การป้องกันการทำผิด


ถ้าวันนี้มีสัญลักษ์อย่างชัดเจน รถอีกคันคงไม่ต้องโทรตามหาเส้นมาช่วยเสียค่าปรับ (จริงหรือเปล่า)

การไปไหว้พระในระหว่างขึ้นปีใหม่ ได้ถือปฏิบัติมาเป็นประจำหลายปีแล้ว และในปี 2550 ก็เช่นกัน แต่มีปีนี้มีเรื่องบางเรื่องอยากบันทึกไว้

  การไปไหว้พระวัดพระแก้ว เป็นวัดที่พวกเราต้องเดินกันไกลพอสมควร ขึ้นอยู่กับว่าไปจอดรถที่ใด พวกเราก็พยายามหาที่จอดรถให้ใกล้ที่สุด ปีนี้ได้ที่จอดรถด้านกระทรวงกลาโหม (คิดว่าไม่ผิด) และจุดที่จอดค่อนไปทางวัดโพธ์

   ตอนที่จอดรถได้ดูเป็นอย่างดี ไม่เห็นแถบเหลือง ดำ หรือ แดง และเห็นว่ามีรถประเภทเดียวกันจอดอยู่แล้ว จึงคิดว่าน่าจะเป็นที่จอดรถได้ แต่หลังจากไหว้พระแก้วเสร็จ เดินกลับมาที่รถ พบว่ารถถูกล็อก มีใบสั่งอยู่ที่หน้ารถ พร้อม ๆ กันนี้ก็มีรถอีกคันที่เจ้าของรถมาถึงรถเช่นเดียวกัน และก็มีรถจักรยาน 2 - 3 คัน เข้ามาเสนอช่วยเสียค่าปรับให้ โดยให้เจ้าเจ้าของรถจักรยานรับจ้างประมาณ 500 บาท ได้ถามเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันว่าควรทำอย่างไร เพื่อนร่วมชะตากรรมบอกว่าจะไปเสียค่าปรับเอง โดยจะไปเสียค่าปรับที่ สน. พระราชวัง

   ตนเองก็ตัดสินใจไปเสียค่าปรับเอง โดยจ้างจักรยานดังกล่าวทั้งไปและกลับตกลงราคาที่ 50 บาท

   น่าจะจบลงด้วยดี ในส่วนตัวแล้วก็สงสัยเฉย ๆ ว่าไม่เห็นมีสัญลักษณ์อะไร เพราะเหตุใดจึงเสียค่าปรับ แต่สิ่งที่พบทำให้สงสารประเทศไทยจัง

   ในส่วนตัวแล้ว (ในฐานะที่เป็นครู) มีความรู้สึกว่า คนไทยมีวัฒนธรรมและแนวคิดเป็นศรีธนชัย คือรู้รักษาตัวรอด และ ปลิ้นปล่อนไปวัน ๆ และอีกส่วนคือถ้ามีเพื่อนเส้นใหญ่ คงไม่ต้องเสียค่าปรับ

   รถอีกคันที่ได้ด้วย พยายามติดต่อหาผู้มีอำนวจช่วย (ไม่ได้อยู่ดูจนจบว่าเรืองจะเป็นอย่างไร) แต่สะท้อนว่าสังคมไปเป็นแบบนี้เอง

    กลับมาเรื่องของตนเองดีกว่า นายร้อยเวร(น่าจะใช่หรือไม่เปล่าไม่รู้) บอกว่าข้าพเจ้าไปจอดรถในบริเวณที่เค้าให้จอดเพราะรถรับจ้างโดยสารขนาด 15 คนขึ้นไป ต้องยอมรับว่า ณ เวลาที่จอด เราก็พบที่จอดรถแท็กซี่ ซึ่งถามว่าทราบมัย บังเอิญพื้นที่จอดรถ มีสีคาด(น่าจะใช่) และเวณพื้นที่มีไม่มากประมาณ 3 คัน พร้อมทั้งยังเห็นป้ายอย่างชัดเจน เราจึงไม่จอกเพราะรู้ว่าจอดไม่ได้

    แต่ที่จอดดังกล่าวฟุดบาธก็ไม่มีสีอะไรคาด ป้ายต้องยอมรับว่ามองไม่เห็น (มาเห็นเมื่อต้องเสียค่าปรับนั้นแหละ) เมื่อเสียค่าปรับไปแล้ว พร้อมทั้งกลับมาที่รถ ก็เห็นป้ายชัดเจน (แต่เป็นการเดินย้อนกลับ ทำให้เห็นป้าย)  และเริ่มจำได้ว่า เมื่อหลายปีก่อน ที่มาไหว้เพราะรู้สึกจะมีคนห้ามไม่ให้จอดเหมือนกัน โดยคนห้ามบอกว่าเค้าจอดเพราะรถทัวน์ ที่พานักท่องเทียวมาลงและจำได้ว่าเมื่อหลายปีที่ผ่านมารู้สึกไม่พอใจนิด ๆ แต่ก็ลืมสนิท

   อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจบอกมาบันทึกเพื่ออะไร จำได้ว่าในสว่นของ รางวัลคุณภาพ TQA พูดถึงกระบวนการในการตรวจสอบ (หมวด  4 เรื่องข้อมูล) และกระบวนการในการป้องกันข้อผิดพลาด ทำให้มาทบทวนว่า ทำไมตำรวจ ซึ่งมีป้อมยามอยู่ปลายถนน น่าจะมายืนยาม และแจ้งให้ทราบแทนที่จะให้ประชาชนทำผิด และเรียกค่าปรับ

       เพราะเหตุใดจึงไม่ทาสีที่ฟุตบาธให้แตกต่าง และเห็นชัดเจนแทนป้ายซึ่งตั้งไว้ไกล ไม่ครอบคลุ่มในสายตาของคนที่จะมอง

   แทนที่จะให้ประชาชนทำผิด แต่หากระบวนการป้องกัน

   ปีนี้เลยทำบุญเพิ่มมากขึ้น เพราะได้บริจาคอีก 400 บาทสำหรับค่าปรับ หรือ จะบอกว่าเป็นค่าเรียนรู้ที่แพงจัง

     บทเรียนจากวันนี้ทำให้นึกย้อนอีกว่า ระบบหลาย ๆ ยังไม่เอื้อให้คนอยากทำดี เพราะเวลาทำดี กระบวนการกว่าจะได้ความดียากกว่าการหาหนทาง ... งานมันเสร็จเร็ว

     ที่เขียนนี้ไม่ได้เชื่อมโยงระหว่างการทำบุญ กับ การจอดรถผิดที่ แต่หลาย ๆ ระบบสอนเราแบบนี้จริง ๆ เช่น

     นิสิตหลายรุ่นบอกว่าการทำกิจกรรม นอกเหนือจากได้เรียนรู้การทำงาน นิสิตยังบอกว่าได้เรียนรู้เทคนิคการโกง เหมือนกับเหตุการณ์บ้านเมืองที่เป็นอยู่

     มีเรื่องเกิดขึ้นนานมาแล้ว เรื่องการขอผ่อนผันวันเวลาในการทำธุรกรรมบางเรื่อง ปกติมักไม่ให้ผ่อนผัน แต่จะบอกเทคนิคไว้ว่า ให้ลงวันที่ตามกำหนด แต่เวลาทำจริง ๆ วันใหนก็ได้ เพราะสามารถส่งเอกสารล่าช้าได้ระยะเวลาหนึ่ง ดั้งนั้นให้ลงวันที่ย้อนหลังได้ (ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสารทางราชการหรือเปล่าก็ไม่รู้)

     ยังมีอีกมากมาย ที่เขียนมานี่ไม่ได้ตั้งใจจะสอนเทคนิคการโกงให้ แต่รู้สึกสงสารประเทศไทยจัง เราจะส่งเสริมความมีจริยธรรม และ ศิลธรรมได้อย่างไร  ถ้าวันนี้มีสัญลักษ์อย่างชัดเจน รถอีกคันคงไม่ต้องโทรตามหาเส้นมาช่วยเสียค่าปรับ (จริงหรือเปล่า)

  (ผู้อ่านโปรดทราบว่า ไม่มีเจตนาเรื่องของเส้น แต่อยากให้ระบบราชการออกแบบระบบงานที่ป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าสามารถป้องกันได้ เรื่องอื่น ๆก็ไม่ตามมา จริงมัยค่ะ)

คำสำคัญ (Tags): #free#error
หมายเลขบันทึก: 71324เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2007 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท