ระดับความตระหนักที่เหมาะสม


ความตระหนักนี้ต้องเป็นความตระหนักร่วม ฐานที่มาต้องมาจากกระบวนการที่ดีที่ได้ความตระหนักในปัจเจก หลอมรวมกันเป็นความตระหนักร่วม ซึ่งอาจจะถูกส่งผ่านไปรวมกันยังแหล่งที่เป็นพลังการเมืองเพื่อก่อเกิดเป็นนโยบายสาธารณะ

     เวลาที่เราจะคิดจะแก้ไขปัญหาหรือคิดที่จะพัฒนาประเด็นใด ๆ ในสังคม เราเคยนึกถึงระดับความตระหนักที่เหมาะสมว่าควรจะเป็นเท่าไหร่อย่างไรไหม? ผมเขียนบันทึกนี้ด้วยเหตุผลที่วันนี้ได้ติดตามย้อนรอยอ่านบันทึกใน Gotoknow.Org หลังจากที่ไม่ค่อยได้ติดตามอ่านอย่างสม่ำเสมอมานาน ผมพบประเด็นที่ทำให้ Get เรื่องนี้ขึ้นได้เมื่ออ่านแล้วพบการเรียกร้องในหลาย ๆ บันทึก หรืออาจจะเรียกว่าบ่น ๆ ผ่านบันทึกของ Blogger หลาย ๆ ท่านด้วยกัน พอสรุปได้ว่าปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ หรือการพัฒนายังไปไม่ถึงไหน เพราะผู้บริหารบ้าง ผู้มีอำนาจบ้าง หรือบางทีก็เพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้ปฏิบัติด้วยกันไม่ค่อยเห็นความสำคัญ หรือเห็นความสำคัญแต่ไม่เป็นไปในทางเดียวกัน เรียกว่า Focus Point ไม่แม่นพอ จึงไม่เกิดพลังในการจัดการ เป็นต้น

     ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของไอน์สไตน์ ที่เคยผ่านการรับรู้มาแต่จำไม่ได้ชัดนักว่า การจะแก้ปัญหา จะแก้ด้วยความตระหนักในระดับเดียวกันกับที่ทำให้เกิดปัญหามันไม่ได้ ต้องใช้วิธีที่เหนือกว่านั้นมาแก้ไข จึงจะจัดการลงได้ แต่พอนึกแล้วผมก็ยังแย้งในใจอีกว่าแล้วหากใช้มากเกินไปจะดีไหม ตอบเองว่าไม่น่าจะดีนัก อะไร ๆ ที่เกินพอดีเกินไปเราถูกสอนให้เชื่อว่าไม่น่าจะดีเหมือนกัน (เน้นว่าถูกสอนมา แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นกับทุกเรื่องไหม) นี่ก็เหมือนกันโดยส่วนตัวนะ ที่เก็บมาคิดเพราะเห็นว่าเป็นคำพูดของบุคคลสำคัญที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตและเป็นที่ยอมรับ เอาเป็นว่าผมเชื่อท่านก่อนในตอนนี้

     แล้วระดับของความตระหนักที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา หรือคิดจะพัฒนา อยู่ที่ตรงไหน หากเชื่อตามที่ท่านไอน์สไตน์ว่าไว้ก็ต้องมากกว่าระดับเดิมที่ถูกทำให้เกิดปัญหาขึ้น และผสมความเชื่อแบบภูมิปัญญาไทยว่าต้องพอดีไม่เกินไป ต่อคำถามที่ถามตัวเองว่าระดับใด หากให้ตอบเชิงคณิตศาสตร์ ขอยอม ไม่ขอตอบ แต่โดยส่วนตัวมองเห็นอยู่ช่องทางหนึ่งคือ ความตระหนักนี้ต้องเป็นความตระหนักร่วม ฐานที่มาต้องมาจากกระบวนการที่ดีที่ได้ความตระหนักในปัจเจก หลอมรวมกันเป็นความตระหนักร่วม ซึ่งอาจจะถูกส่งผ่านไปรวมกันยังแหล่งที่เป็นพลังการเมืองเพื่อก่อเกิดเป็นนโยบายสาธารณะ ส่วนจะเป็นระดับพื้นที่ ท้องถิ่น หรือระดับชาติ ก็แล้วแต่ขอบเขตของปัญหาหรือประเด็นการพัฒนานั้น ๆ แล้วแต่กรณี ความสำคัญอยู่ตรงที่เราได้ความตระหนักร่วมมานั้นจริงหรือไม่ หรือเพียงถูกแอบอ้างทางวิชาการเท่านั้น

 

หมายเลขบันทึก: 70371เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2006 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
ขอบคุณการกลับมาอีกครั้งค่ะ คิดเหมือนกันว่าอยากให้มีใครสักคนมาช่วยดึงประเด็นอะไรแบบนี้ อัศวินม้าขาว (แต่ตัวดำ...แซวเล็กน้อย..) แห่ง GotoKnow กลับมาแล้ว....อย่าหนีหายไปไหนอีกนะคะ ....คิดถึงความคิด ความเห็นแบบนี้มากๆเลยค่ะ
อ่านไปอ่านมาหลายรอบ...ขอ save ไปอ่านอีกหลายรอบเดี๋ยวจะเข้ามาใหม่คะ

พี่โอ๋ ครับ

     แซวกันได้ ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ ตัวขาว ซะเมื่อไหร่กันล๊ะครับ
     วันนรี้ผมใช้เวลาอ่านบันทึกย้อนหลังนานพอสมควรครับ Get ได้หลายประเด็นมาก แต่ผมใช้เน็ต GPRS (ที่ต่อเสาสัญญาณมือถือด้วย) มาตลอดในช่วงหลัง ๆ หลุดบ่อย และช้ามาก เลยแปลงเป็นบันทึกได้น้อยลงครับ

พี่เมตตา ครับ

     หากมีตรงไหนที่ทำให้เข้าใจยากบอกด้วยนะครับจะได้ปรับ ก่อนหน้าจะตอบ คห.พี่ผมแก้ไขคำผิดไป 2 จุด ซึ่งน่าจะทำให้อ่านแล้วงงนะครับ หรือว่าแก้ไขยังไงก็อ่านยากอยู่ดี (ยิ้ม)

พี่ตามอ่านงาน ยากๆ ของเธอเสมอ...พยายามทำความเข้าใจสิ่งยากๆ..พี่จะได้ฉลาดไง..จ๊ะ...

พี่เมตตา ครับ

     ยากจริง ๆ เหรอครับ ผมว่าก็งั้น ๆ นะพี่ พี่ว่าควรปรับตรงไหนบ้างดีล๊ะครับ บอกทางเมล์ก็ได้นะครับ

เป็นประเด็นที่น่าสนใจดีค่ะ   แต่มองอีกแง่หนึ่ง บางทีถ้าทุกคนแก้ปัญหาของตัวเองให้ดีแล้วซึ่งนั่นก็คืออยู่อย่างมีความสุขโดยไม่เบียดเบียนใครและเกื้อกูลคนอื่นเท่าที่ทำได้  ปัญหาของสังคมก็คงจะน้อยลง   

ซึ่งถ้าหากแค่ตระหนักรู้และพยายามแก้ปัญหาของตนเอง ก็ค่อนข้างจะยาก   ยังคิดว่าตนเองยังทำไ้ด้ไม่ดีนักค่ะ  อยากจะใช้ศักยภาพของตนเองให้เป็นประโยชน์ให้มากกว่านี้ คิดว่าการประพฤติปฏิบัติตามของคนอื่นนั้นเขาดูจากการกระทำของเรา  ถ้าเราปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว  เราก็จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้สังคมดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะไปแบบช้า ๆ ก็ตาม   

อยากเห็น ทฤษฎีความตระหนัก อย่างเป็นบทความวิชาการน่ะค่ะ พอจะหาให้ดูได้บ้างมั้ยคะ

ความตระหนักนี้ต้องเป็นความตระหนักร่วม ฐานที่มาต้องมาจากกระบวนการที่ดีที่ได้ความตระหนักในปัจเจก หลอมรวมกันเป็นความตระหนักร่วม ซึ่งอาจจะถูกส่งผ่านไปรวมกันยังแหล่งที่เป็นพลังการเมืองเพื่อก่อเกิดเป็นนโยบายสาธารณะ

....

ความสำคัญอยู่ตรงที่เราได้ความตระหนักร่วมมานั้นจริงหรือไม่

เห็นจริงด้วยค่ะ ทุกสิ่งอย่างต้องมาจาก ความจริงใจ

ความตระหนักต่อเป้าหมายรวม บนพื้นฐานจุดยืน หลักการเดียวกัน

....

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ให้เข้าใจ...ในการตะหนักร่วม หรือ ร่วมกันตระหนัก

ขอบคุณนะคะช่วยกระตุ้มต่อมคิดให้ได้คิด ......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท