เบาหวาน กับ ไต


1 ใน 3 ของคนเป็นเบาหวาน จะเกิดภาวะไตวายแทรกซ้อน

            ในเดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยเบาหวานที่เราติดตามเยี่ยมบ้านเสียชีวิตจากไตวาย 2 ราย

 ความเสี่ยงของ..โรคไต..จาก..เบาหวาน 

           สหพันธ์เบาหวานนานาชาติพบว่า คนที่ป่วยเป็นเบาหวานอย่างน้อย 50 % จะมีโปรตีนคือ อัลบูมิน หรือ ไข่ขาว ออกมาทางปัสสาวะ และ 1 ใน 3 ของจำนวน 50 % นี้ จะพัฒนาไปสู่โรคไตและโรคมักจะดำเนินต่อไปจนเข้าสู่ ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย             

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจำเป็นต้องรักษาชีวิตไว้ โดยรับการรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยไตเทียม หรือล้างช่องท้อง หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาอย่างมาก

เบาหวาน มีผลต่อ ไต อย่างไร           

ไต เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาปริมาณน้ำเกลือแร่ และกรด-ด่าง ภายในร่างกายให้สมดุลย์ช่วยควบคุมความดันโลหิต สร้างสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดและฮอร์โมน เมื่อเป็นเบาหวานระยะนานๆ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต เช่น...

·                     กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมักมีความผิดปกติในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ทำใให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อย เมื่อถ่ายปัสสาวะจะเจ็บหรือต้องเบ่งแรง ปัสสาวะบ่อยและออกทีละน้อย เมื่อตรวจปัสสาวะจะพบว่ามีเม็ดเลือดขาว และแบคทีเรีย

·                     อาการบวม เกิดขึ้นเมื่อไตทำงานน้อยกว่าปกติ หรือเกิดจากร่างกายสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะมาก ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดต่ำลง ส่งผลให้เกิดอาการบวม

·                     ไตอักเสบจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง พบว่ามีเม็ดเลือดขาว และแบคทีเรียในปัสสาวะ

·                     ไตวายเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อไต และเลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้ปัสสาวะออกน้อย และมีของเสียคั่งในเลือด

·                     ไตวายเรื้อรัง เมื่อเป็นเบาหวานนาน จนทำให้หลอดเลือดและเนื้อไตเสื่อมสภาพ ไตทำงานน้อยลงมากและไม่สามารถรักษาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ การทำงานของไตจะเสียไป ผู้ป่วยจะมีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

คนที่เสี่ยง..ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทาง ไต จาก เบาหวาน

 v      มีประวัติเบาหวานมานานกว่า 10 ปีv      ประวัติครอบครัวมีภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวาน

v      ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

v      ตรวจพบจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวานv      ตรวจพบโปรตีน หรือ ไข่ขาว ทางปัสสาวะ

ป้องกัน ดีกว่ารักษา           

เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไตวายจากเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต ให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยการ

Ø       มีความตระหนักในภัยของเบาหวาน

Ø       ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ และปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด

Ø       ควบคุมและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต โดยต้องไม่เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท และต้องตรวจวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ไปพบแพทย์

Ø       ติดตามและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ภาวะไตวาย จอประสาทตาเสื่อม การเป็นแผลที่เท้า การเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด

Ø       ตรวจหาโปรตีน หรือไข่ขาวทางปัสสาวะ ปีละ 1 ครั้ง

Ø       บริโภคอาหารเพื่อการมีสุขภาพที่ดี โดยรับประทานอาหารให้เหมาะสมทั้งชนิดและปริมาณ ลดอาหารไขมันและอาหารประเภทแป้ง

Ø       งดบุหรี่ และเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

Ø       ออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลิน ช่วยการไหลเวียนของโลหิต ช่วยคลายเครียด ทำให้นอนหลับ

Ø       หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อไต

คำสำคัญ (Tags): #ไตวาย#เบาหวาน#hhc
หมายเลขบันทึก: 70985เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คนไข้ ไตวาย แพทย์แนะนำให้ล้างไต

คนไข้ไม่ได้ล้างตามที่แนะนำ  แต่ กินใบไม้อะไรบ้างอย่าง

พอไปตรวจตามนัด แพทย์บอกว่า การทำงานของไต ดีขึ้น แล้ว ไม่ต้องล้างไต

ใบไม้นี้  บรรพบุรุษคนไทย กินเล่นเป็นอาหาร กับส้มตำ

ทายได้มั้ย กินใบไม้อะไร

การวิจัยทำนองนี้  คนไทยไม่รู้   นักวิจัยตีพิมพ์บทความ วารสาร ต่างประเทศ ได้เลื่อนซี   คนทั่วโลกรู้  คนไทยไม่ค่อยรู้  ไม่ค่อยไปค้น ไปหา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท