มุมมองใหม่ : การสร้างความสนิทสนมในกลุ่มงาน


"กิจกรรมละลายพฤติกรรมต่างๆ กล่าวไว้ในตอนต้นอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกนอกกลุ่มมากกว่าระหว่างสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน"

           วัตถุประสงค์ของการ "ละลายพฤติกรรม (Breaking the Ice)" เช่น Walk Rally ก็เพื่อให้แต่ละคนในกลุ่มหรือทีมได้มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันโดยเร็ว เกิดความเป็นมิตร เพื่อประโยชน์ในการประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นในอนาคต ..ประเด็นที่อยากให้คิดดูก็คือว่า ในกลุ่มที่ทำงานด้วยกันนั้น ควรที่จะมีความสนิทสนมกันมากน้อยเพียงใด? ถ้าเป็นความเชื่อแบบเดิมๆ ก็คือยิ่งสนิทสนมกันมากกับทุกคนจะยิ่งดีใช่หรือไม่? ยิ่งเป็นเพื่อนกันจะยิ่งทำให้การทำงานง่ายขึ้นใช่หรือไม่? เนื่องจากเวลาเราสนิทกันแล้ว การทำงานร่วมกันก้จะง่ายขึ้น แต่มีข้อมูลอีกด้านหนึ่งมานำเสนอ

         จากงานวิจัยของ joe Labiana และคณะซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Havard Business Review เขาได้มีการศึกษากลุ่มงานต่างๆ ในบริษัทมากกว่าสิบแห่ง ที่กระจายไปในทุกอุตสาหรรม และพบว่าในทีมที่ทำงานอย่างมีประสิทธิผลที่สุดนั้น ประมาณครึ่งหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มมีความใกล้ชิดกัน จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะของเพื่อน แต่ในทีมที่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีมทั้งหมด มีความสนิทสนมกันจนเรียกได้ว่าเป็นเพื่อน จะพบว่าผลการทำงานของกลุ่มนั้นตกลงอย่างน่าใจหาย จากผลการวิจัยของเขาดูเหมือนความสนิทสนมที่มากเกิดไปในกลุ่ม แทนที่จะส่งผลในทางบวกกลับส่งผลในทางลบแทน

        สาเหตุที่ทำให้กลุ่มที่มีความสนิทสนมกันมากทั้งกลุ่มมีผลการทำงานที่ลดลงนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากผลของความที่สนิทกันมากเกินไป ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มกันเอง รวมทั้งเกิดลักษณะของความเชื่อมั่นในกลุ่มที่สูง จนทำให้ทุกคนเกิดความคิดไปในทางเดียวกัน หรือบางครั้งถึงแม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่กล้าคัดค้าน เนื่องจากความสัมพันธ์ที่สนิทสนมกัน ทีนี้เรามาลองดูกันว่า ถ้าเกิดสถานการณ์ขั้นต้นจะแก้ไขอย่างไร?  ถ้าตามตำราทางด้านการจัดการ เขาก็แนะนำให้มีการตั้งผู้ที่ทำหน้าที่เป็น สมุนซาตาน หรือ Devil's Advocate ขึ้นมา บุคคลนี้จะทำหน้าที่คัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของกล่ม เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลในเรื่องของความคิดไม่ให้ทั้งกลุ่มเห็นเหมือนกันมากเกิดไปจนลืมที่จะมองทางเลือกอื่นๆ แต่ก็พบว่าวิธีการดังกล่าวไค่อยเกิดผลในกล่มที่มีความสนิทกันมากๆ

        ผลจากการวิจัยของเขา พบสิ่งที่น่าสนใจในอีกแง่มุมหนึ่ง คือประโยชน์ของความสัมพันธ์หรือความสนิทสนมกันจนกระทั่งเรียกว่าเป็นเพื่อนได้นั้น จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มก็เมื่อความสนิทนั้นเกิดขึ้นนอกกลุ่มจะเป็นกลไกที่ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กร ลองนึกถึงตัวของท่านเองดูว่า เวลาทำงานท่านอาจจะมีกลุ่มของท่านซึ่งก้อาจจะสนิทกันบ้างพอสมควรระดับหนึ่ง แต่เมื่อถึงเวลาพักไม่ว่าตอนเที่ยงหรือตอนเย็นท่านอาจจะไปทานข้าวหรือไปเที่ยวกับเพื่อนที่อยู่นอกกลุ่มทำงานของท่าน ซึ่งก้อาจจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือเป็นผู้นำของกลุ่มทำงานอื่นๆ ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นเมื่อท่านกลับเข้ามาทำงานในกลุ่มของท่าน ท่านก็จะนำข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ที่สำคัญที่ท่านไปรับรู้ มาแจ้งให้กับกลุ่มของท่าน ซึ่งข่าวเหล่านี้อาจจะมีความสำคัญต่อการทำงานของกลุ่มท่าน หรือในบางครั้งท่านอาจจะไม่ได้นำข่าวมาแต่ท่านก็ไปสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูง ทำให้กลุ่มของท่านได้รับการสนับสนุนในการทำงานมากขึ้น

        ท่านอาจจะเห็นด้วยหรือไม่กับผลการวิจัยข้างต้นก็ตาม  ผมเห็นด้วยในประเด็นหลัง นั่นคือความสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ นอกกลุ่มตัวเอง แต่ประเด็นที่ยากก็คือ อยู่ดีๆ จะให้คนที่ทำงานในกลุ่มไปสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลภายนอกกลุ่มก็คงจะลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่มีพื้นฐานหรือความหลังร่วมกันมาก่อน ซึ่งก็คงจะต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์นอกกลุ่มให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะผ่านทางการจัดกิจกรรมหรือโอกาสต่างๆ ดังนั้นพวกกิจกรรมละลายพฤติกรรมต่างๆ กล่าวไว้ในตอนต้นอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกนอกกลุ่มมากกว่าระหว่างสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 70522เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2007 02:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • การสร้างความสนิทสนมในกลุ่มงาน น่าจะมีขั้นตอน โดยเริ่มจาก การรู้จักกันก่อน  และต้องมีการพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสิ่งที่ทำประจำทุกวัน
  • และเมื่อมีการพูดคุย/แลกเปลี่ยนกันมากขึ้น จนเกิดความเชื่อใจและเปิดใจพูดคุยในเรื่องต่างๆได้ทุกเรื่อง ก็จะเกิดความสนิทสนมกัน ครับ
  • อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนที่กล่าวมาในแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มอาจใช้ระยะเวลาต่างกันบ้าง อาจขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ คุณวุฒิ เช่น เพศ เดียวกัน อาจจะสร้างความสนิทสนมได้ดีกว่าหรือเร็วกว่า
  • ข้อสังเกตอีกประการ คือ การสร้างความสนิทสนมในกลุ่มงาน  แม้เราจะสร้างขึ้นมาได้ แต่ก็อาจถูกทำลายได้เช่นกัน เช่น การไม่เข้าใจกัน การมีความเห็นขัดแย้งกัน  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ เป็นศาสตร์และศิลป์ของการดำรงอยู่และปรับตัวในสังคม
  • ขอบคุณครับ
  • ผลการวิจัยนี้ก็อาจจะเป็นคำตอบตามบริบทของกลุ่มนี้ที่ศึกษา แต่อาจไม่ได้เป็นคำตอบอย่างนี้เสมอไปในบริบทวัฒนธรรมแต่ละองค์กร
  • แต่ส่วนตัวแล้วเราจะรู้ด้วยตัวเองได้อย่างไร ว่าเราสนิทสนมกับคนๆ คนหนึ่ง น้อย พอดี มาก
  • ถ้ามีตัวชี้วัดความพอดีของสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นการดีไม่น้อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท