R2R: อาร์ทูอาร์ พาให้ยุ่ง (เสียแล้ว)


การทำวิจัยในงานประจำเป็นเรื่องไม่บังคับ เป็นเรื่องของความสมัครใจ 100% ที่ต้องการจะพัฒนางาน

     หากมองว่าการทำวิจัยในงานประจำเป็นเรื่องไม่บังคับ ก็จะถูกเพียงครึ่งหนึ่ง เพราะสำหรับผมแล้วไม่ถูกบังคับโดยองค์กร เป็นเรื่องของความสมัครใจ 100% ที่ต้องการจะพัฒนางาน เช่น R2R เพื่อประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในส่วนที่ใช้งบ P&P ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ประจำปี 2549

     ในเบื้องต้นเราได้ข้อสรุปร่วมที่เป็นทางออกของปัญหาที่พบคือ การขาดผู้รับผิดชอบโดยตรงในภาพรวม (เจ้าภาพหลัก) และผู้ทำหน้าที่ประเมินผลโครงการ ในระดับเครือข่ายหน่วยบริการ จนเป็นที่มาของการออกคำสั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง (คลิ้ก ดาวน์โหลด) ที่ 177 /2549 เรื่อง  แต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดการและผู้ประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและป้องกันโรค ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ระดับจังหวัดและระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากมองว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งแล้วในการจัดการกับสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

     แต่ความภาคภูมิใจดังกล่าวยังไม่จบลง มีความภาคภูมิใจเพิ่มขึ้นอีกคือ ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (น.พ.วิเชียร แก่นพลอย) ได้มอบหมายให้ไปเข้าร่วมประชุมแทนท่าน ณ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ที่จะจัดการประชุมระดมสมองเรื่องการจัดการงบประมาณหมวดนี้ ในวันที่ 8 มกราคม 2550 ที่จะถึง โดยท่านขอให้ได้นำเสนอให้ที่ประชุมทราบในเรื่องผลการดำเนินงานของ สสจ.พัทลุง ด้วย ทั้งนี้ในวันที่ 5 ที่จะถึงนี้ก็ให้นำรายงานสรุปนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินของ สสจ.ก่อน เพื่อที่ประชุมได้เติมเต็มให้อีกครั้ง

     ความภาคภูมิใจต่อไปอีกคือ สปสช.สาขาพื้นที่สงขลา ก็ได้แจ้งประสานมาเพื่อให้จังหวัดพัทลุงได้ไปบอกเล่าเรื่องการจัดการกับงบประมาณหมวดดังกล่าวนี้ ในวันที่ 17 มกราคม 2550 งานนี้ผมรับหน้าที่ไปเล่าให้ทีมงานจากอีก 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างทราบ ก่อนจะได้ร่วม ลปรร.กัน

     โดยสรุปความภาคภูมิใจที่ได้พัฒนางาน และอีก 2-3 ประการต่อมา เนื่องจากผลพวงของการทำงานปกติให้เป็นงานวิจัย (R2R: Routine To Research) แล้วหมุนวนเอามาปรับใช้ในการแก้ปัญหาได้แล้ว จริง ๆ ก็ภาคภูมิใจพอแล้ว ก็มีเหตุให้ภาคภูมิใจเพิ่มขึ้นอีก ตรงที่มีผลให้มีเวทีในการนำเสนอ ซึ่งนักวิชาการที่ทำวิจัยก็ต้องการเวทีตรงนี้เพื่อเติมเต็มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มอยู่แล้วเป็นธรรมดา สำคัญอยู่ที่ความภาคภูมิใจได้มาพร้อม ๆ กับความยุ่งเพิ่มขึ้นนี่สิ แต่ยอมครับถึงยุ่งเพิ่มยังไงหากได้รับโอกาสเช่นนี้ย่อมยอมยุ่งครับ ตรงนี้แหละที่จั่วไว้ย่อหน้าแรกว่าถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะอีกครึ่งหนึ่งแม้ไม่ถูกบังคับโดยองค์กร แต่ก็ถูกบังคับโดยโอกาสที่ได้รับมา

     สำหรับรายงานวิจัยรออีกนิด 1-2 วันนี้ จะนำมาให้ดาวน์โหลดเพื่อ ลปรร.กันต่อนะครับ

 



ความเห็น (10)
  • เป็นความสมัครใจ 100%ในการทำ R2R ยกนิ้วให้ครับ สุดยอดจริงๆ
  • ครับรายงานวิจัยพี่จะดาวน์โหลดแน่นอนเมื่อถึงวันนั้น รออยู่นะน้อง ไม่ต้องแขบ

ครูนง ที่นับถือ ครับ

      นั่งเขียน paper ออกอาการล้า เลยกลายเป็นบันทึกนี้ เสร็จแล้วจะแขวนให้ดาวน์โหลดครับ ค่ำ ๆ ของวันนี้ก็น่าจะ OK ครับ

หากยุ่งแต่ได้คุณภาพก็ยินดีด้วยนะคะพี่ชายขอบ ในฐานะที่ต้องรับต่องานเรื่องนี้ในระดับอำเภอ ขอส่งใจช่วย และ จะศึกษางานต่อเป็นอย่างดีคะ
การทำงานวิจัยในงานประจำ ด้วยนิยามที่ทุกคนเห็นความสำคัญจะช่วยเติมสีสันให้การทำงานได้อย่างดีครับ

  ยินดีต้อนรับอาจารย์ชายขอบค่ะในฐานะดิฉันเป็นผู้รับผิดชอบการจัดประชุมวันที่ 8 นี้    ดิฉันนึกแล้วว่าสงสัยอาจารย์ต้องเป็นคนมาshare กับเราแน่เพราะนพ.สสจ.เพิ่งย้ายไปใหม่   คงจะได้รู้อะไรดีๆที่พื้นที่พัทลุงดำเนินการกับงบประมาณ P&P ในอนาคต  ภายใต้สมมุติฐานการกระจายอำนาจเต็มรูปแบบ 

   ลัดดา

คุณก้ามปู ครับ

     ขอบคุณมาก ๆ นะครับ ตั้งไว้ สานต่อ ก่อเกิด ประโยชน์สูงสุดแก่คนเมืองลุงนะครับ

คุณแม็กดำ 1

     ใช่แล้วครับ การเห็นความสำคัญ(ร่วม) เป็นปัจจัยแรก ๆ นะครับ สู่ความสำเร็จ

อาจารย์หมอลัดดา ครับ

     ยินดีครับ ตอนนี้ยังปั่นอยู่เลยครับ ถึงไปคงยังร้อน ๆ ครับ แล้วเจอกันนะครับ อยากทราบว่าที่อื่นเป็นอย่างไรบ้างจะได้อภิปรายผลเพิ่มนะครับ

 ดิฉันได้ติดตามความก้าวหน้างานคุณชายขอบอยู่เสมอ ก็ขอแจมด้วยคนค่ะเพราะก็รับผิดชอบงานด้าน PP ในระดับอำเภอเหมือนกันในฐานะเลขา คปสอ. ก็อยากจะรู้ความเป็นมาเป็นไปของพื้นที่อื่นด้วยค่ะเพื่อนำไปพัฒนางานในพื้นที่ อย่าลืมช่วยเข้าไปติดตามดูโครงการ PP ข้าราชการและผู้ประกันตนที่กลุ่มงานฯได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปหมาดๆ
นายพัฐจักร อยู่พงษ์ทอง

 ผม นายพัฐจักร อยู่พงษ์ทอง รองผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ กำลังทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเป็นวิทยฐานะชำนาญพิเศษ โดยทำประเมินโครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพส้รางเสริมสุขนิสัยสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนลำปลายมาศ อยากจะได้แนวมางการดำเนินการและอยากจะอ่านวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ จึงขอความกรุณาให้ท่านช่วยแนะนำวิจัยที่จะสามารถค้นคว้าได้ กรุณาบอกด้วยครับ

 นายพัฐจักร อยู่พงษ์ทอง

             6 พ.ค. 50  โทร. 0818789446 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท