ความรู้สึกที่ก้าวเข้ามาสู่วรรณกรรม


ธรรมมาทเสาเดียว
โดย..นางสาวสุกัญญา  รัตนโชติ

ในวันแรกที่ฉันเลือกอยู่กลุ่มชุมนุมวรรณกรรม อยู่กับเพื่อนหลายคนมาก และมีน้องชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มาอยู่ด้วยสิ่งที่ฉันเลือกอยู่กลุ่มวรรณกรรมเพราะ วรรณกรรมเป็นกลุ่มที่ช่วยให้เราได้รู้จักวัฒนธรรม ประเพณี นิทานพื้นบ้าน ผญา คำสอย ต่าง ๆ ที่เราไม่รู้จักในชุมชนของเรา และอาจารย์ก็บอกว่าชุมนุมวรรณกรรม จะได้ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดอื่น และสัปดาห์แรกที่ได้เข้ากลุ่มวรรณกรรม อาจารย์ก็พาเข้าไปที่วัด ไปศึกษาเกี่ยวกับธรรมมาทเสาเดียว ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีการจัดตั้งมากี่ปีแล้ว มีความทนแค่ไหน และวันนั้นฉันเข้าไปดูภาพบนข้างเสาว่ามีรูปอะไรบ้าง  มีความสำคัญอย่างไร และสัปดาห์ต่อมา อาจารย์ก็พาเข้าหมู่บ้านอีกครั้ง และครั้งนี้ไปที่วัดท่าชัยศรีไปศึกษากับภูมิปัญญาในหมู่บ้าน และให้ภูมิปัญญามาเล่าเรื่องที่ตนเองถนัด ฉันได้กลุ่มนิทานพื้นบ้าน ครูภูมิปัญญาที่มาสอนเรื่องนิทานพื้นบ้านชื่อนางอ่อน  จันทะสอน เล่านิทานให้กลุ่มนิทานพื้นบ้านฟัง และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้แยกไปนั่งเป็นกลุ่ม เขียนผลงานใส่กระดาษว่า ความคาดหวังก่อนที่จะเข้ามาชุมนุม ประโยชน์ที่ได้รับ แล้วนำมาเสนอสิ่งที่ประทับใจที่สุดคือ สัปดาห์ที่อาจารย์ให้แต่งกลอนสดแข่งกัน ฉันได้แต่งกลอนตอนหนึ่งฉันคิดว่า ฉันก็ทำได้ดีที่สุดแล้ว และภูมิใจมากที่ได้แสดงความคิดเห็นกับใครหลายคน และฉันก็ดีใจที่ได้เข้ามาในชุมนุมนี้ด้วย  
หมายเลขบันทึก: 70548เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2007 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

  

 กลอนสด กับกลอนเหี่ยว ต่างกันไหม

โต้อย่างไร ตอบอย่างไร ช่วยไขขาน

สนุกไหม ที่ครูสอน เรื่องกลอนกาจน์

เร่งเขียนอ่าน วรรณกรรม ช่ำชองเอย.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท