การฝึกเด็กให้แกร่งและพร้อมที่จะเรียนรู้: เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ไปพร้อมๆกัน


การเรียนส่วนใหญ่เน้นการเรียนกับธรรมชาตินอกห้องเรียนอยู่กับธรรมชาติ และชีวิตจริงที่ทำให้เด็กกล้าแสดงออก

 ผมรู้สึกตื่นเต้นมากเมื่อผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนเม็กดำ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๐ ที่ผมได้เห็นความกล้าคิดกล้าทำของครูกลุ่ม หมูไม่กลัวน้ำร้อน ในโรงเรียนที่จัดกระบวนการเรียนรู้แบบเรียนเองรู้เอง

ครูเป็นผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง การเรียนส่วนใหญ่เน้นการเรียนกับธรรมชาตินอกห้องเรียนอยู่กับธรรมชาติ และชีวิตจริงที่ทำให้เด็กกล้าแสดงออก ดูผิวเผินแล้วอาจคิดไปว่าเด็กแก่แดด ที่กล้ามานำเสนอเล่าเรื่องที่ตัวเองเคยเรียนรู้มาอย่างไม่กลัวผิด 

ผมคิดว่านี่แหละคือต้นแบบของการเรียนรู้ที่แท้จริงที่เริ่มต้นการค้นหาด้วยการ ไม่กลัวผิดที่แม้จะพลาดบ้างก็เป็นการเรียนรู้อยู่ดี แบบลองไปเรียนไป อย่างเป็นKMธรรมชาติ 

ผมไปยืนสังเกตการณ์ด้วยความตื่นเต้น และอิจฉาว่าทำไมในวัยเด็ก ผมไม่มีโอกาสแบบนี้บ้าง  

แต่พอพิจารณากลับไปหาวัยเด็กจริงๆ ผมก็ยังคิดว่า

ด้วยความที่ผมเป็นเด็กเลี้ยงควาย อยู่กับไร่กับนา มาไม่น้อยกว่า ๗ ปีของผม ก็ได้หล่อหลอมประสบการณ์และวิธีคิดของผมให้เข้าใจวิถีและความยากลำบากของการเป็นชาวนา จนทำให้ผมมาเรียนวิชาเกษตรกรรมแบบเข้าใจชาวบ้านมากกว่าคนอื่นๆที่เรียนและทำงานแบบเดียวกับผม 

พอกลับมาดูเด็กนักเรียนที่เม็กดำจึงได้เข้าใจอย่างชัดเจนมากขึ้น ทั้งจากประสบการณ์ตรงของชีวิตผม และประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยว่า

ทำไมนักศึกษาจึงไม่ค่อยเข้าใจชาวบ้าน ทั้งๆที่เป็นลูกหลานเกษตรกร 

วันนี้ผมได้คำตอบที่ชัดขึ้นมาอีกระดับหนึ่งที่ว่า

เขาเหล่านั้นอาจไม่มีโอกาสได้เรียนแบบที่นักเรียนที่เม็กดำได้สัมผัส

จนเป็นคนที่ กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก ในสิ่งที่ตนคิด เรียนรู้ และไต่ตรองมาอย่างดีแล้ว 

แม้แต่ผมถามเล่นๆในกลางที่ประชุมว่า เม็กดำ แปลว่าอะไร 

แทนที่ ครู หรือ ผู้เฒ่า จะเป็นผู้ตอบ แต่ปรากฏว่าเด็กนักเรียนได้ยกมือขึ้นตอบเองอย่างฉาดฉานมั่นใจ

ทำให้ผมถึงกับทึ่งในความเก่งกล้า จนฝันกลางวันไปว่า ถ้าเด็กไทยเป็นอย่างนี้ทั้งประเทศ ประเทศไทยคงไม่อับจนแน่นอน 

ผมจึงคิดว่าระบบการเรียนรู้ของนักเรียนที่เม็กดำทีดำเนินการภายใต้การทำงานสนับสนุนที่ทรงพลังของ กองพลเม็กดำ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี และน่าจะนำไปพัฒนาต่อยอดขยายผลเข้าสู่ระบบการศึกษาของชาติได้  

เพียงแต่ต้องปรับกระบวนการคิดของผู้บริหารการศึกษาคนอื่นๆ ให้กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง ที่จะยังประโยชน์ให้กับระบบการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการจัดการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดชีวิต

ทั้งในระดับปัจเจก (Best practice) ระดับองค์กร (LO) ระดับชุมชน (COP) และ ระดับนโยบาย ได้เป็นอย่างดี เมื่อมีโอกาส ผมจะนำความก้าวหน้าของเรื่องนี้มานำเสนออีกครั้งหนึ่ง แต่กลุ่มเม็กดำเองก็คงค่อยๆปล่อยคลื่นความรู้เข้าสู่กระแสการจัดการความรู้ ใน gotoknow อย่างไม่ขาดสายแน่นอน 

 อีกไม่นานเกินรอหรอกครับ

หมายเลขบันทึก: 71116เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 04:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
   ขอบคุณครับอาจารย์ และขอขอบคุณแทนกลุ่มผู้บริหาร และว่าที่ผู้บริหารโรงเรียนกว่า 60 ชีวิตด้วย
    ผมมีส่วนร่วมในโครงการฝึกอบรมหลักสูตร 1 ปี โดยเป็นผู้ดูแลชุดวิชา การจักการนวัตกรรมและสารสนเทศ  จะหาพันธมิตรจากกลุ่มนี้ให้อาจารย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ด้วยการให้ท่านเหล่านั้นได้มาอ่าน มาสัมผัสเรื่องราว จาก Blog ของอาจารย์ และท่าน เม็กดำ ให้มากยิ่งขึ้นครับ   อย่างน้อยตอนนี้เริ่มเห็นชัดขึ้น 1 รายแล้วครับ ท่านใช้นามแฝง " รัตนญาณ" ครับ
    ผมเองศรัทธาและซาบซึ้งกับกระบวนการเรียนรู้แบบที่อาจารย์กล่าวถึงมานานแล้ว  มันคือทางออกที่ชัดเจน ที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างกว้าวขวางโดยด่วนได้แล้ว .. พอได้แล้วกับการเรียนรู้ ที่ทั้งคนสอนคนเรียน ต่างทำไปโดยไม่รู้ว่า จะไปหนกัน  พอเสียทีกับการเรียนรู้อย่างไร้เป้าหมาย และห่างไกลชีวิตจริง  ไม่รู้จะกลัวอะไรกันนักหนา 

ขอบคุณครับ

ผมมีกำลังใจมากๆเลยที่งานที่ผมทำมีโอกาสต่อยอด และอาจจะส่งผลในทางปฏิบัติได้ตามที่ฝันไว้ จริงๆ

       ขอบพระคุณมากครับ ที่นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท