ขยายผลเศรษฐกิจพอเพียงฯ..กับสมาคมสตรีไทยฯ


สตรีเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมไทย

สวัสดีครับชาว Blog  

            เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสได้รับเชิญจากสภาสตรีแห่งประเทศไทยให้ไปจัดกิจกรรมขยายผลโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ซึ่งผมก็เลยถือโอกาสเลือกหัวข้อ workshop เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับครอบครัว สตรีและเยาวชน ซึ่งในวันนั้นก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มสมาชิกสมาคมสตรีไทย โดยเฉพาะกลุ่มครู อาจารย์และผู้ปกครองโรงเรียนที่มีชื่อเสียงหลายแห่งร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากคำถามที่ผมตั้งไว้ 4 ข้อ คือ

1)     ท่านจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปพัฒนาสังคมได้อย่างไร

2)     ท่านจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปพัฒนาลูกท่านอย่างไร

3)      ท่านจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปพัฒนาโรงเรียนได้อย่างไร

4)      หลังจากวันนี้แล้ว จะทำอะไรต่อ

จากคำถามข้างต้นมีหลายประเด็นที่น่าสนใจซึ่งทีมงานของผมกำลังรวบรวมมาบันทึกไว้ใน Blog นี้ สำหรับวันนี้ก็ขอถือโอกาสนำภาพบรรยากาศในการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาให้ท่านได้ติดตามกันครับ

                                                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

ประมวลภาพบรรยากาศ

รับฟังการบรรยายจากศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับครอบครัว สตรีและเยาวชน

 

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น : Sharing Ideas

 

สร้างโอกาสในการเรียนรู้ (Learning Opportunuties)

แบ่งกลุ่ม workshop 

อ.ตรีดาว อภัยวงศ์ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ 

ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน

คำสำคัญ (Tags): #สมาคมสตรีไทยฯ
หมายเลขบันทึก: 70553เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2007 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขอบพระคุณครับ  ได้อ่าน และได้แนวคิดเพิ่ม เพื่อขยายผล

สวัสดีปีหมู ครับท่าน ศ.ดร.จีระ ที่นับถือ

JJ2007

เศรษฐกิจพอเพียง กับการบริหารโรงเรียน  ผมเห็นว่า ต้องเริ่มที่ตัวผู้บริหารและครู  เรียนรู้ร่วมกันกับเด็ก  ชุมชน  เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ไปหาสิ่งใหญ่ 

       ขอร่วมเรียนรู้กับท่าน  ครับ

สวัสดีครับชาว Blog 

ตามที่ผมได้แจ้งไว้ว่าจะนำผลสรุป workshop มาเสนอให้ทุกท่านได้เรียนรู้กันที่นี่ ก็มีข้อสรุปดังนี้ครับ

 

ผลสรุปการทำ Workshop ของการอบรมสมาคมสตรีไทยในหัวข้อเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับครอบครัวและเยาวชน 
กลุ่มที่ 1 ในการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับลูกหลาน จะต้องเน้นปัจจัยที่ใกล้ตัวเพื่อให้เด็กๆ มองเห็นภาพชัดเจนและนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนั้นจะทำให้เกิดการซึมซับหลักการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้ในอนาคต เรื่องที่ทำได้ชัดเจนคือการเน้นที่ปัจจัย 4 อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย เช่นการบอกให้รับประทานอาหารอย่างครบถ้วนทุกหมู่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่รับประทานอาหารขยะ (Junk Food) เด็กๆก็จะเข้าใจและปฏิบัติเป็นนิสัย นั่นก็เป็นการสร้างความพอเพียงในเบื้องต้นเพื่อปลูกฝังให้เด็กๆเข้าใจส่วนในเรื่องของความพอเพียงทางด้านสังคม ต้องเริ่มจากครอบครัวก่อน การแก้ปัญหาครอบครัวความขัดแย้งต่างๆ ต้องให้ลูกหลานเข้าใจการอยู่ร่วมกันในครอบครัวการแบ่งปัน เช่นพี่น้องต้องแบ่งของเล่นกัน ลูกต้องช่วยเหลือพ่อแม่ในส่วนที่ลูกจะสามารถรับผิดชอบได้ นั่นก็เป็นภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างได้ในครอบครัว เพราะเมื่อครอบครัวรู้จักความพอเพียงก็จะมีความเข้มแข็งตามมา สังคมเกิดความเข้มแข็งและประเทศชาติก็จะเติบโตอย่างเข้มแข็ง
กลุ่มที่ 2 ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้นั้น การเริ่มต้นจากครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันที่เล็กแต่สามารถขยายผลให้กว้างออกไปได้ พ่อแม่มีอิทธิพลที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกหลานและปลูกฝังใหญ่รู้จักการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างถูกต้องเช่น ความเรียบง่ายในการดำเนินชีวิต, การใช้เงินอย่างถูกหลักไม่เป็นหนี้เป็นสิน, การสร้างความพอเพียงทางวัฒนธรรมรู้จักสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย  สิ่งเหล่านี้ต้องปลูกฝังให้ลูกหลานเพราะจะขยายไปสู่สังคมในวงกว้างได้ 
กลุ่มที่ 3 ความเข้าใจและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ต้องเริ่มจากตนเองก่อนแล้วก็มาที่ครอบครัว ปลูกฝังลูกหลานก่อนอื่นต้องคำนึงถึง
1.      ต้องให้เข้าใจสภาพของครอบครัว
2.      ความพอประมาณของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ละคนต้องรู้ว่าความพอเพียงของตนเองอยู่ตรงไหน
3.      ต้องสอนลูกหลานให้รู้จักรายรับรายจ่ายของตนเองก่อน
4.      การฝึกค่านิยมของผู้ปกครอง เช่น ต้องให้เด็กทำอะไรด้วยตัวเอง
5.      โรงเรียนก็ต้องร่วมมือกับครอบครัวเพื่อเน้นย้ำการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ 
กลุ่มที่ 4 ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จะต้องเริ่มทำไปทีละระดับ1.      ระดับครอบครัว : เราต้องทำสิ่งที่เราจะสอนลูกให้เป็นรูปธรรมก่อนเพื่อเป็นแบบอย่าง เช่นการให้ความอบอุ่นภายในครอบครัวอย่างเต็มที่เพื่อลดความต้องการทางด้านวัตถุ, การบริหารเงินในการใช้จ่ายภายในครอบครัวเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกหลาน2.      ระดับโรงเรียน : ครูมีส่วนสำคัญต้องสอนนักเรียนให้เด็กรู้จักการใช้เหตุผล เช่นการประหยัดการใช้เงินอย่างมีเหตุผล รู้จักประมาณตน3.      ระดับสังคม : ความพอเพียงระดับสังคมนั้นเราจะต้องรู้จักการวางตัวและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นไม่เบียดเบียนกัน ผู้ที่เข้มแข็งกว่าช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในสังคมที่ดี
กลุ่มที่ 5  ในระดับครอบครัว : พ่อแม่ต้องปลูกฝังการใช้เศรษฐกิจพอเพียงให้ลูก
1.      การพัฒนาลูกคือการให้ความรักความอบอุ่นลูกจะเดินตามทางที่ถูกที่ควร
2.      การรู้จักใช้ ประหยัด อดออม
3.      ให้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันในระดับโรงเรียน : มีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อสอดแซกการใช้เศรษฐกิจพอเพียง เช่นโรงเรียนมีโครงการรากแก้วสู่มาตุภูมิ เป็นการให้เด็กเก็บเงินวันละหนึ่งบาทเพื่อแล้วนำเงินนั้นไปช่วยเหลือสังคม, การร่วมกันทำอาหารเพื่อบริจาคให้ผู้ยากไร้ สิ่งเหล่านี้เป็นการปลูกฝังให้เด็กๆรู้จักการแบ่งปันให้กับสังคม นั้นก็จะนำไปสู่สังคมที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี
                                         จีระ  หงส์ลดารมภ์
สุภาพบุรุษเทพศิรินทร์123

     เรียน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพและชาวเวปทุท่าน            สำหรับเรื่องการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปพัฒนาลูกท่านได้อย่างไร  กระผมขอเสนอในมุมมองของลูกคนหนึ่งบ้างนะครับ  กระผมมีความคิดว่าการปลูกฝังบุตรให้มีความพอเพียงไม่เพียงแค่สอนด้วยปากปล่าวจะเพียงพอครับ สิ่งที่เด็กจะมีการตอบสนองคือ 1.การทำตนเป็นแบบอย่างผู้ปกครองเวลาใช้จ่ายถ้าท่านเน้นคุณภาพไม่เอาตามแบลนก็ทำให้เด็กติดนิสัยหรือชินกับตลาดที่ท่านพาไป  2.ไม่ให้บุตรรู้ว่าตนมีฐานะ เช่น ให้เงินไปโรงเรียนตามความเหมาะสมและความจำเป็น ถ้ามีค่าใช่จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาสอนให้ลูกทำบัญชีเบิกเป็นกรณีไป 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้รวมๆคือสอนให้ลูกท่านคิดเป็น  จะสังเกตุได้ว่าเด็กที่ตั้งใจเรียนคือเด็กที่ไม่มีฐานะเขาคิดว่าการศึกษาจะทำให้เขาไปสู่จุดที่ดีขึ้น  กลับกันเด็กที่มีฐานะจะมองว่าไม่ต้องตั้งใจเรียนเพราะยังไงเงินที่พ่อแม่มีให้เราจนแก่ตายก็ใช้ไม่หมดหรือเรียกง่ายๆว่าหวังพึ่งพ่อแอย่างเดียวนั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท