ทฤษฎีกับการวิจัย


ความหมายและความสำคัญของทฤษฎีเชิงประจักษ์

ทฤษฎี(เชิงประจักษ์) คือข้อความ(หรือสัญลักษณ์บางอย่าง)สองตอน ตอนแรกกล่าวถึงสิ่งที่สังเกตไม่ได้ ตอนหลังกล่าวถึงสิ่งที่สังเกตและวัดได้  เราสามารถนำข้อความตอนหลังไปเขียนเป็นสมมุติฐาน  แล้วนำไปทดสอบด้วยกระบวนการวิจัยเชิงประจักษ์  ผลที่ได้จะเป็นการทดสอบทฤษฎีนั้น  ถ้าผลสนับสนุนทฤษฎี ๆ ก็ยังไม่ผิด  เราสามารถนำทฤษฎีนั้นไป อธิบาย และพยากรณ์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ทฤษฎีนั้นอธิบายได้  และข้อความของสมมุติฐานที่ทดสอบนั้นก็กลายเป็นความรู้ใหม่  เรียกกันว่าองค์ความรู้ใหม่  ความรู้ใหม่นี้ถ้า้นำไปบันทึกในพจนานุกรมของศาสตร์สาขานั้น  พจนานุกรมของสาขานั้นก็หนาขึ้น  ทฤษฎีหนึ่งๆเราสามารถที่จะนิรนัยไปเป็นสมมุติฐานได้มากมาย  มันจึงเป็นตัวท้าทายนักวิจัยให้ได้สมมุติฐานไปทำการวิจัยได้มากมายเช่นกัน  ดังนั้น อาจารย์ที่สอนระดับบัณฑิตศึกษาจึงควรไฝ่ใจสร้างทฤษฎีกันให้มากๆ  เพื่อท้าทายและช่วยนักศึกษาให้ได้เรื่องวิจัยเร็วขึ้น จบการศึกษาเร็วขึ้น และทั้งยังท้ายทายนักวิจัยทั่วไปอีกด้วย

อนึ่ง ขอย้ำว่า  ทฤษฎีเป็นสิ่งที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา เราจึงไม่พูดว่า คนนั้นคนนี้ ค้นพบทฤษฎีนั้นทฤษฎีนี้  เพราะว่าถ้าใช้คำว่าค้นพบก็จะหมายถึงว่า  ในธรรมชาติมีทฤษฎีอยู่ก่อนแล้ว  รอให้เราไปพบมัน  ซึ่งแท้จริงไม่ใช่

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 7029เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2005 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
หนึ่งร้อยปีแห่งความเหงา

ผมเคยอ่านการ์ตูนเรื่องหนึ่งครับ...

มันมีอยู่ว่า มีหมาตัวหนึ่งคิดค้นสูตรการทำเค้กโครงกระดูกไก่...

แล้วก็มีหมาอีกตัวพูดว่า สูตรการทำเค้กโครงกระดูกไก่นั้น มีอยู่แล้ว เพียงแต่...

เพียงแค่ว่า รอคอยใครบางคนค้นพบก็เท่านั้นเอง

เช่นกัน...หากผมเกิดสร้างสรรค์ทฤษฏีใหม่ขึ้นมาแล้วประกาศว่า "ข้าพเจ้าเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฏีนี้"

ในขณะที่เมื่อ 2,000 ปีก่อน เกิดมีมนุษย์ผู้หนึ่งบังเอิญสร้างสรรค์ทฤษฏีขึ้นมาใหม่ เหมือนของผม เพียงแต่เขามิได้ป่าวประกาศ อืม...

นี่คือความคิดเห็นของผมครับ...

(1) เรื่องการ์ตูน  แต่ปัญหาไม่ใช่การ์ตูน  หมาตัวแรกเป็นผู้สร้างสูตร  ไม่ใช่ต้นพบสูตรนั้น  เพราะว่า สูตรที่ว่านั้นไม่ได้มีอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติที่รอให้ใครไปค้นพบมัน  หมาตัวแรกจะต้องรีบไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์สูตรนั้นทันที  แต่ถ้าคิดว่ามีสูตรที่เหมือนๆกันแบบพิมพ์เดียวกันนั้นอยู่ทั่วไปก่อนแล้วในธรรมชาติ   รอให้ใครๆก็ได้ไปพบมันแล้ว มันก็เป็นสิ่งสาธารณะ  จะไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้อย่างไร  (ต้องไปถามหมาตัวที่สองว่า  ที่เจ้าพูดอย่างนั้น  หมายความว่าอย่างไร?)

(2) ผู้สร้างทฤษฎีสองคนสร้างทฤษฎีอธืบายเรื่องเดียวกัน  แต่ต่างเวลากัน  และต่างก็ไม่รู้กัน  คนหลังจะประกาศว่าเขาเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีนี้ ได้หรือไม่?  (คุณไม่ได้บอกว่าเป็นทฤษฎีเชิงประจักษ์  หรือทฤษฎีเชิงแบบแผน  เอาเป็นว่า เป็นทฤษฎีเชิงประจักษ์ก็แล้วกัน)

ทฤษฎีเชิงประจักษ์ ไม่ได้มีอยู่ก่อนแล้วในธรรมชาติเหมือนการมีอยู่ก่อนแล้วของ หมา แมว หิน ฯลฯ  ที่รอให้ใครๆไปค้นพบมัน ทฤษฎีเชิงประจักษ์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง  ไม่ใช่ค้นพบ  เหตุการณ์เดียวกันอาจจะมีทฤษฎีอธิบายหลายทฤษฎีก็ได้  อีกประการหนึ่ง  ไม่มีสิ่งใดที่เหมือนกันทุกประการ  ฉะนั้น คุณสามารถประกาศได้ทันทีว่า  คุณเป็นผู้สร้างทฤษฎีนั้น  และเป็นทฤษฎีใหม่  อีกคนหนึ่งก็ทำได้เช่นเดียวกัน  ถ้าจะได้รางวัล  ก็มีสิทธิ์ได้ทั้งสองคน

หนึ่งร้อยปีแห่งความเหงา

อืม...ครับ...แหะๆ บอกตามตรงว่าผมงง(ไม่)นิดๆครับ... ^_^

แต่ก็ขอบคุณอาจารย์มากเลยครับ ที่ช่วยตอบคำถามของผม

อาจารย์คงไม่รำคาญนะครับ... ^_^'

ไม่หรอก  ความคิดของคุณไม่ธรรมดาทีเดียวนะ  ทำให้ผมคิดในสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อนหลายอย่าง  และก้ออยากจะตอบเพิ่มเติมข้างบนอีกนิดหนึ่ง  คือ  เรื่องสูตรขนมเค้กที่ว่านั้น  ถ้าเป็นการค้นพบสูตรหรือกฎธรรมชาติจากเหตุการณ์ธรรมชาติ  ก็จะถือเป็นการค้นพบ(Discover)  เช่น ค้นพบธาตุทางเคมี  เราเรียกว่าค้นพบ  แต่ถ้าเรานำธาตุเคมีบางอย่างมาสังเคราะห์เป็นสูตรยา  อย่างนี้เรียกว่า เราสร้าง (บางคนยังเรียกว่าค้นพบอยู่ก็มี) ยาที่เป็นผลผลิตจากสูตรนี้  ก็เป็นสิ่งมนุษย์สร้าง  ไม่ใช่ค้นพบ เมื่อสร้างสูตรได้แล้วก็หวงแหนปิดบัง  หมาตัวที่สองของคุณข้างนี้น่าจะสืบพันธุ์มาจากหมาข้างเตียงของพลาโตก็ได้ จึงไม่ใช่หมาในการ์ตูนธรรมดา นะครับ  คือ มันอาจจะเคยได้ยินเรื่อง Two-World Theory ของพลาโตมาก็ได้ ครับ  น่าสนใจไม่น้อย
หนึ่งร้อยปีแห่งความเหงา

แหะๆ... อาจารย์ยั่วต่อมสงสัยของผมจริงๆครับ...

หากอาจารย์ว่างๆ รบกวนช่วยลงเรื่อง Two-World Theory

ให้ผมอ่านมั่งนะครับ...^_^

 

 

ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ  (1) หาดูได้จากหนังสือตำราประเภทที่ชื่อ Philosophy ต่างๆ โดยเปิดดูคำว่า  Two-World Theory, Universal, or Universals Theory, or Theory of Universals ของเพลโต,or Problem of Universals, จาก Index ท้ายเล่ม  ก็น่าจะพบบ้าง และลองเปรียบเทียบกับ Theory of Universals ของ อริสโตเติลด้วย, (2) เปิดดูคำดังกล่าวจาก Dictionary of Philosophy, or Encyclopedia of Philosophy ก็ได้ ครับ. 

ถ้าผมจะเขียนเรื่องดังกล่าวลงในบล็อกนี้ ก็ไม่ได้ เพราะมันไม่เข้ากับหัวเรื่องว่า HUMAN MIND  ครั้นจะเขียนในรูปการตอบคำถาม ก็ยาวไป กินที่มาก  ผมได้รับอนุญาตไม่กี่ MB ครับ.

หนึ่งร้อยปีแห่งความเหงา

จะพยายามลองค้นดูครับ...

ขอบคุณมากครับ

ขอความกรุณาอาจารย์ตอบคำถามค่ะ อยากถามว่าทฤษฎีเหล่านรี้ คือ อะไร และขอยกตัวอย่างละเอียดหน่อยก็ดีค่ะ

1. Descriptive  analytical theory

2. Positive  theory

3. Empirical theory

4. Scientific  theory

ผมจะเริ่มจากทฤษฎีประเภทวิทยาศาสตร์(Scientific Theory) ครับ

คำ Electron, Id, Ego, แรงโน้มถ่วง,ปัญญา, เป็นคำเชิงทฤษฎี เพราะว่ามันชี้ถึงสิ่งที่สังเกตโดยตรงไม่ได้ แต่มันสามารถพยากรณ์ไปยังสิ่งที่สังเกตได้ที่เรียกว่า Imply   ถ้าเรานำคำประเภทนี้มาเขียนเป็นประโยค เรียงกันเป็นเรื่องราว มีเป้าหมายเพื่ออธิบายหรือพยากรณ์เหตุการณ์ธรรมชาติด้านหนึ่งด้านใด และตั้งชื่อตามด้านนั้นๆ ก็เรียกว่า  Scientific theory. Empirical theory,Positive theory ก็จัดอยู่ในประเภท Scientific theory. ทฤษฎีทั้งปวงในสาขาวิชา Physical sciences:(Physics,Chemistry,Geology), Biological sciences:(Zoology,Botany,Physiology), Social sciences: (Psychology,Economics,Politics,Social anthropology, Sociology), ล้วนแต่เป็นประเภท Scientific Theory ทั้งสิ้น

สำหรับ Descriptive Analytical Theory นั้น ต้องดูว่าเป็น Prior Analytics หรือว่าเป๋น Posterior Analytics  ถ้าเป็นอย่างแรก ก็มักจะไม่ใช่สาขา Science  ถ้าเป็นอย่างหลังก็มักจะเป็นพวก Science  ทั้งนี้ ต้องดูเหตุผลของผู้สร้างทฤษฎีนั้นๆด้วย เช่น Descriptive Theory of Auditee Risk Assessment, Analytical Theory of Light, ก็จัดเป็นพวก Science  แต่ Descriptive Set Theory, Analytical Theory of Curves ก็ไม่จัดเป็นพวก Science เป็นต้น.

คุณหนึ่งร้อยปีแห่งความเหงา  และคุณลดาวัลย์ ครับ สิ่งที่เราสนทนากันข้างบนนี้เมื่อหลายวันก่อน มีอยู่บ้างเล็กน้อยใน http://gotoknow.org/archive/2006/04/30/10/52/10/e26117 ถามีเวลาก็ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ

คุณโยม อาจารย์

เข้ามาอ่านแล้ว รู้เรื่องเลยครับ... "Prior Analytics หรือว่าเป๋น Posterior Analytics" นี้ ก็เดานะครับว่ามาจากแนวคิดของคานต์

เพราะอาตมาจบ ปรัชญา ..ถ้าไม่ได้เข้ามาอ่าน ก็ไม่รู้นะครับ ว่าเราพอรู้เรื่องทำนองนี้ 5 5 5

เจริญพร 

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ขอบพระคุณครับ  ดีใจจริงๆที่ได้สนทนากับนักปรัชญาครับ

นี่ก็เป็นข้อยืนยันได้ว่า  ศาสนาพุทธ แม้ว่าจะมีเป้าหมายเพื่อค้นหาหนทางการพ้นทุกข์ของมนุษย์ที่ถูกเล่นงานด้วย "ปัจจัย" แห่งความทุกข์อยู่ในโลกแห่งโลกียวิสัยก็ตาม  แต่ด้วยที่ "หนทางพ้นทุกข์"นั้น "สอดคล้องกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์"  จึงทำให้พระคุณเจ้า ซึ่งผมจะขอเรียกว่า "นักปรัชญา"นะครับ ได้สนใจปรัชญาในสายวิทยาศาสตร์ ได้อย่าง "คล้องจอง" ครับ  ผมปลาบปลื้มปีติเป็นล้นพ้นเลยครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

อาจารย์ไสวครับ...

 

อาจารย์ให้ คำอธิบายในส่วนขององค์ความรู้ใหม่...กับการสร้างทฤษฎี

 

กับการ ค้นพบความจริงของสิ่งที่มีอยู่แล้ว ได้เข้าใจมากขึ้นครับ...

 

ทำให้ผมเข้าใจอะไรบางอย่าง... ทฤษฎี...ไม่จำเป็นต้องใช่สัจจธรรม... สัจจธรรมเป็นทฤษฎีที่ไม่ต้องพิสูจน์ทดลองอีกแล้ว.... เพียงแต่รอให้ผู้คนเข้าไปพบเท่านั้น... 

คำว่า "สัจจธรรม"เข้าใจยากมากครับ  เพราะเป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก

ถ้าคำว่า "ต้นไม้หยั่งรากลงดิน"  เป็นสัจจธรรม  สัจจธรรมตามความหมายนี้ก็เป็น "ข้อเท็จจริง"  แล้ว ข้อความว่า "ทฤษฎี ไม่จำเป็นต้องใช่สัจจธรรม" นั้น ถูกต้องทีเดียวครับ

ตกลงคือถ้าไม่มีทฤฎีก้อไม่เกิดการวิจัยช่ายอ่ะป่าว?

- -*

แล้วทฤษฎีกับการวิจัยสัมพันธ์กันอย่างไร?

ตอบทีค่ะ

^^

ทฤษฎีกับการวิจัยมีดวามสัมพันธ์กันอย่างไร หรอค่ะช่วยตอยที..............

(๑) ถ้าไม่มีทฤษฎี ก็มีการวิจัยได้

(๒) ทฤษฎี ช่วยให้นักวิจัยนิรนัยสมมุติฐานไปทำการวิจัยได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท