ชุดความรู้ที่นำมาใช้ในงานพัฒนาของภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช


สรุปก็คือว่าในแต่ละชุดความรู้ใหญ่ก็จะมีชุดความรู้ย่อย ในเครื่องมือชุดใหญ่ก็จะมีเครื่องมือชุดย่อยซ้อนๆกันอยู่

การจัดการความรู้ให้งานบรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยชุดของความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นมาให้ได้ใช้จัดการ

การจัดการความรู้ของหน่วยประสานความร่วมมือพัฒนาภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชใช้ชุดความรู้ใดหรือเครื่องมือใด ในการทำงานไปสู่เป้าหมาย นี่คือคำถามของ ดร.แสวง รวยสูงเนิน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผมได้ตอบไปแล้วในบันทึกนี้และในบันทึกนี้  ซึ่งผมก็ไม่มั่นใจว่าจะตอบคำถามได้ตรงตามที่อาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน ท่านต้องการหรือเปล่า

เมื่อวานนี้ 4 ม.ค. 50 คณะทำงานคณะย่อยของหน่วยประสานความร่วมมือพัฒนาภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประชุมกันที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดทำรายละเอียดการปฏิบัติงาน ผมจึงได้นำคำถามที่ อ.ดร.แสวง รวยสูงเนิน ถามผม ไปเป็นประเด็นพูดคุยในที่ประชุม ก่อนที่ที่ประชุมจะได้พิจารณาวาระประชุมตามปกติ ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากที่ประชุมมาก สังเกตจากการที่แต่ละคนได้ถกเถียงกัน แรกๆก็ งงๆ กับนิยามหรือความหมายของคำว่าชุดความรู้ว่าคืออะไรกันแน่ ส่วนคำว่าเครื่องมือดูเหมือนที่ประชุมจะไม่สงสัยในข้อนี้

ในที่สุดที่ประชุมได้ลงมือไล่มาตั้งแต่เป้าหมายการพัฒนาของภาคประชาชนคือชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนอินทรีย์ ชุมชนพึ่งตนเอง เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ ซึ่งมีหลายคุณลักษณะปนๆกันอยู่ ชุดความรู้ที่นำมาใช้จัดการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวที่ประชุมจึงสรุปว่ามีหลายอย่างที่ปนๆผสมผสานหรือบูรณาการกันอยู่เช่นกัน ซึ่งชุดความรู้ที่ภาคประชาชนใช้ก็อย่างเดียวกันกับชุดความรู้ของชุมชนไม้เรียง ชุดความรู้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนำมาใช้ในโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ซึ่งหลักๆก็ได้แก่ ชุดความรู้เรื่องกระบวนการแผนชุมชนพึ่งตนเอง เรียนรู้ตั้งแต่การสำรวจข้อมูลครัวเรือน การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง การนำแผนไปใช้ การปรับปรุงแผน การติดตามประเมินผล การทำเวทีชุมชน การค้นหาพื้นที่ศักยภาพ เทคนิคการจัดการความรู้ต่างๆของ สคส.ฯลฯ 

การนำชุดความนี้มาทำแบบเข้มเข้นในภาคประชาชนก็เนื่องจากว่าภาคประชาชนมีความยืดหยุ่นมากกว่า มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีกว่า เสริมจุดอ่อนของภาคราชการได้ ว่าไปแล้วทั้งภาคราชการและภาคประชาชนก็เป้าหมายเดียวกัน เสริมการทำงานซึ่งกันและกันไปสู่เป้าหมายชุมชนอินทรีย์

สำหรับชุดความรู้ในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเด็นการพัฒนาก็มีมากน้อยแตกต่างกันไป แล้วแต่พื้นที่หรือประเด็นการพัฒนานั้นๆ จะได้วิเคราะห์และเห็นสมควรว่าชุดความรู้ใด เครื่องมือใด เหมาะสมที่จะหยิบยกมาใช้สำหรับการเคลื่อนงานในพื้นที่หรือในประเด็นนั้นๆได้ดีเหมาะสมกับทุนเดิม บริบทของชุมชน หรือความชำนาญหรือสมรรถนะของคนทำงานที่มีอยู่ ยากที่จะนำเสนอได้ คงจะเป็นหนังยาว ที่จะต้องคอยติดตาม

สรุปก็คือว่าในแต่ละชุดความรู้ใหญ่ก็จะมีชุดความรู้ย่อย ในเครื่องมือชุดใหญ่ก็จะมีเครื่องมือชุดย่อยซ้อนๆกันอยู่

ที่ประชุมเราพูดคุยกันอย่างนี้ ผมจึงนำมาแลกเปลี่ยนครับ

หมายเลขบันทึก: 71082เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ใช่เลยครับครูนง

ความรู้ที่ใช้เป็นและมีหลายระดับมากครับ

เช่นการปลูกพืชก็จะมี

  • ระดับกว้างๆทั่วๆไป
  • ระดับเฉพาะที่ เฉพาะพืช
  • ระดับกิจกรรมใหญ่ เช่นการเตรียมดิน
  • และระดับกิจกรรมย่อย เช่นการไถ ไม่ไถ
  • และย่อยลงไปถึงตัวอุปกรณ์ เคื่องมือที่ใช้
  • และย่อยลงไปถึงเทคนิคการใช้ ในสถานการณ์ต่างๆ
  • แม้แต่เทคนิคก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย

เรื่องชุดความรู้นี่แจงยังไงก็หาที่จบยากครับ

ต้องทำเองจึงจะรู้ และพอจะหาที่จบได้

ถ้าคุยกันเฉพาะหลักการไม่มีวันจบหรอกครับ

ขอให้โชคดีครับ

อ.ดร.แสวง ครับ

           ชัดเจนดีจังเลยครับที่ให้ตัวอย่างไว้ ทำให้เห็นเครื่องมือ ของเครื่องมือ ของเครื่องมือ  ...... ทำให้เห็นชุดความรู้ ของชุดความรู้ ของชุดความรู้ ......ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท