มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 4 (5)


ประเด็นสำคัญของ “งานวิจัยแท้” คือการมีผลเป็นการเรียนรู้ สั่งสมองค์ความรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น ๆ ได้

         < เมนูหลัก >

         ตอน 4 (5)

         “ปฏิวัติวัฒนธรรม” เพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา

         งานวิจัยเทียม – วิจัยแท้

         คำว่า “งานวิจัย” ที่ใช้กันอยู่ในสังคมไทย มีความหมายกว้าง ตั้งแต่การวิจัยตลาด วิจัยความคิดเห็นของประชาชน  วิจัยผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม (EIA : Environmental Impact Assessment) งานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือต้นแบบ ไปจนถึงการวิจัยที่มีความคิดเชิงทฤษฎีชัดเจนที่จะนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ที่เรียกว่าการวิจัยเชิงสร้างรากฐาน (Fundamental Research) หรือการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research)

         งานวิจัยที่กล่าวแล้วทั้งหมดต่างก็มีคุณประโยชน์มีความสำคัญในตัวของมันเอง ไม่มีแบบใดดีเลวกว่ากัน แต่สำหรับนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องสร้างความเข้มข้นทางวิชาการ สร้างผลงานที่มีคุณภาพสูง สร้างความยอมรับในแวดวงวิชาการ คำว่า “งานวิจัย” ควรเป็นงานวิจัยเชิงวิชาการ (Academic Research) คือผลงานนำไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติได้

         หรือหากจะเป็นงาน “วิจัยและพัฒนา” เพื่อนำผลประโยชน์ก็จะต้องสร้างผลงานที่มีคุณภาพคือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการของ “ผู้ใช้” จริง  รวมทั้งนักวิจัยสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับ “การใช้ความรู้ในการพัฒนา” เป็นการเรียนรู้ที่สั่งสม และถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้

         ประเด็นสำคัญของ “งานวิจัยแท้” คือการมีผลเป็นการเรียนรู้ สั่งสมองค์ความรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น ๆ ได้

         บทความพิเศษ ตอน 4 (5) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2802 (106) 23 พ.ค. 39 พิเศษ 6(บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7052เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2005 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อคิดครับ ในทัศนะของผมแล้ว...นอกจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยจะลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติได้แล้ว การวิจัยออกมาเป็นนวัตกรรม (innovation) เช่น อุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ฯลฯ หรือการพัฒนาระบบ (system development) ก็มีความสำคัญเหมือนกัน และมหาวิทยาลัยควรให้ค่าคะแนน เช่น ถ้าวิจัยแล้วหางานใหม่ให้ชาวบ้านทำได้ 1,000 ครัวเรือน รายได้เดือนละ 8,000 บาท งานวิจัยอย่างนี้ก็มีค่ามากทางสังคม ฯลฯ //ขอขอบคุณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท