สู่สุขภาวะทางปัญญา


สุขภาพองค์รวมหมายถึงสุขภาพที่ครอบคลุมทุกมิติของชีวิต เป็นสุขภาวะโดยรวมอันเกิดจากสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม ซึ่งต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ยากที่จะแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ หรืออย่างโดดๆ ได้

     กำลังเขียนบันทึกอยู่ ๆ ก็ได้รับเมล์จากเครือข่ายสยามเสวนา ซึ่งเป็นงานลิขิตของพระไพศาล วิสาโล ที่ลิขิตไว้เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2549 ที่ผ่านมา และตีพิมพ์ไว้ใน web ของเครือข่ายฯ เรื่อง สู่สุขภาวะทางปัญญา (คลิ้ก) ลองดูไตเติ้ลนะครับ

     "ปัญญาที่พัฒนาเต็มขั้นย่อมทำให้เป็นอิสระจากโรคทางใจได้อย่างสิ้นเชิง สุขภาวะหรือสุขภาพที่เกิดจากปัญญาดังกล่าว อาจเรียกว่าสุขภาวะทางปัญญาก็ได้" และ

     "สภาวะจิตใจและความสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้น มีผลต่อร่างกายอย่างมิอาจปฏิเสธได้ การรักษาที่เน้นแต่การเยียวยาร่างกายหรืออวัยวะเฉพาะส่วน แต่ไม่สนใจสภาวะจิตใจของผู้ป่วยหรือความสัมพันธ์ที่เขามีกับผู้อื่น ย่อมเป็นได้แค่การรักษา "โรค" แต่มิใช่การรักษา "คน" ซึ่งในที่สุดแล้วก็มิอาจรักษาโรคได้ด้วยซ้ำ หรือถึงรักษาได้ โรคก็กลับมาใหม่ จะในลักษณะเดิมหรือลักษณะใหม่ก็ตาม”

     หากสนใจติดตามอ่านที่ทำ link ไว้ได้เลยครับ

หมายเลขบันทึก: 70512เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2007 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สวัสดีครับ  คุณชายขอบ

ผมหายหน้าไปนาน  คงยังไม่ลืมนะครับ  ขอบคุณที่นำเรื่องที่ผมกำลังสนใจมาส่งข่าว  ในเรื่องดังกล่าวนี้ผมขอเพิ่มเติมอีกสักนิดครับ

การแผ่เมตตา (ส่งความรักไปสู่สรรพสิ่งโดยออกจากความรู้สึก) จะช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าได้ครับ  จากงานวิจัยของ Dr. Wayne W. Dyer ซึ่งรายงานว่า  "เมื่อมีความรู้สึกเมตตาต่อสรรพสิ่ง  ร่างกายจะหลั่งสารเซโรโทนินออกมา  ซึ่งสารตัวนี้ร่างกายสามารถสร้างเองได้  แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการมาก ๆ แพทย์ต้องใช้สารชนิดออกเพื่อบำบัด

ในกรณีของสตรีหลังคลอด  ที่มีอาการซึมเศร้ากรดไขมัน DHA ที่ได้จากน้ำมันปลา  จะช่วยลดอาการซึมเศร้าในสตรีหลังคลอดได้ครับ

ขอเล่าสู่กันฟังสั้น ๆ ก่อนครับ
ด้วยความเคารพ
สวัสดิ์ พุ้มพวง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท