Research & Body of Knowledge


การวีจัยเพื่อค้นพบองค์ความรู้ประเภทข้อเท็จจริงและ/หรือกฎ

องค์ความรู้ที่สำคัญของแต่ละสาขาวิชาในสายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรมจะประกอบด้วย ข้อเท็จจริง(Facts)  และกฎบรรยาย(Desriptive Laws)  ซึ่งการวิจัยจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือเพื่อค้นหาองค์ความรู้เหล่านี้

การวิจัยใดที่ค้นพบความรู้เป็นชิ้นๆ  เป็นหน่วยๆ  เช่นสมมุติว่าค้นพบว่าคนไทยเป็นพศชาย 50 % เป็นเพศหญิง 50 %  ผลอันนี้เป็นข้อเท็จจริง ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้จึงเป็นประเภทข้อเท็จจริง

การวิจัยใดที่ค้นพบความรู้ในรูปของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  เช่น ในรูปแบบของ " ถ้า.....แล้ว...... "  หรือ " If...... then........ "  ความรู้นั้นถือเป็น กฎ  กฎนี้อาจจะเป็นกฎเชิงสาเหตุและผล (Causal Laws)  หรือกฎเชิงสหสัมพันธ์(Correlational Laws) ก็ได้ แล้วแต่งานวิจัยนั้นๆ

ถ้าใช้องค์ความรู้ดังกล่าวเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบระดับความยากง่ายของการวิจัย ก็จะได้ว่า  การวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริงจะง่ายกว่าการวิจัยที่มุ่งค้นหากฎ

ผมจึงคิดว่า  การผลิตนักศึกษาระดับปริญญาเอกของเรา ซึ่งผลิตกันมากในปัจจุบันนี้ ควรเน้นการวิจัยเพื่อการค้นหาองค์ความรู้ประเภทกฎมากกว่าที่จะเป็นประเภทข้อเท็จจริง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 7051เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2005 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์
ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆที่นำเสนอความรู้เช่นนี้ไว้นะครับ ขัอส้งเกต มีบางคนที่ทำวิจัยทางการศึกษาออกแบบประเภทวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บสิ่งที่เป็น Facts มาสรุปเป็นผลการวิจัย ท่านอาจารย์มีความเห็นเช่นไรครับ

ผมรู้สึกดีใจมากที่ท่าน รศ.ดร.ชุมศักดิ์สนใจตรงกัน  Facts ก็ถือเป็นความรู้ประเภทหนึ่ง  การวิจัยที่เข้าไปค้นพบมันก็คงเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  ถ้าศิษย์สาขานี้ 100 คน ทำวิจัยค้นหา Facts กันทั้ง 100 คน  ก็ตีความว่า  วิธีวิจัยที่เขาใช้ก็เป็นพวก  การวิจัยเชิงสำรวจ 

วิธีแก้คือ  ช่วยกันวิเคราะห์ว่า  BODY of KNOWLEDGE ของสาขานี้คืออะไร  แน่นอนจะต้องพบว่ามีทั้ง FACTS และ EMPIRICAL LAWS  แถมยังมี THEORIES อีกด้วย  ฉะนั้น ศิษย์สาขานี้จึงต้องใช้วิธีวิจัยทั้งวิธี Observation, Experimentation, และ Cerrelational Research ครับ ซึ่งสองวิธีหลังนี้เป็นครื่องมือค้นหา Laws ดังกล่าว 

ผมคิดว่าท่านผู้สอนเขาก็รู้  ศิษย์ก็คงรู้  แต่สองวิธีหลังมันยากนี่ครับ  แบบสำรวจง่ายกว่าเยอะเลย  และก็จบ ได้ Ph.D. เหมือนกัน  ได้เงินเดือนเท่ากัน  แถมคนทั่วไปเขาก็เรียกว่า ท่าน Dr. เหมือนกัน  มันเรื่องอะไรที่เขาต้องทำเรื่องยาก ๆ เล่าครับ

ผู้ควบคุมมาตรฐานนั่นแหละครับที่ต้องควบคุมเรื่องนี้ครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ รศ.ดร.ไสว
    ที่กรุณานำเรื่องดีมากๆ มาแสดง
    เป็นวิทยาทานครับ
  • ขอขอบคุณ...

คุณหมอชมผมไว้หลายวันแล้วครับ คำชมมันมีฤทธิ์เดชทำให้ผมรู้สึกดีใจอย่างบอกไม่ถูก  อันที่จริงคุณหมอนั่นแหละครับเป็นผู้ที่มีความสามารถสูงยิ่งที่มองเห็นคุณค่า  คนอย่างเขาเท่านั้นที่เห็นคุณค่าของการที่ผลแอปเปิ้ลหล่นถูกศีรษะ ! คนอย่างเขาเท่านั้น ที่เห็นน้ำล้นอ่าง แล้วร้องลั่นว่า  ยูเรก้า !!  สังคมของเราต้องการค้นพบคนอย่างนี้แหละครับ   จึงขอบคุณอย่างสูงครับ

ตัวอย่างส่วนมากจะเป็นทางพฤติกรรมศาสตร์หรือสังคมศาสตร์  Content ของตัวอย่างจึงหนักไปทางนั้น  แต่ Method นั้น ครือๆกัน  คุยกันได้ จริงไหมครับ  เพราะว่า พฤติกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ฯลฯ  ต่างก็เป็น Empirical  Science  ที่มี Method เดียวกันคือ Empirical  Research  อย่างไรก็ตาม ผมจะพยายามยกตัวอย่างทาง Physical  Science บ้าง เพื่อจะได้สนทนากันสนุกยิ่งขึ้น ครับ.

 

สุทธิกัญจน์ ทิพยเการ

เรียน รศ.ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ผมเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีความสงสัยในความหมายและความแตกต่างกันของคำว่า "ความรู้" กับ "องค์ความรู้" จึงใคร่ขอความกรุณาท่านได้ช่วยให้ความกระจ่างในเรื่องดังกล่าวเป็นวิทยาทานด้วยครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

สุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร

สวัสดีครับ คุณสุทธิกัญจน์

(๑) ความรู้ คือ "อะไรก็ตามที่เรารู้สึกสัมผัส ชี้ได้ บอกได้ บรรยายได้ รู้จัก ระลึกได้ คิดได้กระทำได้ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต" ถ้าคุณรู้สึกเห็นอะไร รู้สึกได้ยินอะไร ได้ชิมอะไร ได้กลิ่นอะไร ผิวหนังกระทบอุณหภูมิเท่าไร ฯลฯ ในขณะนี้ ขณะนั้น คุณก็ "มีความรู้แล้ว" ความรู้เหล่านี้เรียกว่า "ข้อเท็จจริง" แต่อาจจะระยะสั้นหรือระยะยาว นี่เป็นความรู้ใน"ปัจจุบัน" ต่อมาคุณนอนหลับ ตื่นมาเห็นสิ่งนั้นอีกและชี้ได้ บอกได้ ก็เป็น "ความรู้" แต่เรียกว่า "จำ" ถ้าเราพูดว่า "นักการเมือง" โดยที่ไม่มีใครอยู่ตรงหน้าเลย ก็เรียกว่า "มโนทัศน์" เรามี"ความรู้มโนทัศน์" ถ้าเราพูดว่าหรือคิดว่า "ถ้าเป็นนักการเมือง, แล้วเป็นผู้คอรัปชั่น" ก็เรียกว่าเรามี "ความรู้" ประเภท "กฎ" ถ้าเราคิดว่า "คนต้องการเอาชีวิตชีวิตรอด คนจึงทำทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอด" ข้อความนี้เป็นข้อความเชิงทฤษฎี เป็นความรู้ประเภท "ทฤษฎี" และเป็น "ความรู้"ของผู้กล่าว ทั้งหมดนี้เป็น "ความรู้"

(๒) "ความรู้" ในข้อ (๑) สรุปว่าจะประกอบด้วย "ข้อเท็จจริง, มโนทัศน์, กฎ, ทฤษฎี" ทั้งหมดนี้เรียกกันว่า "องค์ความรู้" หรือ "ตัวความรู้" ( Body of knowledge )

(๓) องค์ความรู้ของวิชาเลขก็ "เป็นอย่างหนึ่ง" องค์ความรู้ของวิชา "ศิลปะ" ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ แตกต่างกัน (อาจจะคล้ายๆกันบ้างในบางสาขาวิชา แต่ไม่เท่ากันทุกประการ) ฯลฯ

(๔) องค์ความรู้นี้อยู่ที่ไหน ? ก็ใน"ตำรา" ของสาขานั้นๆ

(๔) เรา "ใช้อะไร" ไป "ค้นพบ" ความรู้นั้นๆ คำตอบคือ "ตา,หู,.. "ของเรา + "วิธีวิจัย"

(๕) ฉะนั้น มหาวิทยาลัย "สอนอะไร" ตอบ "หลายอย่าง + องค์ความรู้ในสาขานั้นๆ" เพื่อให้พูด "ภาษา"ด้วยองค์ความรู้" ใน "สาขาของตน" ให้ถูก เป็นที่พึ่งพิงของลูกหลานได้ ตรวจสอบโดย "ข้อสอบ" และ "วิทยานิพนธ์" ก่อนให้ปริญญาออกไป

(๖) ทำไมจึงต้องเรียน "วิธีวิจัยด้วย" ต้องเรียนเพราะว่า "วิจัยเป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้" ถ้าไม่เรียนแล้ว จะเอาอะไรไปค้นหาความรู้เล่า

(๗) ดังนั้น ปริญญาเอก ต้องเลิกโปรแกรมที่ไม่ทำวิจัยได้แล้ว โดยเฉพาะในสาขาที่เป็นประเภท "Science"

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

กราบเรียน รศ.ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

อาจารย์คะดิฉันเป็น นักศึกษาปริญญาเอกค่ะ กำลังสงสัยเรื่องการ วิเคราะห์องค์ความรู้ที่มีอยู่ในโลกนี้ อาจารย์ช่วยกรุณาแนะนำหลักการ วิธีการ วิเคราะห์องค์ความรู้เหล่านั้น จักเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

ปริญญา

สวัสดี คุณปริญญา

"วิเคราะห์องค์ความรู้ในโลกนี้" ผมไม่ค่อยเข้าใจคำถามครับ แต่น่าจะต้องการรู้อย่างนี้

ถ้าเราแบ่งวิชาออกเป็นสาขาใหญ่ๆโดยใช้เกณฑ์ความเป็น "วิทยาศาสตร์" ก็จะได้สองสาขาคือ สาขาวิทยาศาสตร์ กับสาขาไม่ใช่วิทยาศาสตร์

สาขาวิทยาศาสตร์ ก็จะมีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น เคมี ฟิสิกส์ เป็นต้น กับ วิทยาศาสตร์สังคมหรือวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม เช่น จิตวิทยา รัฐศาสตร์ เป็นต้น

สาขาไม่ใช่วิทยาศาสตร์ก็เช่น คณิตศาสตร์ ปรัชญญา เป็นต้น

แต่ละสาขาเหล่านี้จะมี "องค์ความรู้" หรือ Body of Knowledge ของตนเอง ไม่เหมือนใคร แต่โดยสรุปแล้ว องค์ความรู้จะประกอบด้วย ข้อเท็จจริง (Facts), หลัก (Principles) หรือ กฎ (Laws), และ ทฤษฎี

ข้อเท็จจริงนั้นจะเหมือนกันทุกสาขา

แต่กฎ จะต่างกัน ถ้าเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ กฎ ก็จะเป็น กฎเชิงประจักษ์(Empirical Laws) หรือกฎบรรยาย(Descriptive Laws) หรือ กฎธรรมชาติ(Natural Laws) แต่ถ้าเป้นสาขาไม่ใช่วิทยาศาสตร์แล้ว กฎก็จะเป็นพวกกฎมนุษย์สร้าง(Prescriptive Laws) เช่น กฎหมาย หรือกฏที่ได้จากการพิสูจน์เชิงเหตุผล เช่นกฎทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น

ส่วนทฤษฎีนั้นเหมือนกันทั้งสองฝ่าย คือต่างก็มนุษย์สร้าง ต่างแต่ว่า ทฤษฎีทางสาขาวิทยาศาสตร์นั้น จะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ธรรมชาติและทดสอบได้เชิงประจักษ์ ส่วนทฤษฎีพวกไม่ใช่วิทยาศาสตร์จะไม่สัมพันธ์กับโลกจริงและหาความผิดถูกด้วยการพิสูจน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท