BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

๒. ก่อนปฏิบัตินิยม : จากยุคมืดสู่ยุคสว่าง


ปฏิบัตินิยม

ปรัชญาตะวันตก แบ่งเป็น ๔ ยุค คือ กรีกโบราณ กลาง ใหม่ และปัจจุบัน การจัดลำดับความคิดเพื่อความเข้าใจไม่ยากนัก ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นคนไทยและเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาก็จะใช้พุทธศักราชหรือ พ.ศ เป็นหลักจับประเด็น และใช้ ค.ศ. บ้างในการเทียบเคียง แต่ก็ใช้เป็นช่วงๆ มิได้มีความแม่นในเชิงตัวเลขเหล่านั้น...

ปรัชญากรีกโบราณ เริ่มต้นที่ ธาเลส ก๋อนพ.ศ.ประมาณร้อยปี มารุ่งเรืองที่สุดก็ยุค โซคราตีส พลาโต และอริสโตเติล ซึ่งโซคราตีสนี้ก็ราวๆ พุทธกาล ..อริสโตเติลเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอะเลกซานเดอร์ที่บุกมาถึงอินเดียตอนนี้จำง่ายๆ ว่าประมาณก่อนค.ศ. ร้อยปี หรือราว พ.ศ.สามร้อยกว่าๆ ...เมื่อหมดยุคอริสโตเติลและพระเจ้าอะเลกซานดอร์แล้ว ปรัชญากรีกก็ค่อยเสื่อมโทรมลง แต่การกำหนดปรัชญากรีกโบราณถือเอาว่า ไปสิ้นสุดในปีค.ศ.ห้าร้อยกว่าๆ เนื่องจากพระเจ้าจัสติเนียนสั่งปิดสำนักปรัชญาทั้งหมดที่สอนขัดแย้งกับคริสตศาสนา

ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง เริ่มศึกษาตั้งแต่พระเยซูประสูติหรือศึกษาตั้งแต่แรกเริ่มของคริสตศาสนาเป็นสำคัญ ยุคกลางนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ายุคมืด เพราะปรัชญาลดฐานะไปเป็นสาวใช้เพื่อคอยรับใช้เทววิทยา ช่วงของยุคกลางนี้พันกว่าปี มาเริ่มต้นยุคใหม่ที่นักปรัชญาฝรังเศษชื่อเดการ์ต และนักปรัชญาอังกฤษชื่อเบคอน นั่นคือ เปลี่ยนจากยุคมืดมาสู่ยุคสว่าง

มูลเหตุที่ทำให้ยุโรปเปลี่ยนจากยุคมืดมาสู่ยุคสว่างก็คือสงครามระหว่างอาหรับกับยุโรป โดยกองทัพมุสลิมค่อยๆ แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามา กองทัพพาตำรามาด้วย นั่นคือ แนวคิดของอริสโตเติลซึ่งพวกอาหรับรักษาไว้ก็ค่อยๆ คืบคลานเข้ามายังยุโรป การศึกษาในยุโรปค่อยๆ เจริญขึ้น มีการถกเถียงกันในเชิงความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งประเด็นสำคัญก็คือเรื่องความมีอยู่ของพระเป็นเจ้า หรือเรื่องสิ่งสัมบูรณ์ จนกระทั้งเดการ์ตสงสัยข้อถกเถียงเหล่านั้น ไม่เชื่อใคร เชื่อเพียงตัวเอง (คำพูดของเดการ์ต ฉันคิด ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่) ส่วนเบคอนก็อ้างว่าสาเหตุที่ถกเถียงกันเพราะสภาพแวดล้อมหรือบริบทแตกต่างกันนั่นเอง

เดการ์ดชาวฝรั่งเศษ เบคอนชาวอังกฤษ นับว่าเป็นความคิดเห็นแยกกระแสออกมาและเป็นการเริ่มต้นของยุคสว่างหรือยุคใหม่ ต่อมาแนวคิดทั้งสองนี้ก็พัฒนการเป็นการถกเถียงเรื่องทฤษฎีความรู้ อังกฤษและฝรั่งเศษพัฒนาการไปทุกด้าน จะเห็นได้จากการล่าอาณานิยมเป็นต้น ส่วนที่เจริญสูงสุดก็คือการถกเถียงเรื่องทฤษฎีความรู้นี้เอง และราวสองสามร้อยปีต่อจากนั้น กระแสแนวคิดเหล่านี้ก็ไปพัฒนาต่อที่อเมริกา กลายเป้น ปฏิบัตินิยม

ถามว่า พวกเค้าเถียงกันในประเด็นใด ก็ต้องรออ่านหัวข้อต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #ปฏิบัตินิยม
หมายเลขบันทึก: 70079เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ถ้าในสมัยนั้นมีเว็บไซต์ อย่าง gotoknow.org ก็คงโต้เถียงอภิปรายกันสนุกน่าดูทีเดียว นะครับ

ไม่มีรูป

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

 

รู้สึก ปลื้ม ที่อาจารย์เข้ามาทิ้งร่องรอยไว้...

ในยุคโน้นจะเป็นอย่างไร ? พวกเราก็ไม่อาจรู้ได้ เพียงแต่มี ชุดคำอธิบาย ซึ่งพวกเราได้เรียนรู้และเล่าต่อๆ กันมาเท่านั้น...

ถ้าว่าเรื่องการ โต้เถียงอภิปราย ... อาตมาว่า การเทศน์ปุจฉา-วิสัชชนา ๒-๓  ธรรมาสน์ น่าจะเป็นรูปแบบที่โบราณาจารย์ของเราได้คิดค้นและสร้างไว้ดีแล้ว เพียงแต่การนำมาใช้ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นไปตามที่ควรจะพึงมีพึงเป็นให้เหมาะสมกับยุคสมัย เท่านั้น

เจริญพร 

นางสาวสุกัญญา แข็งขันธ์

หนูกำลังหางานเกี่ยวกับยุคต่างๆซึ่งเป็นวิชามนุษย์กับสังคม จึงอยากให้พระอาจารย์ช่วยให้ข้อมูลที่มากกว่านี้หน่อยค่ะ ขอบคุณพระอาจารย์มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท