Emic (เขา) หรือ Etic (เรา) กันแน่ครับ!


ยึดถือมาตลอดในการทำงานชุมชน ไม่เพียงแต่ใช้ในการวิจัยเท่านั้น เพราะหากเราสำนึกอยู่ด้วยตลอดเวลา เราจะไม่เผลอไปครอบงำชุมชน และที่สำคัญชุมชนจะคายความรู้ รวมถึงสิ่งดี ๆ ออกมาได้เยอะมาก หลักเกณฑ์โดยสรุป คือ ให้เรารู้ตัวว่าขณะนี้ ประเด็นนี้เกิดจากมุมมองของใคร และต้องให้เกียรติต่อมุมมองของชุมชนให้มาก ๆ ด้วยเสมอ

     ผมรู้จักคำนี้ครั้งแรกตอนมาเรียน วท.ม. การวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข ที่ มอ. โดยอาจารย์ ดร.สาวิตรี  ลิ้มชัยอรุณเรือง และศ.ดร.เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ซึ่งทั้งสองท่านเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร พูดให้ฟังในวิชา Design & Methodology 2 (เน้นที่การวิจัยเชิงคุณภาพ) จากนั้นก็ยึดถือมาตลอดในการทำงานชุมชน ไม่เพียงแต่ใช้ในการวิจัยเท่านั้น เพราะหากเราสำนึกอยู่ด้วยตลอดเวลา เราจะไม่เผลอไปครอบงำชุมชน และที่สำคัญชุมชนจะคายความรู้ รวมถึงสิ่งดี ๆ ออกมาได้เยอะมาก หลักเกณฑ์โดยสรุป คือ ให้เรารู้ตัวว่าขณะนี้ ประเด็นนี้เกิดจากมุมมองของใคร และต้องให้เกียรติต่อมุมมองของชุมชนให้มาก ๆ ด้วยเสมอ ลองมาดูความหมายย่อ ๆ กันก่อนนะครับ

          Emic มาจากคำว่า Phonemic เป็นมุมมองของชมชนเอง หรือ Native’s Viewpoint ซึ่งสมมติว่ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เขาให้ความหมายอย่างไร อธิบายอย่างไร ก็เอาตามนั้น เอาแบบดิบ ๆ (บริสุทธิ์) ออกมา อย่าเที่ยวใส่อะไรลงไปก่อน คำถามที่ใช้คือ ชุมชนคิดอย่างไร ให้ความหมายว่าอะไร อธิบายเพื่อบอกเล่าเราว่าอย่างไรบ้าง เป็นต้น การที่จะใช้ Emic ให้ได้ผล เราต้องทำใจให้ว่าง (ตามความคิดผมนะ) ไม่เอาประสบการณ์ตัวเองเข้าไปผูกพันเสียก่อนในขั้นต้น

          Etic มาจากคำว่า Phonetic เป็นมุมมองของเราเอง หรือ Observer’s Viewpoint ซึ่งสมมติว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับข้างต้น แล้วเราเข้าใจว่าอย่างไร จะอธิบายได้ว่าอย่างไร แต่อย่าเพิ่งไปตีกลบสิ่งที่ชุมชนคิด (Emic) เสียก่อนในทันที เราค่อย ๆ เอามาเปรียบเทียบกับที่อื่น เพื่อหาความเหมือน ความต่าง และความสอดคล้องสัมพันธ์กันที่หลัง การใช้ Etic ให้ได้ผลจะต่างกันกับ Emic ตรงที่เราต้องรอบรู้ และรู้อย่างเป็นองค์รวม ฉะนั้นจึงต้องทบทวนองค์ความรู้ให้มาก ๆ และมีวิธีคิดเป็นเชิงระบบด้วย หรือดูวิธีคิดเชิงสร้างสรรค์ของ นพ.พิเชษฐ์ฯ เพิ่มเติมที่  4 Creative Thinking (ขออนุญาตหมอเชื่อมโยงถึงด้วยครับ เป็น Knowlede Sharing แบ่งปันการได้รู้กันดีครับ)

     การนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอ ให้ติดอยู่ในวิญญาณ จะทำให้ได้ประโยชน์ ซึ่งหากเป็นไทยพุทธจะเรียกว่าได้อนิสงค์ ดังนี้ครับ หรือใครพิจารณาว่ามีอีกเพิ่มเติมได้นะครับ

          1. ช่วยให้เราเข้าถึงชุมชน เข้าถึงคน และเข้าถึงข้อมูล ได้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะเราจะเหมือนเป็นสมาชิกของชุมชนจริง ๆ เมื่อเราใช้ Emic หรือจะพูดว่า Emic ทำให้เขาไว้ใจเรา จึงทำให้ดีต่อไปอีกคือ เราสามารถตรวจสอบความรูของเราเองได้ถูกต้อง แม่นยํา และชัดเจนขึ้น เพราะเข้าใจในความคิด แบบแผน พฤติกรรมของชุมชน และข้อมูลที่ได้จะมีมากพอที่จะนํามาวางหลักเกณฑทั่วไปเพื่อจัดระเบียบ ข้อมูลตามแนวคิดและทฤษฎีของนักวิจัยที่มีมาก่อนที่จะเข้าสูชุมชน

          2. จะเป็นประโยชนต่อการวิเคราะห์ สังเคราะห์ในภายหลัง ตามแนวคิด หรือวัตถุประสงค์ของเราเองตามที่ตั้งไว้ เมื่อเราได้รับขอมูลมาโดยวิธี Etic และเมื่อเรามองว่าชุมชนเป็น “สิ่งมีชีวิต ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ” เราจึงสามารถเชื่อมโยงความคิดของเรา (Etic) กับความคิดของสมาชิกในชุมชน (Emic) ใหเป็นเรื่องที่เกี่ยวของกัน เป็นเรื่องเดียวกัน ประโยชน์ และองค์ความรู้ทั้งหมดก็จะได้กับชุมชนและตัวเราเอง (win-win)

     น่าจะมีประโยชน์หรือ อนิสงค์มากกว่านี้นะ นึกได้แค่นี้ก่อนครับ

หมายเลขบันทึก: 7118เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2005 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นักวิชาการ นักวิจัย ผู้รู้ทั้งหลาย หรือแม้แต่คนทั่วไปในสังคม มักไม่เข้าใจคำสองคำนี้ จึงมักพลาดพลั้ง อยู่บ่อยครั้งในการเอาตัวตนของเราไปตัดสิน...ตัวตนของคนอื่นว่าดีไม่ดี ควรไม่ควร เช่น เอาความคิด-ความเชื่อ วัฒนธรรม มุมมองของตนไปตัดสิน ความคิด-ความเชื่อ วัฒนธรรมของอีกกลุ่มคนหนึ่ง...กรณีตัวอย่างในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้..ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งในเรื่องของ Etic และ Emic
     ขอบคุณ Dr.Ka-poom ที่เข้ามาติดตามและคิดว่า Get เอาไปได้ ขอชื่นชม อยากจะบอกว่าจำเป็นนะครับที่จะต้องใช้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท