การสื่อสารกับผู้ป่วยด้านการวินิจฉัยและการรักษา


การสื่อสารที่ได้ผลดีคือการสื่อสารสองทาง

 จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มองว่าตนเองได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการรักษาความเจ็บป่วยของตนน้อยไป มากไป หรือสับสนมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ป่วยที่มองว่าตนเองได้รับทราบข้อมูลตามที่ตนเองต้องการ    

 
วัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
1.      ลดความกังวลใจ
2.      เพิ่มความรู้ความเข้าใจความเจ็บป่วย
3.      เพิ่มความร่วมมือในการรักษา
4.      เพิ่มการสนใจดูแลตนเอง
5.      มีการปรับตัวที่เหมาสม

แต่เดิมมักคิดกันว่าผู้ป่วยอาจรับไม่ได้หากทราบว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งจึงทำให้แพทย์และญาติปกปิดผู้ป่วย บอกแค่บางส่วน หรือเลื่อนการบอกออกไป  ในช่วงหลังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่มีการประกาศสิทธิผู้ป่วยโดยแพทยสภา ทำให้แพทย์ผู้รักษาคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยในการรับรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยของตนเองมากขึ้น

ข้อดีของการให้ผู้ป่วยทราบความเป็นจริงได้แก่ ผู้ป่วยจะได้รู้อนาคตของตนเอง ไม่วิตกกังวลกับสิ่งที่ไม่รู้ ไม่แน่ใจ  ผู้ป่วยมีเวลาจัดการในเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย และเตรียมพร้อมกับชีวิตในระยะท้าย ทำให้ไม่เกิดความว้าวุ่นใจมีแต่สิ่งต้องเป็นห่วงเมื่อมาทราบในเมื่อเวลาเหลือไม่มากแล้ว  นอกจากนี้ การบอกผู้ป่วยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่างๆ ออกมา และได้พูดคุยในเรื่องต่างๆ ที่อยากจะพูดได้ 

ตัวผู้ป่วยเองถึงแม้จะไม่ได้รับการบอกเล่าจากที่ไหน แต่ก็จะทราบได้เองในที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสภาพร่างกาย และท่าทีของผู้อื่นที่มีต่อตน ถ้าผู้ป่วยทราบได้เอง ความเชื่อมั่นที่มีต่อแพทย์จะลดลง เพราะเห็นว่าแพทย์ไม่ยอมบอกความจริงกับตนจากการศึกษาในเรื่องนี้ และจากประสบการณ์ของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเผชิญกับความจริงและปรับต้วได้เมื่อรู้ว่าตนกำลังจะเสียชีวิต

         การสื่อสารที่ได้ผลดีคือการสื่อสารสองทาง ได้แก่ แพทย์เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม แสดงความคิดเห็น และหากเป็นไปได้ มีโอกาสร่วมในการตัดสินใจเลือกการรักษาสำหรับตนเอง การศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่รู้สึกว่าตนเองมีส่วนในการดูแลรักษาตนเองจะทราบข้อมูลที่ตนเองต้องการมากกว่า จดจำข้อมูลที่รับรู้ได้ดีกว่า และมีความพึงพอใจกับการรักษามากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีส่วนร่วม  

หมายเลขบันทึก: 71050เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีใจที่มีบุคลากรทางการแพทย์มาร่วม share ใน gotoknow เพิ่มอีก 1 คนค่ะ 

ขอบคุณครับ

ขอเพิ่มลิงค์ไปยังข้อมูลที่น่าสนใจที่

1. Thai Physicians’ Attitudes Towards Truth Telling

2.Thai Patients' Perspectives About Truth Telling

ข้อมูลแม้จะเก่า แต่ก็น่าสนใจมากครับ

ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านนี้หลอกค่ะ แต่อยากแนะนำให้อาจารย์ได้รู้จักกับ อ.เต็มศักดิ์  พึ่งรัศมี ที่นี่ ค่ะ เผื่อจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท