เขียนบล็อกในนามขององค์กรหรือสถาบันมีวิธีเขียนอย่างไร


ที่เขียนในนามส่วนตัวก็ของใครของมัน ไม่มีอะไรน่าสงสัยอยู่แล้ว แต่ที่เขียนในนามองค์กรหรือสถาบันนี่สิครับน่าสงสัยว่าเขาเขียนกันอย่างไร

คนเขียนบล็อกจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือที่เขียนในนามส่วนตัวและที่เขียนในนามองค์กรหรือสถาบัน

ที่เขียนในนามส่วนตัวก็ของใครของมัน ไม่มีอะไรน่าสงสัยอยู่แล้ว แต่ที่เขียนในนามองค์กรหรือสถาบันนี่สิครับน่าสงสัยว่าเขาเขียนกันอย่างไร

ใครคือองค์กรหรือสถาบันนั้นๆ คือซีอีโอ KMทีม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากซีอีโอให้เป็นตัวแทนขององค์กรหรือสถาบันนั้นๆ ซึ่งจะเป็นใครก็แล้วแต่ผมคิดว่าในสังคม gotoKnow ของเราน่าจะมีคนเขียนบล็อกในนามขององค์กรหรือสถาบันครบทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวอยู่ครบถ้วน กล่าวคือ ซีอีโอก็มี KM ทีมก็มี และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เขียนก็คงจะมีเช่นกัน

ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นก็เพื่อต้องการจะอธิบายกับบางคนบางหน่วยงานว่าถ้าจะทำบล็อกขององค์กรหรือสถาบันจะต้องเขียนอย่างไร (ส่วนประเด็นทำบล็อกทำอย่างไร ประเด็นนี้ง่ายแล้วเพราะมีตัวช่วยมากมาย) จึงอยากจะได้ประสบการณ์จากผู้ที่เขียนบล็อกในนามขององค์กรหรือสถาบันนี่แหละครับไปอธิบาย เอาว่ากันชัดๆก็คือว่าผมจะไปแนะนำ อบต.ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชให้เขียนบล็อกครับ เป็นภารกิจที่ผมทำแล้วไม่ต่อเนื่อง ค้างอยู่นานแล้ว

หากเป็นซีอีโอของหน่วยงานละก็ทั้งข้อมูลข้อเท็จจริงและความรู้สึกนึกคิดตลอดจนจินตนาการที่จะเขียนก็คงจะได้ทุกอย่างอยู่แล้ว เพราะซีอีโอของหน่วยงานก็คือตัวแทนขององค์กรหรือสถาบันโดยปริยายอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นบุคคลอื่นละครับ การยอมรับว่าบุคคลนั้น กลุ่มคนนั้นมีความเป็นตัวแทนขององค์กรหรือสถาบันจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าอาจจมีหลายท่านที่สงสัยเหมือนผมก็ได้ หากคนอื่นที่ไม่ใช่ซีอีโอเขียนไปไม่โดนใจซีอีโอละจะทำอย่างไร ที่เห็นสอดคล้องกันทุกฝ่ายก็ไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว

ได้จัดให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือกันก่อนที่จะให้มือเขียนไปเขียนลงบล็อกหรือเปล่า หรือเป็นอิสระของคนเขียนที่จะเขียนเองอย่างไรก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร

ผมจึงอยากได้ประสบการณ์ตรงนี้ จึงบันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนครับ

 

หมายเลขบันทึก: 70733เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ดูเหมือนการเขียนในลักษณะเป็นตัวแทนกลุ่มนี้จะไม่ work ค่ะ เท่าที่เลยลอง เรามีบล็อกของหน่วย Chem ที่เราคิดว่าจะเอาไว้เล่าเรื่องราวที่หน่วย โดยเราเขียนไว้ในรายละเอียดบล็อกว่า

 "เป็นการบันทึกระบบงานในหน่วยเคมีคลินิก ข้อควรระวังในการทำงาน แนวคิดและวิธีการในการพัฒนางาน ประโยชน์ที่ได้จาก ISO หรือโครงการอื่นๆ ภายในหน่วยเคมีคลินิกและอื่นๆ "

แต่สุดท้ายเราต่างก็มีบล็อกของแต่ละคนที่ชอบเขียน อยากเขียน แต่เนื่องจากเราไม่ได้วางแผนเป็นเรื่องเป็นราวด้วยว่าจะให้ใครมารับผิดชอบ เอาเรื่องอะไรมาเขียน

สำหรับตัวเอง คิดว่าการบันทึกในบล็อกเป็นการเขียนความคิด ดังนั้นหากจะเป็นตัวแทนของกลุ่ม คงต้องระดมสมองก่อนจึงจะออกมาเป็นบันทึกได้ ...คิดแล้ว...ยากจังค่ะ

ถ้าเป็นของอบต.คงต้องเป็นการบันทึกโดยคุณลิขิตเก็บความเอามาเล่า แต่คุณลิขิตคงจะเบื่อแน่นอนถ้าเขียนเป็นรายงานอย่างเดียว และคนอ่านก็คงจะน้อยเพราะบันทึกจะไม่มีชีวิตชีวา น่าเบื่อ...ก็ต้องอนุญาตให้คุณลิขิตเขียนได้ในสไตล์ของตัวเอง จึงจะ work นะคะ...ตอนนี้คิดแลกเปลี่ยนได้แค่นี้ก่อนนะคะ ครูนง

ในส่วนของตัวเองที่ทำนะคะ

ทำในบทบาทของ "คุณลิขิต" ที่บันทึกเรื่องราว เรื่องเล่า จากการประชุมทั้งหลายของกรมฯ ด้วยเทคนิค Deep listening + การบันทึกเสียง และมาปรับเป็นภาษาเขียนสไตล์เรื่องเล่า จากข้อมูลที่ต้องถอดออกมาจากสียงบันทึก และความเข้าใจจากการฟังค่ะ

ตัวอย่างก็อยู่ที่ 2 เวป นี่ละคะ ที่ ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรมอนามัย และ สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

+ กับใส่อารมณ์การเล่าเข้าไปด้วยค่ะ ... แต่ปัญหาที่แก้ไม่ตก คือ เรื่องมันจะยาวมาก เกือบทุกครั้ง ต้องมีตอนต่อ แต่ว่าก็ไม่อยากตัดทิ้งเรื่องราว เรื่องเล่า เพราะคิดว่า ถ้ามีผู้สนใจ สามารถนำไปผสมผสานเป็นบทเรียน หรือประสบการณ์การทำกิจกรรมนั้นๆ ได้ดีค่ะ

... และก็คิดว่า อนาคต ถ้า G2K มีทั้ง แสง สี เสียง ภาพเคลื่อนไหว ก็คงจะดีมาก มาก เลยค่ะ เพราะน่าจะทำให้เห็นได้ทั้ง รูป รส กลิ่น (?) เสียง เลยกระมัง

มีประโยชน์สำหรับผู้ริเริ่มเขียนเป็นอย่างดีค่ะ แต่...จะเรียนว่าผู้เป็น CEO นั้นเป็นบุคคลที่มีน้อยค่ะ ที่ตัวเองเขียนมานี่ก็เป็นตัวเล็ก ๆ ในองค์กรค่ะ แต่ก็....อยากจะแชร์ประสบการณ์ หรือได้แจ้งความคืบหน้าของโครงการต่าง ๆ ต่อสาธารณชนค่ะ

  • แวะมาขอบคุณและสวัสดีปีใหม่ครับพี่นง
  • อาจต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าสิ่งที่จะบันทึกมี 2 ส่วน คือกระบวนการ และเนื้อหา 
  • และอีกประเด็นหนึ่งที่ควรสร้างความเข้าใจให้ อบต.เข้าใจก่อนว่า องค์ความรู้นั้นมีทั้งระดับบุคคล  ความรู้ของทีม และความรู้ขององค์กร
  • สำหรับผมก็เขียนในนามขององค์กรในบางบันทึกนะครับ  ตามความเข้าใจก่อนนะครับว่าส่วนใหญ่จะเป็นองค์ความรู้ที่เป็นของกลุ่มหรือทีมทำงาน (กระบวนกการ) เช่น ทำอย่างไร  ใช้เครื่องมืออะไร เป็นต้น
  • สำหรับองค์กรในเบื้องต้นก็คงจะมีลักษณะเป็นชุมชนหรือแพลนเน็ตก่อน  ภายในก็เป็นบล็อกของบุคคลช่วยกันบันทึกในส่วนของเนื้อหา ส่วนกระบวนการอาจให้คุณลิขิตขององค์กรบันทึกเป็นหลักก็น่าจะได้
  • ผมอาจจะอธิบายได้ไม่ชัดเจน ในเบื้องต้นขอให้บันทึกกระบวนการไปก่อนก็ได้นะครับ เพราะจะเห็นความรู้ของทีมและขององค์กรได้ชัด แล้วค่อยๆ ยกระดับ
  • มีปัญญาที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เท่านี้ล่ะครับ เพราะนอกนั้นก็ให้เขาเรียนเอาจากการปฏิบัติเอง....อิอิ

อ.โอ๋ ครับ

         อ่านของ อ.โอ๋ แล้วตรงกับที่ผมคาดกดารณ์อยู่มาก ว่าการเขียนมนนามองค์กรหรือสถาบันคงจะทรมานใจคนเขียนน่าดู ที่จะต้องรายงานตามที่ได้สรุปอาไว้ ลิขิตกันเอาไว้เป็นหลัก ความรู้สึกที่อยากใส่ก็อาจจะใส่ได้ไม่เต็มที่นักเพราะจะเสียภาพขององค์กรหรือสถาบันไป...ขอบคุณมากครับสำหรับประสบการณ์ดีๆที่ทำแล้วนำมาแบ่งปันครับ

คุณหมอนนทลี แห่งเพื่อนร่วมทาง ครับ

             นับว่าประสบการณ์ของคุณหมอและกรมอนามัยมีประโยชน์กับผมมากที่จะทำให้ผมมีองค์ความรู้ มีตัวอย่างที่จะบอกต่อคนอื่นได้อย่างมีข้อมูลยืนยัน และลิ้งค์ที่ได้อ้างอิงไว้ให้ ชอบตรงที่เขียนว่าเราผู้เขียนใส่ลีลาอารมณ์ความรู้สึกเข้าไปได้ด้วย ให้น่าอ่าน อันนี้ผมยอมรับว่าบทความของคุณหมอนนทลี นั้นน่าอ่านน่าติดตามอย่างมาก เพราะลิขิตได้ละเอียด เห็นภาพเหมือนเราได้ไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วยทุกครั้ง สมกับรางวัลยอดคุณลิขิต จาก สคส. ถึงแม้นจะเป็นบันทึกที่ยาวมีหลายตอนก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร ตามอ่านทุกตอนแหละครับ

คุณหยกมณี ครับ

         ขอบคุณครับที่นำประสบการณ์ของคนตัวเล็กๆที่เขียนบล็อกในนามขององค์กรหรือสถาบันมาบอกเล่าว่าใช้นำเสนอความคืบหน้าของโครงการที่ทำต่อสาธารณะ

อ.ดร.น้องขจิต ครับ

               ขอบคุณและสวัสดีปีใหม่เช่นกันครับ...ไม่ทราบว่าชุดความรู้จากชายแดนเมืองกาญจน์จะมีต่ออีกหรือเปล่า ....เขียนแล้วอยากอ่านต่อจังเลย

น้องสิงห์ป่าสัก ครับ

         ขอบคุณครับที่แยกแยะองค์ความรู้มาให้ว่ามี 3 ระดับ คือองค์ความรู้นั้นมีทั้งระดับบุคคล  ความรู้ของทีม และความรู้ขององค์กร      ให้เริ่มจากสร้างชุมชนบล็อกขึ้นก่อน แล้วแต่ละคนไปช่วยกันเขียนในแพลนเน็ตนั้น โดยกระบวนการก็จะอย่างเดียวกันเพราะทำกันเป็นกลุ่มเป็นทีมอยุ่แล้ว แต่สำหรับเนื้อหาก็ของใครของมัน (ของบล็อกเกอร์คนนั้น) น้องอธิบายได้เคลียร์แล้ว ขอบคุณมากครับ

ขอแจมประสบการณ์เรื่องการเขียนแทนองค์กรด้วยครับ  คือจริง ๆ แล้วมันจะออกมาในสไตล์ของตัวเราเองมากกว่า แต่เป็นการเล่าเรื่องที่ดี ๆ ขององค์กรออกมาให้ผู้อื่นอ่าน ซึ่ง ก็อาจเป็นดาบสองคมได้ หากผู้เขียนมีอคติต่อองค์กร  ซึ่งการที่จะเปิดบล็อคขององค์กรนั้น ต้องมีการกำหนดตัวผู้เขียนให้ชัดเจน และทำความเข้าใจกันให้ดีก่อนในเบื้องต้น  และต้องมีคนคอยติดตามเนื้อหาที่สมาชิกแต่ละท่านที่เขียนลงไปด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่   แต่....... อย่างที่เคยพูดกันเอาไว้แล้วนะครับ ว่า  การจัดการความรู้ ควรนำสิ่งที่ดี ๆ เท่านั้น มาพูด  ดังนั้นส่วนใหญ่ในบล็อกที่ผมเห็น ก็จะเป็นสิ่งดี ๆ ซะมากกว่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท