การวัดและประเมินผลทางภาษา(9)


10 ข้อของการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จึงเน้นไปที่การวัดและการประเมิน ซึ่งจะนำไปสู่การชี้ให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงของผู้เรียน และสภาพจริงของการเรียนการสอน เป็นการวัดผลที่เน้นการพัฒนาตน จากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างชัดเจน สะท้อนให้เห็นความสามารถอย่างหลากหลาย และสอดคล้องกับสมรรถภาพที่แท้จริงจากการลงมือปฏิบัติจริง ตัดสินและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

บันทึกที่แล้ว ชื่อบันทึกคือ  การวัดและประเมินผลทางภาษา(8)   ได้กล่าวถึง  กระบวนการจัดการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียน  ระบบการวัดและประเมินผลที่สถานศึกษาต้องดำเนินการ   จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเกิดความสอดคล้องกัน  หลักการสำคัญที่เราควรต้องพิจารณาในการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการเรียนรู้

แต่บันทึกนี้จะกล่าวถึง.....แนวทางในการวัดและประเมินผล

อ่านมาหลายบันทึกแล้ว  คงจะงงและรู้สึกขั้นตอนมันมากมายเหลือเกิน  อย่าเพิ่งท้อแท้  เพราะเรื่อง...การวัดและประเมินผลนี้  เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  ผลงานทางวิชาการ จะผ่านไปโดยง่ายดาย  ผู้ทรงคุณวุฒิจะเปิดอ่านตรงนี้ก่อนเลย.....

การประเมินผล  หรือ การทดสอบ  มีรูปแบบในการจำแนกมากมาย  จัดได้เป็นหลายแบบ  แต่ครูอ้อยจะเน้น เพียง 2 แบบง่ายๆเท่านั้น  คือ 

-   เป็นคำจำกัดความตามลักษณะการใช้ทดสอบ

-   แบ่งตามลักษณะของผู้สร้างแบบทดสอบ

การทดสอบที่จำแนกตามลักษณะการใช้มีหลายชนิด  เช่น

1.  การทดสอบเพื่อดูความพร้อมของนักเรียน (การทดสอบก่อนเรียน)  เพื่อดูว่า นักเรียนมีทักษะในการเรียนที่จำเป็นหรือไม่

2.  การทดสอบเพื่อวินิจฉัย  เพื่อดูสาเหตุ (ทางด้านกายภาพ  สติปัญญา)  ของปัญหาทางการเรียนที่มีอยู่

3.  การทดสอบเพื่อกำหนดการเรียน  เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าทางการเรียน  ให้ข้อมูลย้อนกลับ  เพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียน  เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียน

4.  การทดสอบเพื่อสรุปผล  ดูสัมฤทธิ์ผลในขั้นสุดท้าย  เพื่อให้ผลการเรียนหรือรับรองถึงความเชี่ยวชาญที่เกิดขึ้น

 ครูผู้สอนสามารถสร้างแบบทดสอบด้วยตนเองได้   การทดสอบเพื่อกำหนดการเรียนและการสรุปผล  จะเป็นแบบทดสอบที่ครูผู้สอนมักจัดทำขึ้นเอง 

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  และผสมผสานเข้าไปในวิถีชีวิตอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อม  ภายในบริบทที่เอื้อต่อการเรียนรู้  เป้าหมายการเรียนรู้  จึงมีลักษณะเป็นองค์รวมมากกว่าแยกเป็นส่วนๆ 

มุมมองของการวัดและประเมินผล  จึงปรับเปลี่ยนไปด้วย  ผลสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน  ไม่สามารถชี้ชัดได้ด้วยแบบวัดมาตรฐานอีกต่อไป 

แบบวัดมาตรฐานชนิด   เลือกตอบ  ไม่มีประสิทธิภาพในการวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อน  การคิดสร้างสรรค์  ทักษะการสื่อสาร  และการร่วมมือกันของผู้เรียน 

หมายเลขบันทึก: 70087เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณค่ะคุณหนิง ขอให้มีความสุขตลอดปีใหม่เช่นกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท