ชีวิตที่พอเพียง : 188. การประชุมคณะกรรมการจัดงาน PMAC (Prince Mahidol Award Conference) ครั้งที่ ๒ ที่เจนีวา


       วันจันทร์ที่ ๒๗ พย. ๔๙ ที่เจนีวา เจ้าหน้าที่ของสถานทูตที่มาอำนวยความสะดวกคือ คุณปรางค์ทิพย์  ส่วนคุณหนึ่งช่วยขับรถ   คุณหมอสุวิทย์ (วิบุลผลประเสริฐ) กับคุณหมอวิโรจน์ (ตั้งเจริญเสถียร) มาถึงเมื่อคืน     คุณหมอสุวิทย์ไปวิ่งมาราธอนที่กรุงเทพ ก่อนเดินทาง
 
      เช้าไปพบ Dr. Anders, Acting WHO DG คนที่มาพบคณะเรามี ๓ คนคือ Anders, B. P. (Bill) Kean และ Hans    หมอสุวิทย์ต้องการไปทำความชัดเจนว่าการประชุมนี้ไม่ใช่การประชุมแบบ WHO - led, country - support    แต่เป็นแบบ Country - led, WHO - support    ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ของ WHO สบายใจว่าไม่ต้องระมัดระวังการเมืองในระหว่างประเทศสมาชิก WHO

      ผู้ร่วมประชุม organizing committee มี  ๑๗ คน   มี Howard Zucker, Assistant DG ของ WHO ทำหน้าที่ประธานการประชุม   ฝ่ายฝรั่งมี Harvey Bale ของสมาคมบริษัทยา, Ed Bos of WB, Eamonn Murphy of UNAIDS, Ellen Hoen of MSF, Myint Htwe of WHO SEARO, ส่วน Katherine Bond of RF ร่วมประชุมผ่าน teleconference ในช่วงเช้า    และ Tim Hubbard of Wellcome Trust ร่วมประชุมผ่าน teleconference ในช่วงบ่าย

      ฝ่ายไทยมีหมอสุวิทย์, วิโรจน์, โสภิดา, สุพัฒน์, ปิยะสกล, วันชัย, ท่านอธิบดีกิตติ, ท่านทูตที่เจนีวา, คุณปรางค์ทิพย์  และผม   วันนี้อากาศดีมาก  แดดจ้า ให้ความสดชื่น
 
     ในการประชุม PMAC 2007 มีวิทยากร 39 คน  เป็นคนที่รัฐบาลไทยสนับสนุนทุนเดินทาง 20 คน     นอกนั้นองค์กรร่วมจัดเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย    เรื่องที่การหารือใช้เวลามากที่สุดคือการกำหนดตัว speakers    คนที่มีความรู้เรื่องเนื้อหาที่จะมีการอภิปรายแลกเปลี่ยน และรู้จักคน ก็พูดความเห็นมากมาย     ทำให้ผมได้เรียนรู้มาก    ตัวอย่างของประเทศกำลังพัฒนาที่พยายามช่วยตัวเองโดยการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เอง คือ คิวบา กับบราซิล ร่วมกันผลิต interrferon และ erythropoitin 

     financing mechanism เป็นเรื่องที่ dynamic มาก   อาจต้องมี 5 speakers และเริ่ม 8.30 น.

     เรื่องยา ARV (รักษาเอดส์) ก็ hot เกี่ยวกับเงินและผล ประโยชน์มหาศาล

     ผู้เข้าร่วมประชุม PMAC 2007 จำนวน 200 - 250 คน   ฝ่ายรัฐบาลไทยจะสนับสนุนทุนผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศกำลังพัฒนา  80 คน

     มีการอภิปรายกันว่า ผู้แทนวารสารวิชาการ ต้องมาเพื่อรายงานข่าวการประชุม   ไม่ใช่เพื่อออกความเห็น    และเพื่อเข้าใจว่ามีความต้องการตีพิมพ์เรื่องในแนวใด  

     Howard Zucker เป็นห่วงว่าวารสารมีหน้าพิมพ์ ถ้าใช้โอกาสผลักดันความเห็นที่มีอคติของตน จะไม่ยุติธรรม    อภิปรายกันว่าจะหาวิธีใช้คนจากวารสารและสื่ออย่างสร้างสรรค์ที่สุด   อาจเชิญบางคนมาเป็นผู้ดำเนินการประชุม   หรือเป็นผู้ร่วมประชุม    บางคนแค่เป็นผู้สื่อข่าว    ใช้โอกาสที่กรุงเทพเป็น "hub for journalist" อธิบดี กิตติจะช่วยเรื่องนี้

     แขกผู้มีเกียรติที่จะเชิญมาร่วมพิธีเปิดทางฝ่ายไทยจะกลับไปพิจารณา   รวมทั้งวงการทูตในกรุงเทพ

    Trade & health - TRIPS Plus ควรมีคนจากกระทรวงพาณิชย์จากอาเซียน และ ประเทศอื่นๆ    จะสร้าง link ระหว่าง health กับ trade โยงกับวงการ IP โดยต้องเลือกประเทศที่ engage ในประเด็นนี้  

     การจัดประชุมนี้ ดูจะช่วยเชื่อมโยงต่างวงการในประเทศเข้าหาและร่วมมือกัน ได้แก่  สาธารณสุข  พาณิชย์  ทรัพย์สินทางปัญญา  การต่างประเทศ    และจะช่วยให้ organizing committee ฝ่ายไทยได้ดูดซับความรู้ในการจัดการประชุมจาก organizing committee จากต่างประเทศ

     มีการเตรียมเชิญผู้เชี่ยวชาญการทำหน้าที่ rapporteur จากผู้ได้รับเชิญเข้าร่วมคือ Graham Duke - Univ of Oslo,   คนของ WHO (อาจเป็น Rob Ridley ผู้อำนวยการ TDR), และหมอวิโรจน์ เป็น lead rapporteur ผู้ทำงานหนักสุดสุดในวันประชุม   เพราะจะต้องสังเคราะห์ recommendation ออกมาให้เป็นที่ยอมรับของผู้เข้าประชุม   และเป็น recommendation ที่มีประโยชน์จริงๆ 
 
     มีการพูดเรื่องระวังคนมีอคติ    หมอสุวิทย์ย้ำตลอดเวลาว่าไม่มีคนปลอดอคติ    แต่ผู้จัดการประชุมต้องจัดการให้เกิดการสร้างสรรค์    มีการสร้างบรรยากาศเชิงบวก บรรยากาศแบบเปิดรับความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย   บรรยากาศที่มีดุลยภาพ    ผมชอบวิธีคิดแบบนี้มาก 

     ตกลงกันเรื่องการให้ข่าว ๓ ตอน
        - Pre-conference press release / conference โดย WHO & ฝ่ายไทย
        - Press conference ในวันประชุมวันแรก
        - Post-conference press release ในวันประชุมวันที่ ๒

     การประชุมปีต่อๆ ไป   ประชุมเพื่อส่งสัญญาณทางนโยบาย   ไม่ใช่ทางเทคนิค   ดังนั้นชื่อเรื่องจึงน่าจะเป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยนึกถึง     ความเห็นแตกต่างหลากหลายกันมาก     ปรึกษากันว่าประชุมต่างแนวสลับปีกันน่าจะดี    โดยปีที่สลับเป็นการประชุมขนาดเล็กและโฟกัสประเด็นเชิงปฏิบัติ    ผมมีความเห็นว่าน่าจะจัดกลุ่มผู้ปฏิบัติใน developing countries ให้เอาเรื่องราวของความสำเร็จ ในประเด็นที่กำหนด มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

     WHO เลี้ยงอาหารเที่ยงแบบนั่งโต๊ะ มีคนเสิร์ฟ  จานหลักเป็นไก่ อร่อยมาก   มีไวน์เลี้ยงด้วย 

     ผมชื่นใจที่ทีมไทยมีความสามารถในการจัดการประชุม   การประชุม organizing committee เป็นการประชุมที่ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่ง หารือกันอย่างเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

     เดิมกำหนดให้ประชุมถึง ๑๗.๐๐ น.    แต่จบได้เวลา ๑๖.๐๐ น.    ทีมสถานทูตไทยพาไปดูของที่ร้านที่อนุญาตเฉพาะสมาชิกเข้าไปซื้อ    ของพวกกระเป๋า  นาฬิกา  เหล้า  บุหรี่  ของมี่ยี่ห้อดัง คุณภาพดีแต่ราคาแพงมาก    ผมไม่ได้ซื้ออะไร    ท่องคาถาชีวิตที่พอเพียง

    หมอโสภิดากับคุณปรางค์ทิพย์เอาตั๋วไป check-in ให้ก่อน    เรามาเดินดูของที่สนามบิน   ได้เห็น Canon EOS IS Lens 70 - 300  ทั้งชนิดท่อนยาว กับชนิด compact    คนขายกำลังยุ่ง จึงไม่ได้ขอดู    และไม่ทราบราคา (ผมมาเห็นที่มาบุญครองในภายหลัง ชนิด compact ราคา ๔๘,๐๐๐ บาท  จึงปลอบใจตัวเองให้พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว)

     security check ที่สนามบินเจนีวา ต้องเอาขวดน้ำหอมและยาสีฟันใส่ถุงปลาสติก    เอา lap top วางในถาด   ถอดเสื้อนอกวางในถาด    ไม่ต้องถอดเข็มขัดอย่างตอนขึ้นจากซูริค    ที่จริงคิดจะลองเอาขวดแชมพูใส่กระเป๋าทดสอบดู    แต่ขี้เกียจยุ่งยาก    ขวดน้ำยาใส่ผม Youth Hair ขวดตั้งใหญ่ ผ่านได้สบายทุกครั้ง รวมทั้งครั้งนี้ด้วย 

วิจารณ์ พานิช
๒๘ พย. ๔๙
ปรับปรุงเพิ่มเติม ๓๐ ธค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 70641เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท