ง่ายๆ ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรมากนัก....

แต่รู้สึกว่านักการศึกษามักจะให้คุณค่าแนวคิดสำนักนี้ค่อนข้างสูง...

เจริญพร

ที่นักการศึกษามักจะให้แนวคุณค่าแนวคิดสำนักนี้ค่อนข้างสูง เพราะเป็นกระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศของชนชั้นนำครับ  ความทันสมัย หรือการพัฒนา เราจะต้องยึดตะวันตกเป็นสรณะ จะต้องทำประเทศให้เจริญแบบตะวันตก เจริญแบบฝรั่ง ฝรั่งคิดอะไร ทำอะไร เราต้องคิดตามเขา ต้องทำตามเขา  ฝรั่ง คือ ตัวแทนของความเจริญที่เรายึดเป็นต้นแบบในการพัฒนาครับ ผมว่าไม่ใช่ฝรั่งไม่ดี หรือแนวคิดประสบการณ์นิยมไม่ดีนะครับ  เพียงแต่ว่าเรารู้จักเขาไม่ดีพอก่อนที่จะยึดเป็นต้นแบบ  เราศึกษาเขาไม่ลึกซึ้ง ถึงกระบวนความคิดของเขาว่ามีบริบทอย่างไร แล้วไทยเรานำมาใช้ จะนำมาใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมต่างหากครับ  คือ เราต้องเป็นนายของความคิดแบบฝรั่ง ไม่ใช่ให้ความคิดฝรั่งมาเป็นนายเราครับ

นมัสการครับ...พี่หลวงชัยวุธ

  • ตอนนี้ผมอบรมคอมพิวเตอร์อยู่ที่ กศน. จังหวัดสงขลาครับ...
  • ปฏิบัตินิยม.... คือ "ความเชื่อที่ยึดแน่น" คำว่ายึดแน่น ไม่แน่ใจว่าเหมือนกับการฝังลึก จนเป็นกลายเป็น "กมลสันดาน" หรือเปล่า... ผมเห็นคนที่ปฏิบัติในทางที่ผิดแล้วก็ไม่เคยคิดที่จะปรับปรุงเพราะเชื่อว่าที่ทำอยู่ถูกต้องแล้ว ดีแล้ว

 

P

รู้สึกปลื้ม ที่คุณครูนายหนังเข้ามาเยี่ยม....

ความดีและความถูกต้องในการกระทำนั้น ขึ้นอยู่กับความเห็นของแต่ละคน บางครั้งเราก็เอาความคิดเห็นของเราเข้าไปจับแล้วก็ประเมินและตัดสินตามความคิดเห็นของเรา....

ขอให้คุณครูนายหนังอบรมอย่างมีความสุขและสนุกสนาน....

เจริญพร 

นมัสการ ครับ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนแนวคิด เกี่ยวกับ "ความเชื่อที่ยึดแน่น"ครับ เกี่ยวกับแนวคิดของปฏิบัตินิยม แนวคิดนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ ว่าปฏิบัตินิยม คือ นิยมการปฏิบัติ ดังนั้น ความเชื่อ จึงเชื่อในการปฏิบัติครับ ถ้าปฏิบัติแล้วได้ผลก็ โอเค ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลก็โนเค ทีนี้จะเป็นความเชื่อยึดแน่นหรือไม่ ก็ต้องแล้วแต่ผลครับ ปฏิบัติมาหลายครั้ง จนแน่ใจได้ว่าชัวร์ ก็คงจะต้องเป็นความเชื่อที่ยึดแน่นครับ ส่วนการปฏิบัติในทางที่ผิด ต้องตีความครับ คำว่าผิด เอาอะไรมาวัดว่าผิด สำหรับปฏิบัติการนิยมแล้ว ผิด คือ ปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล ถ้าปฏิบัติแล้ว ได้ผล ไม่ผิดครับ ที่นี้หากเอาไม้บรรทัดอีกอันหนึ่งมาวัด คำว่าผิด คือ ผิดคุณธรรมจริยธรรม ประเด็นนี้ ไม่เกี่ยวกับปฏิบัตินิยมครับ ผมว่าถ้าเรามองแบบใจกว้างๆนะครับ ปฏิบัตินิยมก็มีส่วนดี เพียงแต่ว่าเราต้องมีกรอบการปฏิบัติภายใต้ของคุณธรรมจริยธรรมครับ

หยุดไปนานเกือบครบปีแล้ว  น่าจะบันทึกเรื่องดีๆต่อ เห็นว่าจะคุยเรื่องของ Willam James ไม่ใช่หรือครับ

ไม่มีรูป

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

 

เมื่อหลายเดือนก่อน เคยเขียนแล้ว (ตอนนั้นใช้ IE) แต่โพสต์ไม่ได้ และที่เขียนแล้วก็หายไป จึงน้อยใจเลยทิ้งไว้อีกครั้ง...

ตอนนี้เปลี่ยนมาใช้ firefox แล้ว จะลองเขียนอีกครั้ง คงจะ ๒-๓ วันนี้แหละ (ถ้าเป็นไปได้).........

เจริญพร 

ปรัชญาปฏิบัตินิยม เป็นปรัชญาบริสุทธิ์ ซึ่งมีนักปรัชญาสำคัญ 3 ท่านได้แยกออกเป็น ปรัชญาปฏิบัตินิยม ปรัชญาอุปกรณ์นิยม และปรัชญาประสบการณ์นิยม ซึ่งทั้ง 3 มีแนวคิดใหญ่ๆ เหมือนกันคือ ด้านอภิปรัชญา เชื่อว่าความจริงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมเกิดเป็นประสบการณ์ใหม่ ด้านญาณวิทยา เชื่อว่าความรู้ที่แน่นอนไม่มี เพราะประสบการณ์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ด้านคุณวิทยา เชื่อว่า คุณค่า ความดี เปลี่ยนแปลงได้ และมองว่าสังคมเป็นผู้กำหนดความดีความงามของมนุษย์

ไม่มีรูป

ครูติ๋ง

 

  • ตามความเห็นของคุณครูติ๋ง

ตี่ต่างว่าเป็นการตอบคำถามว่า ปรัชญาปฏิบัตินิยมคืออะไร ? และให้อาตมาเป็นผู้ให้คะแนน จะให้ ๗ จากเต็ม ๑๐ (..........)

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท