สายธารความรู้สู่การเลี้ยงโคอย่างพอเพียง ตอนที่ 25 การทำเครื่องหมายโค


การทำเครื่องหมายจะทำให้สะดวกต่อการทำประวัติและบันทึกข้อมูลอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในด้านการดูแลรักษาและปรับปรุงพันธุ์

        เกษตรกรที่เลี้ยงโคทุกท่านจะตั้งชื่อให้โค เพื่อบ่งบอกความเป็นโคตัวนั้นตัวนี้ เหมือนบอกความเป็นตัวตนของคนเรา  แต่ไม่ใช่เครื่องหมายการตีตราจอง

        การที่โคแต่ละตัวมีชื่อ  ก็ง่ายต่อการจำของเจ้าของหรือคนเลี้ยงถ้ามีจำนวนไม่มาก  แต่ถ้ามีโคจำนวนมากอาจจะไม่ง่ายทั้งสำหรับคนเลี้ยงและคนอื่น  เพราะโคในฝูงบางครั้งก็มีลักษณะเหมือนกันมากจนแยกไม่ออก  ยกตัวอย่างโคก๋วยเจ๋งกับโคฉัตรตรีของครูบา รูปร่างหน้าตาและสีผิวเหมือนกันเด๊ะ แต่ต่างกันที่เพศเท่านั้นจึงทำให้รู้ได้ว่าตัวไหนเป็นตัวไหน  และที่ร้ายไปกว่านั้น โคบางตัวมีชื่อแต่ไม่มีข้อมูลประวัติ  ไม่รู้วันเกิด ไม่รู้พ่อ รู้แม่  ทำให้ยุ่งยากต่อการดูแลรักษาและคัดพันธุ์

      การมีชื่อของโคทำให้ไม่สามารถที่จะบอกข้อมูลของโคได้ทั้งหมด  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการทำเครื่องหมายประจำแต่ละตัว

      การทำเครื่องหมายส่วนใหญ่ทำกัน 2 ลักษณะ คือ

      1.  การทำเครื่องหมายฟาร์มหรือแหล่งที่มาของโค เช่น PC  เป็นโคที่มาจากฟาร์มปากช่อง ของกรมปศุสัตว์

     2.  เครื่องหมายประจำโคแทนการตั้งชื่อ จะแทนด้วยตัวเลข ส่วนใหญ่จะเป็นลำดับการเกิดและปีที่เกิด  แต่ไม่ต้องถึงขั้นลงเลข 13  หลัก เหมือนเรา ๆ ท่าน ๆ ให้ยุ่งยาก

     การทำเครื่องหมายจะทำให้สะดวกต่อการทำประวัติและบันทึกข้อมูลอื่น ๆ  เพื่อเป็นข้อมูลในด้านการดูแลรักษาและปรับปรุงพันธุ์

     วิธีการทำเครื่องหมายมีหลายวิธี  ขึ้นอยู่กับความสะดวก งบประมาณและความยุ่งยากในการลงมือ

    การติดเบอร์หู  มีหลายรูปแบบ ไม่ต้องผลิตเองถ้ายุ่งยากเพราะมีขายตามท้องตลาด มีทั้งทำด้วยโลหะ และพลาสติก  อาจมีเบอร์สำเร็จติดมาจากโรงงานหรือเขียนเอง  การติดก็ใช้คีมติดเบอร์ และให้ติดเบอร์บริเวณโคนหูและลึกจากขอบหูมากๆ  เพื่อป้องกันการเกี่ยวกับสิ่งของแล้วหลุดหาย  เมื่อเห็นเบอร์หูทีไร ก็อดไม่ได้ที่จะนึกไปถึงคนใส่ตุ้มหูทุกที

     การใส่โซ่แขวนคอ   มีขายกันทั่วไป เป็นแผ่นพลาสติกหรือยาง มีเบอร์บนแผ่น แขวนติดคอด้วยโซ่เหล็ก  ข้อดีเปลี่ยนเบอร์ได้ตามต้องการ แต่ถ้าโซ่ไปเกี่ยวกับสิ่งของต่าง ๆ อาจทำให้โคตายได้  ดังนั้นถ้าใช้โซ่ต้องระวังในเรื่องคอกและที่เลี้ยงไม่ให้มีสิ่งของที่ทำให้โซ่เกาะเกี่ยวได้ง่าย พูดง่าย ๆ ไม่ให้มีขอ มีตอ มีปุ่ม มีมุม เป็นดีที่สุด

     การเขียนด้วยสารเคมี  แต่ไม่คงทน ใช้ได้ประมาณ 2-3  เดือน  โยใช้ซิลเวอร์ไนเตรท 1/4  ช้อนชา ละลายน้ำหนึ่งแก้ว ใช้สำลีพันปลายไม่จุ่มสีเขียน จะทำให้ขนของโคเปลี่ยนเป็นสีนำตาลเข้มมองเห็นได้ชัดขึ้น

     การตีเบอร์ร้อน  โดยใช้เลขเบอร์ที่ทำด้วยโลหะนำความร้อนได้ดี เช่น เหล็ก ทองแกง ทองเหลือง หนาประมาณ 2 หุน กว้าง 3/4 นิ้ว ดัดเป็นตัวเลขตัวหนังสือตามต้องการ อย่าให้เป็นเหลี่ยมหรือมุม หรือเป็นวงติดกัน เพื่อระบายความร้อนและไม่ทำให้ผิวหนังร้อนมากจนหลุดออกทั้งแผ่น  และควรทาบบริเวณผิวหนังที่ไม่มีราคา เช่น โคนขาหลัง หัวไหล่   สำคัญเวลาทาบต้องให้โคอยู่นิ่ง และคนทาบต้องมือแม่นมั่นคง  ใช้เวลา 2-3 วินาที ไม่ควรใช้แรงกดมากเพราะจะทำให้ความร้อนกระจายลงไปในผิวหนังจะอักเสบเป็นแผลเน่าได้ ตีเบอร์เสร็จให้ใช้น้ำมันมะพร้าวชะโลมแผล จะช่วยระบายความร้อนและลดการอักเสบได้

      การตีเบอร์เย็น  เกษตรกรายย่อยทั่วไปไม่นิยมใช้เพราะต้นทุนสูงและเหมาะกับโคสีเข้ม วิธีการก็คือการใช้เลขเบอร์ที่ทำด้วยโลหะมาทำให้เย็นจัดจากน้ำแข็งแห้ง ใช้เวลา 25- 30  วินาที  จะทำให้เซลล์สีขนเสื่อม สีขนจะจางลงมองเป็นเป็นตัวเลขได้  วิธีนี้ไม่ทารุณสัตว์ ผิวหนังไม่เสียหาย

     การสักเบอร์หู จะคงทนและติดไปตลอดชีวิต แต่เวลาดูต้องจับโค เพราะเบอรืแบอยู่ในหูมองไกลไม่ชัด   โยใช้คีมที่มีเข็มตัวเลขเรียงเป็นชุดหนีบลงใต้ใบหูบริเวฯที่ไม่มีเส้นเลือดและขน หนีบเสร็จแล้วเอาหมึกจีนหรือหมึกอินเดียอิงค์ หรือหมึกสำหรับสักคนทาและขยี้ลงไปบนรอยสัก หมึกจะซึมเข้าไปในผิวหนัง

     การตัดหู   เป็นเครื่องหมายถาวรอีกแบบหนึ่ง แต่ไม่นิยมเพราะทำให้หูโคไม่สวยงาม  โดยเฉพาะโคหูงามทั้งหลายถ้าใช้วิธีนี้ราคาคงตกกราวรูด  จะใช้วิธีใช้คีมที่ทำให้รอยตัวเป็นรูปตัวอักษร ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ตามตำแหน่งของใบหูตามที่กำหนด

    ท่านใดจะเลือกใช้วิธีการทำเครื่องหมายแบบใด ก็ให้ขึ้นอยู่กับความสะดวกและประหยัดเป็นหลัก  แต่อย่าประหยัดมากถึงขนาดเขียนด้วยถ่านสีดำก็แล้วกัน

  ขอบคุณค่ะ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 70160เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2006 02:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • วิธีที่ อ.พันดากล่าวมาเป็นวิธีการของนักวิชาการ ที่เกิดในช่วงหลัง  แต่วัวอยู่คู่กับคนมานาน
  • โจทย์  คนสมัยก่อนเขาคิดเรื่องนี้อย่างไร
  • เขามีวิธีเลือกที่จะทำกี่วิธี  แต่ละวิธีมีความหมาย และแตกต่าง  หรือเหมือนกับวิธีคิด วิธีการในปัจจุบันอย่างไร

  คนสวยๆ 

ทำไมเลือกรูปที่ไม่สวยสักนิดมาขึ้นบล็อก

ใครถ่ายรูปให้

ทำด้อยศิลปขนาดนั้น

โธ่! ช่างทำกับดาได้

ไม่รู้ว่าวัวมันจะจำหน้าได้รึเปล่า

เรื่องนี้ต้องเอาเข้าประชุมแล้วละ

ถ่ายรูปยังไงถึงจะใกล้ความเป็นจริงที่สุด

ใครไปปลุกจากที่นอนมาถ่าย

หรือแอบถ่ายมาลงฮึ!

  เรื่องเบอร์หูควรมี

ความรู้จากนักวิชาการประกอบ / อธิบาย

ควรมีความคิดเห็น ความเข้าใจของชาวบ้านประกอบ

ความที่น่าจะเป็นต่อเรื่องนี้ เสนอเชิงวิธีการ

มีความสำคัญ/ความหมายระดับไหน  โจทย์ไว้ต่อยอด

เหมือนเสาไฟฟ้าต้นสุดท้าย

เบอร์หูก็สำคัญ  แต่เบอร์เนทแก้ไม่ได้

ต้องอาศัยฝีมืออาจารย์เทคนิคอีกรอบ

เข้าใจว่าตัวแจ็คที่เสียบเข้าเครื่องบกพร่อง

และการ์ดอาจจะมัปัญหา

ถ้าอยากจะทำบุญช่วงท้ายปีก็ชวนกันมาดูหน่อย

แล้วจะได้บุญทันทีที่บล็อกติดต่อได้ปกติ

เห็นด้วยกับครูบา 

ตกใจกับรูปใหม่  คิดว่าไม่ใช่พันดา

ผมเข้าใจว่าการทำเบอร์หู เป็นการพยายามจัดการข้อมูลสู่การเป็นสารสนเทศ  ของนักวิชาการ

ผมค่อนข้างแน่ใจว่า ชาวบ้านที่มีวัวเป็นฝูง รู้จักวัวของเขาทุกตัว  ผ่านสังคมวัว  เช่น ถ้ามีตัวใดไม่อยูในฝูงตอนจะต้อนกลับบ้าน วัวทั้งฝูงจะมีสัญญาณบอกว่ายังไม่พร้อมกลับเพราะเพื่อนมายังไม่หมด

ผมคิดตามประสาว่าถ้าเอาเรื่องเบอร์หูกับความรู้ชาวบ้านเรื่องสังคมวัว  มาตั้งวงคุยกัน  น่าจะสนุกดี

                       สวัสดีปีใหม่

เวลานำเสนองานอยากให้อ้างอิงแหล่งข้อมูล หรือคนที่ทำจริงด้วยครับ
  ปศุสัตว์ในปัจจุบันนี้รับทำงานนี้หรือเปล่าคะอาจารย์พันดา  เพราะถ้าหากให้ทำเองคนที่รักวัวมาก ๆ อาจจะมองข้ามความสำคัญของการทำก็ได้นะ เพราะสงสารวัว

  อยากอ่านความคิดเห็น ข้อมูลดีๆ

อยากเห็นใบหน้าดีๆสดใส

อยากให้ทั้ง 2 อย่างดูดี มีน้ำหนัก ทั้งภาพและสาระ

 ถ้าไม่มีภาพสวยๆ  เอาเป็ดย่างมาแลกที่นี่ได้

           ขอบพระคุณทุกท่านค่ะที่ติชมรูปที่สวยเกินตัว คงต้องเอาเป็ดไปแลกค่ะพ่อครู เพราะไม่นิยมถ่ายภาพตัวเองจึงไม่มีภาพที่ดีกว่านี้แล้วค่ะ

          การตีเบอร์จะสมบูรณ์เมื่อมีการจดบันทึกประวัติข้อมูลโคตั้งแต่ประวัติพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ วันคลอด อายุ การฉีดวัคซีน  จะเกิดประโยชน์ในแง่ของการจำหน่ายจ่ายแจกแก่คยอื่นไปเลี้ยงต่อจะสะดวกต่อการผสมพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และการดูแลรักษา  เพราะการจำของเจ้าของนั้นบางครั้งมีหลงลืมหรือข้อมูลอาจสูญหายไปกับตัวบุคคลได้

        การตีเบอร์ถ้ายังไม่ชำนาญควรอาศัยไหว้วานคนที่มีฝีมือทำให้หรือแจ้งไปที่สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่  ตอนนี้ปศุสัตว์บริการทุกระดับประทับใจแล้วค่ะ

       ขอบพระคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท