การวัดและประเมินผลทางภาษา(8)


จากแนวการศึกษา...ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 22 กำหนดว่า ...การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

บันทึกที่แล้ว.....ครูอ้อยได้กล่าวถึง....จากแนวการศึกษา...ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542  และ  มาตรา 26 กล่าวว่า  ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน ฯ ตามบันทึกนี้  การวัดและประเมินผลทางภาษา(7)

ดังนั้น  บันทึกนี้จะกล่าวถึง  กระบวนการจัดการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียน  ระบบการวัดและประเมินผลที่สถานศึกษาต้องดำเนินการ   จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเกิดความสอดคล้องกัน  หลักการสำคัญที่เราควรต้องพิจารณาในการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการเรียนรู้คือ

1. การวัดและประเมินผล  มีลักษณะเป็นกระบวนการ  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุถึงความรู้และความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนด

2.  เน้นคุณลักษณะและความสามารถของผู้เรียนป็นภาพรวม

3.  ให้มีผลการประเมินได้แสดงถึง  การปรับปรุงการสอนของครูผู้สอน  และความสำเร็จตามเป้าหมายของหลักสูตร

4.  วัดความสามารถในการนำความรู้ทักษะไปใช้ในชีวิตจริง

5.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย

6.  ไม่แยกกระบวนการวัดและการประเมินผลออกจากการเรียนการสอน

7.   ให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้เรียนแต่ละคนรู้จักตนเอง  เห็นแนวทางที่จะปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น  และเน้นความพึงพอใจในสภาพของตน

8.  เน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ในการให้ข้อมูลตรวจสอบและทบทวนซึ่งกันและกัน

9.  เน้นการวัดกระบวนการเท่าๆกับการวัดผลผลิตของกระบวนการ

10.  เน้นการวัดที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ความคิดพิจารณา  ไตร่ตรองการใช้เหตุผล  และการแก้ปัญหา

ที่ครูอ้อยกล่าวมาทั้ง 10 ข้อนี้  เป็นการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จึงเน้นไปที่การวัดและการประเมิน ซึ่งจะนำไปสู่การชี้ให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงของผู้เรียน  และสภาพจริงของการเรียนการสอน  เป็นการวัดผลที่เน้นการพัฒนาตน  จากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างชัดเจน  สะท้อนให้เห็นความสามารถอย่างหลากหลาย  และสอดคล้องกับสมรรถภาพที่แท้จริงจากการลงมือปฏิบัติจริง  ตัดสินและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

การใช้กิจกรรมการประเมินตามสภาพจริงจะช่วยให้ค้นพบได้ว่า  นักเรียนเรียนรู้สิ่งนั้นหรือไม่...เพียงใด 

ข้อมูลที่นำมาประเมินต้องมาจากแหล่งต่างๆด้วยวิธีการที่หลากหลาย 

แนวการประเมินเช่นนี้  ช่วยเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอน  และการวัดและประเมินผล  ให้สัมพันธ์เป็นเนื้อเดียวกัน  ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป  ตลอดช่วงระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอน  ไม่แยกการประเมินออกไปเหมือนที่เคยจัดการเรียนรู้มา  และเป็นที่คาดหวังว่า  วิธีการประเมินแบบนี้จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างต่อเนื่อง

 

หมายเลขบันทึก: 70056เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท