กลับมาเรียนต่ออีกครั้ง (ตอนที่ 3)


บางคนก็ยังไม่ได้อยากออกจากระบบราชการนะครับ อยากทำงานในต่างจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆเมืองหลวง แต่ก็มีความสนใจอยากเรียนต่อ แต่เขาไม่สามารถหาทุน หรือมีทุนให้เขาได้จริงๆ ก็ จำใจ ต้องลาออกจากระบบราชการครับ เราว่าตรงนี้ยังไม่เห็นมีใครมาสนใจเลยครับ ว่ามีแพทย์ลาออกด้วยสาเหตุนี้ปีละกี่คน ที่บอกว่าแพทย์ขาดแคลน เราว่าจริงๆ มันไม่ได้ขาดแคลนรุนแรงเหมือนที่เป็นอยู่อย่างนี้หรอก เพียงแต่ว่าบางครั้ง ด้วยความเป็นระบบระเบียบแบบที่เป็นอยู่นี้ ทำให้หลายคนอยู่ในระบบต่อไปอีกไม่ได้ ทั้งๆที่ไม่ได้อยากออกมา
พอใช้ทุนไปได้ตามเกณฑ์ที่จะกลับมาเรียนต่อได้
เช่น อยากเรียนดมยา, ศัลย์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, จักษุฯ ใช้ทุน 2 ปี แล้วก็มีความสามารถหาทุนได้ ก็จะสามารถมีสิทธิ์กลับมาสมัครเรียนต่อได้

จะขอแบ่งประเภทของแพทย์ที่กลับมาเรียนต่อได้เป็น 2 แบบนะครับ คือ
1. ยังอยู่ในระบบราชการ
ถ้ายังอยากเป็นข้าราชการอยู่ อยากอยู่ในระบบอยู่ ก็มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าตำแหน่งข้าราชการสุดท้ายก่อนกลับมาเรียนทุกประการครับ
ถ้าอยากอยู่ในประเภทนี้อยู่ ก็พยายาม "หาทุน" ครับ คำว่า หาทุน ไม่ใช่การทำงานหาเงินกลับมาเรียน แต่เป็นการหาต้นสังกัด ส่งเรากลับมาเรียนต่อ
การหาทุนต้นสังกัด จะประกาศทุนที่มีในแต่ละรพ.กันประมาณช่วงปลายเดือนส.ค. ถึงก.ย. ของทุกปี เดี๋ยวนี้ การสมัครจะให้ลงสมัครทาง internet โดยสามารถติดตามความคืบหน้าได้จาก website ของกระทรวงสาธารณสุข http://www.moph.go.th (อันนี้เฉพาะทุนของรพ.ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข)
ตรงนี้เป็นประเด็นแห่งความยากลำบากด่านแรกเลยนะครับ คือการหาทุนนี่แหละ
เนื่องจาก ทุนในสาขาที่เราอยากเรียนต่อ หลายครั้ง ไม่ได้มีเปิดให้ในรพ.ที่เราต้องการไปอยู่ เช่นเราอยากเรียนดมยา และอยากไปทำงานที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่เผอิญว่า ปีที่เราจะต้องหาทุนนั้น รพ.ในจ.สมุทรสาคร ไม่เปิดทุนดมยาเลย อย่างนี้เราก็ไม่สามารถไปเรียกร้องอะไรได้นะครับ ไม่สามารถเดินเข้าไปในกระทรวงฯ แล้วไปยื่นคำร้องขอให้จังหวัดนี้เปิดทุนที่เราต้องการเรียนได้
หรือจังหวัดที่เราอยากจะอยู่มีทุนที่เราสนใจอยู่ แต่มีการแข่งขันอย่างสูง อย่างปีที่เราจะกลับมาเรียนต่อ จังหวัดสมุทรสาครมีทุนที่เราสนใจ แต่ว่ามีคนมาลงชื่อร่วมขอทุนไปแล้ว 10 คน แต่มีแค่ทุนเดียว อีก 9 คนก็ต้องไม่มีทุนครับ เพราะจะเปิดรับสมัครและปิดพร้อมกันทั่วประเทศ คือสามารถเลือกได้ที่เดียวครับ

บางคนก็ยังไม่ได้อยากออกจากระบบราชการนะครับ อยากทำงานในต่างจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆเมืองหลวง แต่ก็มีความสนใจอยากเรียนต่อ แต่เขาไม่สามารถหาทุน หรือมีทุนให้เขาได้จริงๆ ก็ จำใจ ต้องลาออกจากระบบราชการครับ เราว่าตรงนี้ยังไม่เห็นมีใครมาสนใจเลยครับ ว่ามีแพทย์ลาออกด้วยสาเหตุนี้ปีละกี่คน ที่บอกว่าแพทย์ขาดแคลน เราว่าจริงๆ มันไม่ได้ขาดแคลนรุนแรงเหมือนที่เป็นอยู่อย่างนี้หรอก เพียงแต่ว่าบางครั้งด้วยความเป็นระบบระเบียบแบบที่เป็นอยู่นี้ ทำให้หลายคนอยู่ในระบบต่อไปอีกไม่ได้ ทั้งๆที่ไม่ได้อยากออกมา
เรามองว่า จริงๆแล้วแพทย์ไม่ได้ขาดแคลนมากนักหรอกครับ ตอนนี้มีโรงเรียนแพทย์แล้ว 13 แห่ง และเปิดมากขึ้นทุกๆปี มีแพทย์จบใหม่ปีหนึ่งเราว่าน่าจะใกล้ๆ 2000 คนแล้วนะครับ กระจายออกทั่วประเทศไปได้ 2-3 ปี แพทย์จบใหม่เหล่านี้ น่าจะออกจากระบบราชการไป น่าจะเกินครึ่งครับ หลายๆ คนอยู่ไม่ได้ หลายๆคนไม่อยากอยู่ แต่เราว่ามีอีกหลายคนที่ ไม่ได้อยากไปไหน แต่ "เขาไม่เอื้อให้เราอยู่ต่ออีกแล้ว"

ก็จะมีทุนต้นสังกัด สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น ถ้าใช้ทุนเป็นหมอทหารเรือ ก็สามารถติดต่อสอบถามถึงทุนต้นสังกัด กระทรวงกลาโหม ของกองทัพเรือได้ หรือก็จะมีโรงเรียนแพทย์บางแห่ง เปิดรับสมัครในตำแหน่งอาจารย์ ก็จะรับเป็นต้นสังกัด ส่งแพทย์มาเรียนต่อ ก็จะสังกัดตามโรงเรียนแพทย์นั้นๆ
หรืออีกทางก็จะมีทุนของรพ.สังกัดกรุงเทพมหานคร อันนี้เราไม่ค่อยมีรายละเอียดมากนักครับ
ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะสังกัดกระทรวงอะไร การกลับมาเรียน ก็จะถือว่าเรามีต้นสังกัด เรียนสั้นๆว่า "มีทุน" เงินเดือนที่ได้ ก็จะมาจากต้นสังกัด ที่ส่งมาเรียน โรงเรียนแพทย์ไม่ต้องจ่ายเงินเดือนให้
และเมื่อเรียนจบหลักสูตรแพทย์เฉพาะทางแล้ว ก็จะต้องทำตามสัญญาที่ผูกพันไว้เมื่อรับทุนมาเรียน ก็คือต้องกลับไปทำงานให้หน่วยงานต้นสังกัดนั่นเอง (ไม่อย่างนั้น เขาจะส่งเรามาเรียนทำไม) ก็แล้วแต่สัญญาว่า ต้อง "ใช้ทุน" กี่ปี ส่วนใหญ่จะนับเป็นจำนวนเท่าของจำนวนปีที่มาเรียนต่อ เช่น มาเรียนดมยา 3 ปี สัญญาบอกว่าใช้ทุน 2 เท่าของเวลาที่เรียน ก็คือต้องกลับไปทำงานให้หน่วยงานต้นสังกัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ปี
ตรงไปตรงมาครับ

2. ไม่อยู่ในระบบราชการ
อันนี้มีศัพท์เทคนิค เรียกว่า "Free training" ไม่ใช่ train ฟรีๆ ไม่ได้เงินเดือนนะครับ แต่ว่ามาโดยไม่มีหน่วยงานต้นสังกัดส่งกลับมาเรียนต่อ คนที่จ่ายเงินเดือนในช่วงที่มาเรียน คือ โรงเรียนแพทย์ที่รับไว้ training ก็แล้วแต่ว่าเขาจะให้เท่าไรน่ะครับ ก็ไม่ค่อยเหมือนกับเกณฑ์ของข้าราชการนัก ก็ต้องเรียกว่า ใช้แบบเดือนชนเดือนน่ะครับ
แล้วก็คือ ต้องลาออกจากระบบราชการ แล้วเรียบร้อยครับ
ถ้าเรียนต่อเฉพาะทางจบแล้ว ก็เป็นไทแก่ตัวครับ ไม่มีสัญญาผูกมัดกับใคร บางคนก็มองว่าเป็นความอิสระ ที่ไม่ต้องกลับไปรพ.ในจังหวัดที่รับทุนมา แต่บางคนก็มองกลับว่า เป็นความลำบากที่ไม่รู้จุดหมายปลายทางของตัวเองว่า เรียนจบแล้วจะไปทำงานที่ไหนต่อไป ต้องไปยื่นใบสมัครหางานทำกันไป
ก็แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละภาควิชา หรือแต่ละโรงเรียนแพทย์นะครับ ว่าจะรับแพทย์ที่มีทุนต้นสังกัดกี่คน หรือสามารถที่จะรับ free training ได้กี่คน

ตอนนี้ก็มาถึงการหาทุน หรือการไม่ได้ทุน ไม่ได้ขอทุน ไม่อยากได้ทุนกลับมาเรียนต่อ

คราวหน้าจะมาเล่าต่อนะครับ
...
หมายเลขบันทึก: 71113เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 02:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความเป็นประโยชน์มากค่ะ ตอนนี้เรียนอยู่ ปี 5 ไม่รู้เรื่องราวการเรียนต่อหลังใช้ทุน มาเจอบทความนี้ กระจ่ายเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท