งานจักสานจากผักตบชวา..สินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์...ชาวบ้านทำ ชาวต่างชาติใช้


การจัดทำนโยบายที่ขาดชุดความรู้ที่เหมาะสม ทำให้ อบต. สะแกต้องจ่ายเงินกับผักตบชะวาอย่างเดียว 2 รอบคือระยะแรก เมื่อ 5 - 6 ปีที่แล้วจัดงบประมาณหลายหมื่นบาทเพื่อให้ชาวบ้านนำไปกำจัดผักตบชาวที่เต็มทุ่งเต็มนา ต่อมาก็จักสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการนำเอาผักตบชะวามาจักสาน และต้องใช้งบประมาณมากกว่าเดิมหลายเท่าเพราะผักตบชวาในท้องถิ่นหมดแล้ว ต้องเหมารถไปซื้อมาจากที่อื่น

    สินค้าOTOP  กลุ่มจักรสาน  บ้านมะงา  ตำบลสะแก  อำเภภอสตึก  จ.บุรีรัมย์โดยมีคุณ  จันทร์แดง  เลขา  นายก อบต.  สะแก  เป็นผู้ดูแล  และเป็นแม่งาน  คอยประสานงานด้านการต้อนรับการรับใบสั่งซื้อสินค้า และบริการผู้มาเยือนอย่างประทับใจ

          แต่ว่าผลของการจัดทำนโยบายที่ขาดชุดความรู้ที่เหมาะสม  ทำให้ อบต.  สะแกต้องจ่ายเงินกับผักตบชะวาอย่างเดียว  2  รอบคือระยะแรก  เมื่อ  5 - 6  ปีที่แล้วจัดงบประมาณหลายหมื่นบาทเพื่อให้ชาวบ้านนำไปกำจัดผักตบชวาที่เต็มทุ่งเต็มนา  ต่อมาก็จักสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการนำเอาผักตบชะวามาจักสาน  และต้องใช้งบประมาณมากกว่าเดิมหลายเท่าเพราะผักตบชวาในท้องถิ่นหมดแล้ว  ต้องเหมารถไปซื้อมาจากที่อื่น

         ยังดีที่พ่อเฒาแม่แก่ทั้งหลายในชุมชนที่มีชุดความรู้ในการจักสารเป็นทุนเดิม  (บุญเก่า)  จึงทำให้ผลิตภัณฑ์จากผีมือคนเฒ้าคนแก่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ   ชาวต่างชาติเช่น  ฮ่องกง  ญี่ปุ่นสั่งซื้อจนผลิตไม่ทัน  เพราะมีการพัฒนาผลิตภัณตลอดเวลา  เช่นรองเท้าเตะสมุนไพร  และยังมีการจักสารมังกรคู่สะท้านโลก  และอีกมากมายหลายอย่าง

          ณ  ปัจจุบัน  อบต. นอกจากให้การสนับสนุนกลุ่มจักสานแล้วยังให้ทุนกับโรงเรียนในเขตโรงเรียนละ  5000บาทสำหรับเป็นค่าดำเนินการเพื่อจัดทำโครงการนำเด็กนักเรียนมาฝึก  ทั้งชั้นประถมและมัธยม  ซึ่งแสดงว่ามีนักเรียนที่เป็นเยาวชนมาเรียนรู้กับกลุ่มจักสารกับบ้านมะงาเป็นจำนวนมาก  ภายใต้การจัดการของ  อบต.  ยังไม่เห็นการเริ่มต้นจากนักเรียน  ครู  ไม่แน่ใจว่างานนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้หรือการผลิตสินค้า  เพราะเวลาผลิตสินค้าออกมาก็ยังเป็นคนเฒ่าคนแก่อยู่เหมือนเดิมที่ทำ  ไม่เห็นลูกศิษย์ลูกหาทั้งตำบลมานั่งผลิตงานสืบทอดจากผู้เฒ่าผู้แก่เลย

  • ทำให้  อบต.  หยุดคิดว่าเราต้องให้งบโรงเรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมตลอดชาติหรือเปล่า
  • ทำให้ครูเอง  โดยเฉพาะผู้บริหารต้องคิดบทาบาทครูและโรงเรียนควรจะยืนอยู่ตรงใหนและควรทำอะไรบ้าง
  • ผู้เฒ่าผู้แก่  ก็แก่ไปเรื่อย ๆ  องค์ความรู้ที่ทำให้ชุมชนมีงานมีอาชีพมีรายได้  จะยังคงอยู่กับท้องถิ่นตลอดไป  หรือจะจบลงแค่ช่วงชีวติของคนรุ่นนี้เท่านั้น                                                      

                       แล้วเราจะช่วยกันอย่างไร ชุดความรู้ของชาวบ้านจึงจะอยู่ เป็นความรู้ ตัวจริงของ ชาติไทยเราครับ

หมายเลขบันทึก: 71336เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2007 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คงต้องช่วยเคาะกระโหลกกะลา คนที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาในพื้นที่ว่าทำไมไม่มีตา  มีของดีอยู่ข้างตัว มัวเอาหูเอาตาไปทำอะไรจึงไม่ได้ยินไม่เห็น เป็นอันดับแรกค่ะพี่พงษ์

       ลองกระตุ้นทาง อบต.อีกรอบแล้วเชิญไปเปิดหูเปิดตา เปิดสมองที่เม็กดำ อาจมีสัก 1 ใน 100   ก็ยังดี

คงต้องค่อยเป็นค่อยไปครับอาจารย์ศิริพงษ์

ขอให้เราปลูกจิต สร้างใจ แล้วสานฝัน สุดท้ายก็จะเกิดการปฏิบัติ และเรียนรู้ ตลอดไปครับ

แต่ในส่วนที่เหลือของผักตบนั้นอย่าได้ทิ้งเชียวนา เพราะสามารถนำมาเพาะเห็ด และเลี้ยงวัวได้ดีนักแล

ขอบคุณครับที่นำเรื่องดีๆ มาแบ่งปัน

ขอเป็นกำลังใจครับ

อุทัย

  อ. พันดาครับ ผมมองว่า วัฒนธรรมของอบต.ที่น่าจะต้องปรับเปลี่ยน และสำคัญมากคือ  การทำงานอย่างเดียว ไม่ค่อยมีการเรียนรู้   เมื่อไม่เรียนรู้ ก็ใช้ความรู้เก่าที่ไม่ได้พัฒนามาใช้กับงานไหม่ จึงทำไห้ ต้อง เสีย ค่าโง่ ทางนโยบายมากมาย     ทำให้เสียเวลา เสียโอกาส ที่จะพัฒนาไปในทางที่ควรจะเป็น หรือไม่ก็ไปพัฒนา ในทิศทาง ในเรื่องของคนอื่น ไม่ได้พัฒนาตัวเอง องค์กร ชุมชน ท้องถิ่นของตัวเองเลยครับ
ผมเห็นความตั้งใจของคนเฒ่าคนแก่ ที่ทำงานจักสานด้วยความมานะ แม้บางคน นั้งก็ลำบาก บางคนหูตึงฟังคนอื่นพูดไม่ค่อยได้ยิน ก็ยังพยายาม ผลิตผลงานออกมาจนมีความสวยงาม ถูกใจคนต่างชาต  แต่ทำไมไม่ถูกตาคนไทยบ้างเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท