กว่า……. จะเรียนรู้ร่วมกันได้


การก้าวใหม่ในมิติที่ผสมผสานระหว่างการทำงานในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมากับก้าวที่จะเป็นไปในอนาคต
             

  

ต้นเดือนกุมภาพันธ์  .. 2549    ผมได้รับคำสั่งให้มาดำรตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเม็กดำ   พร้อมกับ สำนักงานกองทุนสนั[สนุนการวิจัย  สำนักงานภาคได้ให้ความไว้วางใจในการทำหน้าที่ผู้ประสานงานชุดโครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น   จังหวัดมหาสารคาม   ซึ่งผมตกลงใจรับภารกิจทั้งสองนี้ด้วยความเต็มใจและรู้ทันทีว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทายพอสมควร
      ความรับผิดชอบในหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนควบคู่กับการทำงานในฐานะผู้ประสานงานชุดโครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  ทำให้ผมต้องถามตัวเองว่าจะเรียนรู้อย่างไร  มันเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนตัวเล็กๆอย่างผม   ด้วยภารกิจเช่นนี้ผมคิดได้ว่าเราต้องหา วิชาดีๆกับครูดีๆ    และต้องเริ่มเรียนรู้ทันที ที่นี่เดี๋ยวนี้  ดังนั้นวิชาดีที่ผมมีความเชื่อเบื้องต้นว่าจะเป็นสิ่งเสริมพลังการเรียนรู้คือ การจัดการความรู้ จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาศาสตร์ด้านการจัดกาiความรู้ ในเชิงลึก จริงจังแบบหวังผล  ได้เริ่มขึ้นที่….เม็กดำ
     เวทีเสวนาทางวิชาการ เรื่อง  การศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น : ฐานคิด ทิศทาง สู่การปรับกระบวนการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน      เมื่อ  วันที่  4  กุมภาพันธ์  2549     โรงเรียนบ้านเม็กดำ    จึงเป็นเวทีใหญ่ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ   นักบริหารการศึกษา   นักพัฒนา  นักเรียน   นักศึกษา   ผู้นำชุมชน ประชาชน  ได้เข้าร่วมเสวนาที่เริ่มเปิดประเด็นที่หลายคนเห็นว่า การศึกษาไทยตายแล้ว   ผู้ทรงคุณวุฒิในเวทีนี้ ได้แก่ ศ. ดร.ปิยวัฒน์  บุญหลง    รศ.ดร.เปรื่อง   กิจรัตน์ภรณ์ รศ ดร. สมเจตน์   ภูศรี   ท่านทองใบ   ทองเปาว์   ท่านครูบาสุทธินันท์    ปรัชญพฤทธิ์   ดร.สุรัตน์  ดวงชาทม   ท่านไตรภพ  ผลค้า    ท่านบัวเลียน   วาปีสา  และท่านประพจน์  ภู่ทองคำ เป็นผู้ดำเนินรายการ   ซึ่งสาระสำคัญสรุปได้ว่า ถ้าหากการศึกษาจะเป็นไปเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง ฐานคิดสำคัญน่าจะอยู่ที่  การจัดการศึกษาที่ใหhชุมชนได้มีส่วนร่วมและการจัดการศึกษาจะต้องเหมาะสมกับความเป็นท้องถิ่น ประกอบกับสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่จุดหมายนั้ได้ คือ  การเรียนรู้ร่วมกันของคนทุกคน  การก้าวใหม่ในมิติที่ผสมผสานระหว่างการทำงานในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมากับก้าวที่จะเป็นไปในอนาคต กำหนดการให้มี เวทีสนทนาเล็กๆที่เม็กดำจึงเกิดขึ้น เกิดขึ้นด้วยพลังที่พวกเราได้รับจากครูดีๆ 
    
เมื่อ
  4  กุมภาพันธ์   2549   การพูดคุย   แลกเปลี่ยน   และเรียนรู้ก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้รู้ในท้องถิ่น ที่วันนี้พวกเราได้ตั้งชื่อว่า กลุ่มช้างน้าว    ได้ตกลงใจที่จะเป็นช้างผู้โน้มน้าวให้คนทุกคนเห็นว่า   การจัดการศึกษากับการพัฒนาท้องถิ่น  คือสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไป
    
กระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ที่ผู้คนกล่าวขานกันมานาน จึ;ได้รับหน้าที่เป็นแกนที่จะทำให้เกิดการประสาน และเชื่อมโยงชุดความรู้ในระบบโรงเรียนกับชุดความรู้ในท้องถิ่น   ณ   วันนี้ที่เม็กดำ  จึงใช้ทุกวันศุกร์ของทุกสัปดาห์  ให้เป็นวันที่ ครู   นักเรียน  ชุมชน  ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านพื้นที่การเรียนรู้ที่สำคัญ  4  ฐาน ได้แก่   ป่าหญ่โคกจิก   เถาวัลย์กับวิถีชีวิต   วรรณกรรมท้องถิ่น   วิถีชีวิตชุมชนคนเม็กดำ  ดังนั้นวิบากกรรมของพวกเราจะไปในทิศทางใดทุกอย่างอยู่ที่ใจ  ใจที่มุ่งมั่นให้การศึกษากับการพัฒนาท้องถิ่นเดินคู่กันไปและที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือการมุ่งมั่นที่จะทำให้การศึกษาได้เป็นไปเพื่อการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ .          
    
     กว่า…..จะเรียนรู้ร่วมกันได้   จึงเป็นเรื่องเล่าชาวเม็กดำ ที่ทำงานร่วมกันมา ในรอบหนึ่งปี                     

  พวกเราตระหนักเสมอว่ายังมีอะไรที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย  
หมายเลขบันทึก: 70860เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2007 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอขอบพระคุณอาจารย์เม็กดำ1...

  • ก่อนอื่นขอแสดงความเคารพอาจารย์ในโอกาสปีใหม่สากลก่อน...

บันทึกของอาจารย์น่าสนใจมากครับ...

  • อย่างไรก็ตาม... ขอเรียนเสนออะไรสักเล็กน้อย (1). เรียนเสนอให้ใช้แบบอักษร (font > Tahoma) ขนาด 12 พอยต์... เนื่องจากเวลาคัดลอกลงบล็อกจะมีตัวอักษรบาง... อักษรบางอ่านง่ายกว่าตัวหนา
    (2). เรียนเสนอว่า วิดีทัศน์ทางขวามือของบล็อกมีส่วนทำให้บล็อกแสดงผลช้า อาจทำให้ผู้อ่านหลายท่านหนีไปเสียก่อน โดยเฉพาะท่านที่ใช้อินเตอร์เน็ตตราเต่า (ช้า)

ขอขอบพระคุณ...

ทุกอย่างมีที่มา........

และที่ไป.........................

การเรียนรู้คือ ผลที่สวยงาม ในทุกกระบวน

ไม่มีคำว่า ล้มเหลว ถ้า ได้เรียนรู้

  • เป็นทั้งผลได้และกำไรที่ดีที่สุด

ตอนนี้ ท่านเม็กดำ1 ไม่ต้องห่วงเด็กๆ วรรณกรรมนะคะ หาที่อยู่ให้เค้าเรียบร้อยแล้วค่ะ  "เขาก็คงต้องอยู่กับวัยเดียวกัน" แล้วจะแจ้ง link  อีกทีค่ะ
  • แวะมาสวัสดีปีใหม่และมาขอบคุณครับผม

สวัสดีปีใหม่ค่ะท่าน ผอ. 

          ขอพลังความดีที่ท่านสรรสร้างจงพลังขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้รุดหน้าค่ะ

          ขอบคุณค่ะ

         

  • ดูชื่อวิทยากรแล้ว...แน่น...มากครับ
  • เป็นจริงดังว่าหากแม้นปรัชญาที่ว่าการศึกษาเพื่อท้องถิ่นจะสำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่ใช้ระบบการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับชุมชน บนพื้นฐานความเหมาะสมของบริบทนั้น ๆ
  • แต่เท่าที่ติดตามอ่านข้อเขียนของอาจารย์  ก็ดูเหมือนอาจารย์ได้บูรณาการได้อย่างดียิ่งแล้ว
  • น่าชื่นชมในวิสัยทัศน์ของอาจารย์ครับ
  • ผมชื่นชอบการศึกษาท้องถิ่นมากครับอาจารย์จึงรู้จักแหล่งเรียนรู้เหล่านี้พอสมควร
  • แต่ด้วยตัวผมนั้นความรู้ยังน้อยครับ
  • จึงอยากแนะนำให้อาจารย์ลองไปศึกษาดูงานที่ เกาะคา ลำปาง ครับ ผมเห็นว่าที่นั่นประสบความสำเร็จ
  • รึว่าท่านอาจารย์ทราบแล้วก็ขออภัยด้วยนะครับ
  • ขอบคุณที่ชี้แนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท