มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 4 (3)


ที่เสนอมานี้ไม่ได้หมายความว่า งานประจำไม่สำคัญ งานแต่ละอย่างมีความสำคัญในตัวของมันเอง แต่งานสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ทำยาก ต้องใช้สมองชั้นเลิศ และต้องมีฉันทะมีความอดทนยิ่งงานสร้างสรรค์ต่อสังคมภาพรวมยิ่งทำยากและขาดแคลนเป็นอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ

         < เมนูหลัก >

         ตอน 4 (1)

         “ปฏิวัติวัฒนธรรม” เพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา

         งานประจำ – งานพัฒนา

         เป็นเรื่องแปลกที่ในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็น “องค์กรเพื่อการพัฒนาการสร้างสรรค์ปัญญา” โดยตรงกลับมีวัฒนธรรมที่เน้นงานประจำมากจนละเลยงานพัฒนาหรือสร้างสรรค์  เห็นได้จากงานวิจัยมักถูกมองเป็นงานส่วนตัวหรือส่วนกลุ่มไม่ใช่งานของหน่วยงานในภาพรวมสิทธิในการใช้ทรัพยากรและเครื่องอำนวยความสะดวกที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ในการทำงานสร้างสรรค์น้อยกว่าสิทธิในการใช้เพื่องานประจำ

         งานประจำถูกจัดเป็นงานที่ต้องทำส่วนงานพัฒนาสร้างสรรค์จะทำก็ทำได้ไม่ทำก็ได้

         ถึงเวลาแล้วที่มหาวิทยาลัยจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่มีความสมดุลระหว่างภารกิจสองด้านนี้ที่สำคัญคือ คนที่มีความสามารถสูงจะต้องได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจด้านการพัฒนาสร้างสรรค์มากขึ้น  มีการจำแนกแยกแยะคนตามความสามารถในการสร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์ อำนวยความสะดวกในการทำงานสร้างสรรค์  และให้การตอบแทนสูงต่อการสร้างสรรค์

         งานสร้างสรรค์ที่ก่อผลต่อสังคมส่วนรวมในลักษณะผลระยะยาวจะต้องมีค่าตอบแทนสูงเท่าหรือสูงกว่างานสร้างสรรค์ที่ก่อผลต่อภาคเอกชนหรือที่เป็นผลระยะสั้น จะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการจำแนกแยกแยะผู้ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานพัฒนาสังคมระยะยาวอย่างมีคุณภาพให้ได้ และต้องสร้างระบบค่านิยมที่ยกย่องผลงานในลักษณะนี้ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจและให้ค่าตอบแทนที่สูงพอ

         ที่เสนอมานี้ไม่ได้หมายความว่า งานประจำไม่สำคัญ งานแต่ละอย่างมีความสำคัญในตัวของมันเอง แต่งานสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ทำยาก ต้องใช้สมองชั้นเลิศ และต้องมีฉันทะมีความอดทนยิ่งงานสร้างสรรค์ต่อสังคมภาพรวมยิ่งทำยากและขาดแคลนเป็นอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ

         บทความพิเศษ ตอน 4 (3) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2802 (106) 23 พ.ค. 39 พิเศษ 6(บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7048เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2005 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท