หลักสูตรท้องถิ่น "ไทยทรงดำ"


ไทยทรงดำ
         จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 หมวด  4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 27      ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิต  และการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ   ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร  ตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง  ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคมและประเทศชาติ  มาตรา 29  ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล   ครอบครัว ชุมชน     องค์กรชุมชน    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น   ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชนมีการศึกษาอบรม  มีการแสวงหาความรู้  ข้อมูล  ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการรวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน            กระทรวงศึกษาธิการ ( 2540  : 5 )  กล่าวว่า ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ให้ท้องถิ่นปรับรายละเอียดเนื้อหาของรายวิชาให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น  ส่งเสริมให้ท้องถิ่นจัดทำรายวิชาที่สนองความต้องการของท้องถิ่น    ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ต้องจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาสภาพแวดล้อม และความต้องการของท้องถิ่นในด้านต่างๆ รวมทั้งให้ท้องถิ่นปรับรายละเอียดเนื้อหาของรายวิชาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น  ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รู้จักท้องถิ่น  เกิดความรัก  ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน   นอกจากการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับชีวิต  อาชีพ  เศรษฐกิจ   และสังคมของท้องถิ่นแล้วต้องนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น   ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วย   เพราะจะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงกับชีวิต  สภาพเศรษฐกิจ    สังคม  และสิ่งแวดล้อมที่แท้จริงจนสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรฉบับปรับปรุงที่แท้จริง   จากเจตนาของหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น  จึงทำให้สถานศึกษาแต่ละแห่งสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเป็นของต้นเองโรงเรียนหนองรีประชานิมิต ตำบลหนองรี   อำเภอบ่อพลอย  จังหวัดกาญจนบุรี  ในฐานะหน่วยงานทางการศึกษาได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน  จึงจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง ไทยทรงดำขึ้น เนื่องจากสภาพชุมชนใกล้ๆโรงเรียนหนองรีประชานิมิตมีชาวไทยทรงดำในหมู่บ้านลำตะเพิน  เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่น่าสนใจ  โรงเรียนจึงได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง ไทยทรงดำ เพื่อจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของไทยทรงดำ สภาพแวดล้อม ถิ่นอาศัย วิถีชีวิต ประเพณีดั้งเดิม ศิลปวัฒนธรรม การประกอบอาชีพหลัก  เหตุการณ์สำคัญๆในชุมชนไทยทรงดำ รวมทั้งแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของไทยทรงดำไว้เป็นมรดกของชาติความเป็นมาของไทยทรงดำ  นุกูล  ชมภูนิช ( 2538 :  6 ) กล่าวว่า ไทยทรงดำ หรือ โซ่ง หรือลาวโซ่ง รู้จักกันในนามของ ผู้ไทดำ ซึ่งอพยพมาจากแคว้นสิบสองจุไท ตั้งบ้านเรือนที่เมืองเพชรบุรี ในปี พ.. 2322   สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและอพยพมาอีกระยะหนึ่ง  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3  และเรียกกลุ่มชนเหล่านั้นว่า โซ่ง หรือ ซ่ง ความจริงแล้วชนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนลาวในประเทศลาว แต่เป็นชาวไต หรือไทดำ ที่มีถิ่นฐานอยู่ทางเมืองแถงในแคว้นสิบสองจุไทตอนเหนือของเวียดนาม สาเหตุที่มาอยู่ในเมืองไทยนั้นเนื่องมาจากเมื่อครั้งแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯให้พระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพไปปราบเวียงจันทน์   ได้กวาดต้อนครอบครัวไทดำในเมืองแถงมาด้วยทรงโปรดเกล้าฯให้อพยพครอบครัวไทดำไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองเพชรบุรีตั้งแต่บัดนั้นมา  ชาวพื้นเมืองเห็นว่าเป็นผู้ที่เดินทางมาจากเวียงจันทน์ประเทศลาว จึงเข้าใจว่าเป็นชาวลาว ชาวไทดำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกนั้นตั้งหลักแหล่งอย่างมั่นคงที่หมู่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  ซึ่งเป็นบริเวณป่าที่ดอน ต่อมาได้กระจายไปยังต่างจังหวัด เช่น ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี  สุพรรณบุรี พิจิตร จะเห็นได้ว่าไม่ลงทางใต้เลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวไททรงดำรู้ว่าถิ่นเดิมของตนคือเมืองแถง บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของไทยทรงดำ  จะสร้างด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายจากท้องถิ่นเป็นสำคัญ เช่น ไม้ไผ่ ต้นไม้ต่างๆ หญ้า กล่าวคือ เสาทำด้วยต้นไม้ทั้งต้น ซึ่งมักเป็นไม้เนื้อแข็งเลือกเอาต้นไม้ที่ง่ามสำหรับวางคาน  พื้นเรือนมักจะทำจากฟากสับที่ทำด้วยไม้ไผ่ทุบให้แบนเป็นชิ้นๆ  แผ่ออกเป็นแผ่นติดกัน หรือไม่ก็กระดานไม้จริงซึ่งเลื่อยและถากเป็นแผ่น   หลังคาและปีกนกท้ายบ้านลากลงมาเสมอพื้นเรือนคลุมผนังบ้านรอบทุกด้าน มีคุณสมบัติป้องกันลมหนาวที่พัดแรงได้ด้วย  ทั้งนี้เพราะถิ่นดั้งเดิมของชาวไทยทรงดำนั้นอยู่ในเขตอากาศค่อนข้างหนาวมาก่อน  ที่ยอดจั่วมีการประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นกิ่งคล้ายเขากวางไขว้กัน เรียกว่า  ขอกุด  ใต้ถุนบ้านจะเปิดโล่ง   สำหรับเป็นที่ทอผ้า  ตำข้าว  สีข้าว  เลี้ยงหมูและเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา  มุมหนึ่งของเสาบ้านจะเป็นที่เซ่นไหว้ผีเรือนทุกๆ 5 และ 10 วัน เรียกว่าปาดตง  โดยมีขันน้ำและชามข้าววางอยู่เป็นประจำ  สิ่งที่สร้างคู่กับบ้านของไทยทรงดำคือ  ยุ้งข้าวการแต่งกายของไทยทรงดำ  ผู้ชายจะใส่กางเกงขาสั้นปลายขาแคบเรียวยาวแค่ปิดเข่า  ขอบกางเกงเอวกว้างแบบกางเกงจีน  การตัดเย็บคล้ายกางเกงจีน เรียกว่า ส้วงขาเต้นหรือ ส้วงก้อม และใส่เสื้อฮีชาย  เป็นเสื้อชุดใหญ่หรือชุดพิเศษ สำหรับงานในพิธีโดยเฉพาะ เช่น ใช้ในการประกอบพิธีเสนเรือน แต่งงาน งานศพ ตัดเย็บด้วยด้ายสีดำ ประดับตกแต่งด้วยเศษผ้าไหมชิ้นเล็กๆ สีแดง ส้ม ขาว เขียว  ตรงสาบชายเสื้อ ปลายแขนและใต้รักแร้การแต่งกายของผู้หญิงจะสวมผ้าซิ่น เป็นผ้าถุงสีดำ พื้นมีลายสีขาวขนาดเล็กๆยาวตามแนวตั้ง  ทอด้วยเส้นด้ายสีดำสลับสีขาวหรือสีฟ้าอ่อน  เสื้อก้อมหญิง  เป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอก  ตัวเสื้อเย็บเข้ารูป  คอตั้งผ่าหน้าตลอดติดกระดุมเงินถี่ๆเรียง 10 เม็ด ใช้ในโอกาสต่างๆทั้งในบ้านและนอกบ้าน การเดินทาง งานรื่นเริงและเป็นเสื้อประจำตัวของผู้หญิง  เสื้อฮี เป็นเสื้อคลุมยาวถึงเข่า  แขนยาวกว้าง คอแหลม ไม่ผ่าไหล่ สวมศีรษะเวลาใช้  เสื้อฮีใช้ในพิธีสำคัญ เช่น งานศพของญาติสามี  งานแต่งงาน  เสนเรือนบ้านตัวเอง  ฟ้อนแคน  โยนลูกช่วงของหนุ่มสาวการไว้ทรงผมของไทยทรงดำ  ทรงผมแบบต่างๆ  จะแตกต่างกันไปตามอายุตั้งแต่เล็กจนโต  และมีชื่อเรียกที่ต่างกันดังนี้  สับปิ่น เป็นทรงผมของเด็กหญิงอายุราว 14-15 ปี ไว้ผมยาวแล้วพับปลายผมสับหวีไว้ท้ายทอย, จุกผม เป็นแบบของเด็กหญิงอายุราว 14-15 ปี เช่นเดียวกัน แต่ทำผมกระบังไว้ข้างหน้า  ข้างหลังเอาไว้เปีย, ขอดกะตอก เป็นแบบผมของเด็กหญิงอายุราว 16-17 ปี ไว้ผมยาว ผูกผมแบบผูกเชือกเงื่อนตาย เอาชายไว้ข้างขวา, ยอดซอย เป็นแบบผมของเด็กหญิงสาวอายุราว 17-18 ปี ไว้ผมยาว ผูกเงื่อนตายเช่นเดียวกันแต่เอาไว้ข้างซ้าย  ทำผมเป็นโบว์ 2 ข้าง,ปั้นเกล้าซอย เป็นแบบผมของเด็กหญิงอายุราว 19-20ปี ไว้ผมยาวผูกผม เหมือนหูกระต่าย  แต่มีหางยาวออกมาทางขวา,ปั้นเกล้า หรือปั้นเกล้าถ้วน เป็นแบบผมของหญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป เป็นสาวใหญ่ก็ใช้แบบนี้ไปจนมีเรือนและจนตาย, ปั้นเกล้าตก เป็นแบบผมที่ไว้สำหรับหญิงม่าย หญิงที่สามีตายศพยังอยู่ในบ้าน  ถ้าฝังศพนานๆหลายปีก็ให้ไว้ผมปั้นเกล้าตกจนกว่าจะเผาการประกอบอาชีพของไทยทรงดำ   ชาวไทยทรงดำส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น  การทำไร่ ทำนาปลูกข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว    การทำนาจะทำนาปรังและนาปี  นาปรังจะทำในฤดูแล้ง  ส่วนนาปีจะทำในช่วงที่มีน้ำฝนอักษรและภาษาของไทยทรงดำ  ชาวไทยทรงดำมีอักษรมาตั้งแต่ครั้งตั้งถิ่นฐานอยู่แคว้นสิบสองปันนาแล้ว   เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทยก็ได้นำอักษรและภาษาของตนเข้ามาใช้ด้วย  เวลาผ่านไปภาษาพูดและภาษาเขียนยังคงอยู่ในหมู่ผู้สูงอายุจนถึงปัจจุบัน   ภาษาเขียน ภาษาพูดยังคงใช้กันในหมู่คนสูงอายุจนถึงปัจจุบัน    ลูกหลานสมัยใหม่จะฟังภาษารู้เรื่องและพูดได้บ้าง  ส่วนภาษาเขียนจะบันทึกไว้ในสมุดไทยต่อๆกันมา  โดยเฉพาะเรื่องประเพณีและพิธีต่างๆ  ปัจจุบันมีผู้เขียนอักษรไทยทรงดำได้น้อยมาก  ในภาษาไทยทรงดำมีตัวอักษรพอสรุปได้ดังนี้  พยัญชนะทั้งหมด 34 ตัว  พยัญชนะพิเศษมี  8 ตัว  สระและเครื่องหมายต่างๆมี 18 รูป  และตัวเลขไม่ปรากฏใช้เป็นหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสมุดข่อยใช้เขียนเป็นตัวหนังสือชาวไทยทรงดำมีสำเนียงพูดคล้ายคลึงกับสำเนียงทางภาคอีสาน  และมีบางส่วนใกล้เคียงไปทางเหนือ  สำเนียงการออกเสียงสั้นกว่าภาษาไทยกลางเล็กน้อย   เช่น คำว่า ออกลูกไทยทรงดำออกเสียงว่า เอาะละ  คำว่ายาก  ออกเสียงว่า ยะ รากไม้ออกเสียงว่า ฮะไม้ ตัวหนังสือคล้ายกับตัวหนังสือลาว   ระเบียบของภาษาหรือไวยากรณ์ก็เป็นแบบเดียวกับภาษาไทย  การเขียนนิยมเขียนในสมุดพับเป็นชั้นๆ เช่นเดียวกับสมุดข่อย   ภาษาไทยทรงดำจัดอยู่ในตระกูลภาษาไทยสาขาตะวันออกเฉียงใต้   หนังสือแบบเรียนไทยดำที่ใช้ที่ประเทศเวียดนามและที่หมู่บ้านไทยดำในรัฐโอไอโอ  สหรัฐอเมริกา  มีศัพท์และความหมายเหมือนกับภาษาไทยดำที่ใช้ในประเทศไทยการเสนเรือนของไทยทรงดำ  การเสนเรือน  คือพิธีเซ่นผีเรือน  ผีเรือนคือผีพ่อแม่ปู่  ย่า ตา ยาย  ผู้ล่วงลับไปแล้วได้อัญเชิญมาไว้บนเรือน  โดยจัดให้อยู่มุมหนึ่งมุมใดของห้อง ตรงนั้นเรียกว่า  กะล้อห้อง ซึ่งแปลว่ามุมห้อง   ตามปกติที่ตรงนั้นจะมีถ้วยชามและแก้วน้ำและข้างฝาบริเวณนั้นจะเจาะเป็นรูกลมเท่าไข่เป็ดลอดได้ไว้ด้วย     ถ้วยชามที่วางไว้นั้นเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารที่นำมาเซ่นไหว้ทุกๆ  10  วัน  พิธีเสนเรือนนิยมทำกันเป็นประจำทุกปีหรือ ทุก 2 - 3 ปี ครั้งก็ได้  เพื่อให้ผีเรือนของตนมารับเครื่องเซ่นไหว้จากลูกหลาน  เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญู  ระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษ  ผู้ล่วงลับไปแล้ว เชื่อกันว่าเมื่อได้ทำพิธีเสนเรือนแล้ว  ผีเรือนจะมาปกป้องรักษาคุ้มครองรักษาตนและครอบครัวให้ความสุข  เจริญก้าวหน้า  ทำมาค้าขึ้น  พิธีเสนเรือนจะกระทำเดือนใดก็ได้  ยกเว้นเดือนเก้า  เดือนสิบสอง เชื่อว่าผีเรือนไม่อยู่ไปเฝ้าเทวดา นอกจากนี้ในเดือน 5  ก็ไม่นิยมทำเพราะว่า ช่วงนั้นเป็นหน้าแล้งไม่ค่อยมีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องข้าวปลาอาหารการงดเว้นจากการไม่จัดพิธีเสนเรือน  จะทำให้ผีเรือนอดอยาก   และในที่สุด  ผีเรือนอาจ่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและครอบครัวได้       ดังนั้นจึงควรทำพิธีเสนเรือนเสียครั้งหนึ่งในรอบปี  หรือในรอบ 2 ปี  ผีเรือนคือผีที่ตายในบ้าน  เช่น   แก่ตายและตายดีมิใช่ตายโหง   ผีที่ตายโดยอุบัติเหตุเรียกว่าผีตายโหง   จะไม่นำมาเป็นผีเรือน   ผีที่ตายที่บ้านจะมีการอัญเชิญวิญญาณให้มาอยู่บนบ้าน  เรียกว่าพิธีเรียกผีขึ้นเรือน   ทุกบ้านจะมีรายชื่อของผู้ตายหรือบัญชีของผีประจำเรือนไว้เรียกว่า ปับผีเฮือน ในวันเสนเรือนจะนำปับผีเรือนมาอ่านรายชื่อเพื่อเชิญมารับของ ในวันเสนเรือนหมอเสนเรือนจะนำปับเรือนมาอ่านรายชื่อเพื่อเชิญมาให้รับของ  ในบ้านหนึ่งๆผู้สืบสกุลจากบรรพบุรุษคือพ่อบ้าน  การทำพิธีพ่อบ้านจะเป็นหลักในการประกอบพิธี เมื่อพ่อบ้านเสียชีวิตลง  ลูกชายคนใดคนหนึ่งจะต้องเป็นผู้สืบสกุลแทนผลสำเร็จการจัดหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง ไทยทรงดำ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ในเรื่องไทยทรงดำ  เนื่องจากโรงเรียนได้จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เรื่องไทยทรงดำ  สอดคล้องกับงานวิจัยของ  บุญเรียง ขจรศิลป์ ( 2543 : 23 )   กล่าวว่า   การนำหลักสูตรท้องถิ่นมาใช้ในโรงเรียนจะเป็นประโยชน์หรือผลดีต่อครูผู้สอน  ทำให้ครูเห็นคุณค่าของกระบวนการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   ได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น         แนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ   ครู-อาจารย์ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีการปรึกษาหารือในด้านการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น         ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียน ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรงเรียนได้ดำเนินการติดต่อผู้นำในชุมชนมาเป็นวิทยากรให้แก่นักเรียน  นอกจากนี้ยังใช้ภูมิปัญญาในหมู่บ้านลำตะเพิน ซึ่งเป็น ชาวไทยทรงดำ มาให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องของความเป็นมาของไทยทรงดำ ประเพณี  ภาษาและวัฒนธรรม พิธีเสนเรือนของไทยทรงดำ และการประกอบอาชีพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์  มีบทบาทต่อการเรียนรู้ของตนเอง ได้ศึกษาจากสื่อของจริงในชุมชน  เครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น  เสื้อผ้าของชาวไทยทรงดำ  การทอผ้าและการจักสานของไทยทรงดำ  การทำขนมจีน    สอดคล้องกับงานวิจัยของ  สุมน  อมรวิวัฒน์ ( 2545 : 26 ) กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนที่จะประสบผลสำเร็จเมื่อนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดและทำกิจกรรม  รู้จักทำงานร่วมกันได้ดี   นักเรียนมีความสุข  สนุกสนาน กล้าแสดงออก  ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  นักเรียนเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนสร้างองค์ความรู้และพัฒนางานของตนเองได้ นักเรียนมีความสุขในการเรียน  สามารถเรียนรู้สัมพันธ์กับธรรมชาติ  มีสื่อการเรียนสอนที่เร้าใจและเป็นจริง  ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย   ครูผู้สอนสามารถวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง เป็นผลให้การจัดหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องไทยทรงดำของโรงเรียนหนองรีประชานิมิตประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   รวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการนำพาสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ชัดเจนบนพื้นฐานของความเหมาะสมของผู้เรียนและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง  
คำสำคัญ (Tags): #ไทยทรงดำ
หมายเลขบันทึก: 70021เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
  • มาดูไทยทรงดำและสวัสดีปี
ดีใจที่ไทดำได้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ความเป็นไทดำจะไม่ตายไปจากความเป็นเรา จงภูมิใจในเหล่า ชาติ เชื้อ ของเราเถิด เป็นกำลังใจครับ

 

you are peace warrior

"Real Battles Are Wihtin"

สวัสดีครับอาจารย์  เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

หนึ่งกำลังใจ   จากไทยดำ

ให้ครูเพยาว์ได้พัฒนาเด็กไทยการศึกษาไทยต่อไปนะ

  • เป็นงานที่มีคุณค่ายิ่ง ผมขออนุญาตนำข้อมูลไปสอนเด็กๆนะครับ

ผมในฐานะไทดำ คนหนึ่ง ขอให้กำลังใจอ.เพยาว์ ฯที่ได้นำเสนอหลักสูตรท้องถิ่น ไทดำ เพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์ สืบสาน ถือว่าเป็นคุณครูด้วยจิตวิญญาณจริงๆครับ แนะนำนร.เพิ่มเติมมีเวปไซด์ไทดำ

www.thaisongdumphet.is.in.th/

ขอคารวะอ.เพยาว์ฯด้วยความจริงใจ ครับ

"อันเลาเหนว่าดี บ่ต้องรอ เอดแลว ก้อเฮ่ามันถึมันต้องเน้อ" เป็นกำลังใจให้ครับ

เปนลูกโซ่งอยู่ที่ดอนมะเกลือค่ะ

แต่มาทำงานที่สมุทรปราการนานมากแล้ว

ทุกครั้งที่มีโอกาศจะพยายามคุยกับคนโซ่งที่รู้จักกันที่สมุทรปราการทุกคนที่คุยด้วยจะภูมิใจในความเป็นโซ่ง

ถึงแม้บางครั้งจะเบื่อเวลาที่มีการเสนเรือนแต่ก้อยังดีใจนะที่ยังรักษาวัฒนธรรมกันไว้

ขอบคุณนะคะที่ทำการค้นคว้าหาข้อมูลมาให้อ่านกันเป็นกำลังใจให้ค่ะ

อยู่กรุงเทพเป็นลูกโซ่งที่ไผ่หูช้างครับ

ขอบคุณที่ค้นคว้ามาให้อ่านครับ

เป็นแนวคิดที่ดีมาในการสอน ท้องถิ่น ไทยทรงดำหรือไทดำ ให้กำลังใจครับคุณครูพเยาว์

หากต้องการข้อมูลเพิ่มด้านภาษาเขียนผมมีนะ บ้านอยู่สุพรรณอำเภออู่ทอง นัดมาได้ หากคุณครูไม่ได้เป็น ไทดำก็เสียใจในการออกเสียงด้วยครับผม

หนูเป็นลูกหลานไททรงดำค่ะ แต่หนูอยากดูงานวิจัยเกี่ยวกับไททรงดำค่ะ

ตอนนี้ทำโปรเจ็คจบ หนูทำเว็บค่ะเรื่องไททรงดำ ของงานวิจัยดูเป็นตัวอย่างได้ไหมค่ะ ถ้าได้ส่งที่เมล์ที่ให้ไปเลยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ผมในฐานะลาวโซ่งร้อย%ขอสนับสนุนและอยากให้ลาวโซ่งทุกคนจงภูมิใจในความเป็นโซ่ง..ผมจัดรายการวิทยุผมยังพูดลาวโซ่งในบางครั้ง

โซ่งเหมือนกันครับร้อย%ขอสนับสนุนและอยากให้ลาวโซ่งทุกคนจงภูมิใจในความเป็นโซ่ง..?เหมือนกัน( รักกันนะคนไท )

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์เพยาว์ วงศาโรจน์ ที่นำเอาวิถีชีวิตของไทดำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนในชุมชน ชุมชนอื่นๆของไทดำในประเทศไทยน่าจะเอาเป็นแบบอย่าง เพื่อการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมของไทดำให้อยู่คู่พื้นแผ่นดินไทยต่อไป

ตอนนี้กำลังทำวิทยานิพน์เกี่ยวกับการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยทรงดำอยู่กำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่เลย...ได้อ่านแล้วดีมากกกก

ขอเป็นกำลังใจให้นะ เป็นโซ้งเหมือนกันค่ะร้อย%เลย

เด็ก "หว้า สิงห์วี"

เป็นก๊นไทซงดำคือกัน อยู่ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร

อ้ายอู๋ เอ็มอู่ อพยพมาจากบ้านดอนมะนาว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

ภูมิใจค่ะที่ได้เกิดเป็นลูกหลานไทซงดำและจะรักษาความเป็นไทซงดำตลอดไป

ขอขอบคุณ อาจารยืมากนะค่ะที่ให้ความสำคัญกับชาติพันธุ์เรา

พี่น้องมาเที่ยวพิจิตรก็อย่าลืมแวะเที่ยวหาด้วยนะค่ะ

บ้านต้นประดู ต.หนองหลุม อ.วชิรบารมี พิจิตร ลาวโซ่งทั้งนั้น ถ้าผ่านวัดต้นประดู เข้าไปได้ครับ ยังมีการเสนเรือนอยู่

โซ่ง สุราษฎร์ ครับ อยู่ที่ อ. พุนพิน ต.ท่าข้าม บ้านไทรงาม ครับ ติดต่อมา [email protected] หากันรบ้างนะครับ ชาว พี่น้อง โซ่ง ทุกคน อยากจะปรึกษา เรื่อง ชาติพันธุ์ แห่ง เราครับ

ขอบคุณที่ให้ความรู้และยังช่วยสืบสานประเพณีวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลังช่วยลงหลักสูตรเรียนไว้ในเวบของคุณด้วยซิต่อไปจะได้ไม่สูญหายขอบคูณจากใจไทดำอีกคนหนึ่ง

สวัสดีคะอาจารย์ วันนี้วันครู ไม่มีโอกาศไปถึงที่ขอส่งความเคารพไปหาอาจารย์ด้วยค่ะ

ครับขอเป็นกำลังใจให้คุณครูนะครับ

ครับขอเป็นกำลังใจให้คุณครูนะครับ

อยากคุยด้วยโทรกลับมาเบอร์นี้นะคะ0871602344มีธุระสำคัญมากๆ รบกวนด้วยนะคะ

ไ้ด้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท