เขาจะมาทำหนัง 9 ม.ค.2550


                          เมื่อครู่ได้รับโทร.จากน้อง ๆ เล่าว่า ชาว ตปท.มาดูพี่น้องตองเหลือง  5 คน จะเอาเข้าป่า 7 วัน เริ่มถ่ายทำหนัง ( ภาพยนต์ )9 ม.ค.2550

                          ไม่รอช้า โทร.หา หน.ไก่ บอกว่ารับทราบแล้วและยินดีที่มาช่วยกันดูแลส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องตองเหลือง สำหรับการเข้ามา ที่เขาจะทำหนังนั้น ขอให้ช่วยกันดู เพราะเห็นว่า หากสื่อสารไปเรื่อยเปื่อย  ไม่เข้าใจจะกลายเป็นเรื่องวุ่นวาย ยุ่งยาก สับสนกันใหญ่

                           ได้โทร.หาคุณสุเมษฯ เลขาคณะทำงานภาคีจิตอาสาฯ  อีกบอกเล่าเหตุการณ์มาที่ได้รับฟัง  จะได้ให้ผู้รู้ในพื้นที่ไต่ถาม  แสวงหาข้อมูล  เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามความเหมาะสม 

                         ผมเองก็ยังไม่ทราบว่า การเข้ามาทำหนังสือของชาวต่างประเทศมีขั้นตอนอย่างไร  หรือใครนึกจะทำอะไรในเมืองไทยก็ได้โดยไม่ต้องมีหน่วยราชการใด ๆ กำกับดูแล  คงจำต้องหาความรู้ในส่วนนี้กันต่อไป.

หมายเลขบันทึก: 70106เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ชนตองเหลืองในป่าคอนกรีต กทม.
จะทำหนังทำไม   ควรจะถามไถ่  คุยกันให้เข้าใจอย่างถ่องแท้   ข้อมูลโดยทั่วไปก็มีอยู่เต็มฟ้าแล้ว   ผมคิดว่าควรคิดคำนึงถึง  ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแบบยั่งยืนจะทำอย่างไร  จะช่วยเขาหรือว่าดองเขาไว้ให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว  มุมมองตรงขบแตกกันหรือยัง  อยากทราบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคิดจะใด

ขอขอบคุณครับที่ทักทายเข้ามา   เมื่อผมรับฟังมา  เพื่อให้เป็นที่ปรากฏบนบล็อค  จึงเขียนบันทึกไว้อย่างชัดเจน

ขณะเดียวกันได้โทรประสานไปยังผู้เกี่ยวข้องว่า ขอให้ตรวจสอบในพื้นที่  เพื่อว่าจะได้ไม่ต้องมากล่าวกันที่หลัง

เรามักทำอะไรในลักษณะวัวหายแล้วล้อมคอกกันอยู่บ่อย ๆ  เช่นพวกทำดีก็ทำ ๆ  กันไป  แต่มีอีกพวกมาทำย้อนยุค  เรียกว่า ให้สร้างเรื่องจัดฉาก ๆ ๆ ๆ แล้วนำเสนอ   กลายเป็นว่า  เรื่องที่ถูกเสนอเป็นเรื่องเก่า ๆที่ดูเหมือนเขาถูกทอดทิ้งและถูกรังแก

ประเด็นต่าง ๆ ที่เล่ามาน่าสนใจและติดตามถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม  อย่างไรก็ดี  เมื่อบ่ายโมงกว่าวันนี้ผู้ใหญ่ใจดีที่รู้จักได้โทร.บอกเป็นเสียงสื่อไปยังผู้ใหญ่ในกรมประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ จะได้ไม่ต้องมาล้อมคอกกันภายหลัง

มีความเห็นจากกัลยาณมิตรต่างแดนครับ

1.   Vérifier les droits des TL sur leurs images. (En droit européen, la personne filmée doit avoir signé un contrat, donné son accord à l’utilisation commerciale et recevoir un salaire   pour son travail artistique). Cette situation est à comparer avec le droit thaï.

2.   Les TL sont des citoyens thaïlandais et peuvent seuls donner l’autorisation de filmer leur vie. Le Centre de développement et d’aide aux tribus doit les assister (aider) dans cette décision. Ils ne sont pas des monuments, mais des citoyens.

L’office du tourisme n’est probablement pas qualifié pour autoriser seul le tournage.

3.   Le film devrait comporter un avertissement précisant qu’il s’agit d’une mise en scène artificielle.

4.   Il est important que le Centre de développement et d’aide aux tribus puisse voir le film terminé avant sa diffusion et sa vente dans les circuits commerciaux. Demander la traduction exacte du commentaire de ce tournage.

5.   Essayer de négocier les royalties (droits financiers des acteurs) qui seront reversées aux TL.

Exemple : chaque passage d’un documentaire (non-fiction) d’une heure sur chaîne de télévision en France varie de 3 000 à 30 000€ (150 000 à 1 500 000 ฿ suivant l’importance de la chaîne.

แสดงความคิดเห็น โดย : ศาสตราจารย์ มาร์คเซล สปีโนซี่

Traduction

๑.  ควรตรวจสอบภาพต่าง ๆ ที่บริษัทญี่ปุ่นได้ถ่ายทำไปแล้ว (กฏหมายยุโรปนั้น, ผู้ที่ถูกถ่ายภาพจะต้องมีการตกลงทำสัญญาและลงลายมือชื่อ, พร้อมความเห็นชอบในการนำผลงานที่ได้ถ่ายทำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า และจะต้องได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ๑ เดือนสำหรับงานศิลปชิ้นนี้) ส่วนกฏหมายในลักษณะเดียวกันนี้ในประเทศไทยเป็นอย่างไรควรพิจารณาเปรียบเทียบให้เหมาะสม

๒. พี่น้องตองเหลืองก็เป็นพลเมืองของประเทศไทย พร้อมทั้งมีสิทธิตามกฎหมายในฐานะผู้ถือสัญชาติไทยด้วย แท้จริงแล้ว พวกเขาย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะอนุญาตให้มีการถ่ายทำฉากชีวิตของพวกเขา และ    ศูนย์พัฒนาและสงเคราะหฺ์ชาวเขา ที่จะเป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องการตัดสินใจ พี่น้องตองเหลืองไม่ใช่อนุสาวรีย์ แต่พวกเขาเป็นมนุษย์มีชีวิตจิตใจและเป็นพลเมืองไทย ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัดน่านอาจจะไม่ใช่หน่วยงานที่มีคุณสมบัติในการให้คำอนุญาตในการถ่ายทำภาพชีวิตของตองเหลืองครั้งนี้ แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

3.  ในเนื้อหาหรือบทนำของภาพยนต์ที่ถ่ายทำครั้งนี้ ควรจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่ใช่ภาพชีวิตที่แท้จริงของพี่น้องตองเหลือง หากแต่เป็นเพียงการจัดฉากที่จำลองหรือประดิษฐ์คิดเพิ่มเติมขึ้นใหม่เท่านั้น

๔.  ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งก็ คือ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จักต้องทำการตรวจสอบฟิลม์ตลอดทั้ง เรื่องจนจบ ก่อนที่จะมีการแพร่ภาพและนำไปขายให้แก่กลุ่มการค้าภาพ(รายการโทรทัศน์) เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะขอบทที่แปลภาพการถ่ายทำในครั้งนี้เป็นภาคภาษาไทยอย่างชัดเจน

๕.  ส่วนราชการที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องควรจะใช้ดุลพินิจในการต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่เป็นนักแสดง คือ พี่น้องตองเหลือง

ตัวอย่าง : แต่ละครั้งเมื่อมีการนำเสนอภาพสาระคดีผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศฝรั่งเศสนั้น ผู้ที่นำภาพมา เผยแพร่จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินครั้งละ ๓ พัน ถึง ๓ หมื่นยูโร หรือคิดเป็นเงินไทย ๑ แสน ๕ หมื่น ถึง ๑ ล้าน ๕ แสนบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน                                               

แปลและเรียบเรียงโดย : ยุวดี บุตรไวยวุฒิ

ขอสำเนาความคิดเห็นไปลงเว็ป นสพ.เสียงชาวน่าน

 http://www.chownan.com/webboard/generate.cgi?content=0038&board=board2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท