โครงการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งโหลง


อัมพร เอ้งฉ้วน และคณะ
ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลกระบี่

-ชมรม ผู้สูงอายุบ้านทุ่งโหลง ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2547 เท่าที่ผ่านมาการจัดกิจกรรมของชมรมมีเพียงปีละ 2 ครั้ง คือ กิจกรรมวันปีใหม่ และวันสงกรานต์ ต่อมาสมาชิกเห็นว่า ควรจะจัดให้มีกิจกรรมของชมรมอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

- ใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA Cycle) เป็นกรอบในการทำงาน และอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกรอบแนวคิด

- จากการวิเคราะห์จุดแข็งพบว่า ชมรมมีทุนทางสังคม คือ ประธาน ซึ่งเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลและรองประธานอีก 2 คน มีประสบการณ์ในการทำงานกลุ่ม ทำประชาคม ผู้นำทั้งสามคนได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จัดให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมเวทีประชาคม ร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการและวางแผนกิจกรรมประจำปี โดยมีมติให้จัดกิจรรมตามเทศกาลเพิ่มเติมและมีกิจกรรมที่จัดเป็นประจำ เช่น การเล่นเปตอง รำไทเก๊ก และฟังเทศน์ ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน โดยให้มีการสลับกันระหว่างศาสนาพุทธและอิสลาม

- เงื่อนไขของความสำเร็จ เกิดจากการได้รับการยอมรับจากชุมชน เพราะเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานในพื้นที่นี้มานาน ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การปรับเปลี่ยนบทบาทของเจ้าหน้าที่ และการใช้หลักการมีส่วนร่วม ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และที่สำคัญคือ การเข้าใจบริบทของชุมชน และใช้ต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร
หมายเลขบันทึก: 70342เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2006 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท