ไก่ไข่ KM กับการจัดการองค์กร


เราจะทำนโยบายอย่างไรเกษตรกรรายย่อยจึงจะรอด "เพราะที่ผ่านมานโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้เกษตรกรไปอยู่ในกระทรวงแรงงานถ้ายังดำเนินนโยบายแบบเก่า ๆ เกษตรกรจะหมดไปจากประเทศไทย

         จากไข้หวัดนกจนถึงไข้หวัดน๊อก   น๊อกชาวบ้านจนไก่ซึ่งเป็นอาหารโปรตีน  คู่ชีวิตของชาวบ้านละลายไปกับนโยบาย  X-Ray  ทุกตารางนิ้ว  ชาวบ้านก็ ต้องหันไป ซื้อไก่  ของฟาร์มใหญ่  ๆ  ที่ได้โอกาสขึ้นราคาไก่และไข่ตามใจชอบจนร่ำรวยบนความทุกข์ยากของชาวบ้าน

          วันนี้เหมือน  "สวรรค์มีตา"   ส่งผู้กล้าฉายา  "นักวิชาการติดดิน  อ.วนิดา  และ อ .สวัสดิ์จากกรมปศุสัตว์  หอบหัวใจและความหวังมาเพื่อช่วยฟื้นกลับโปรตีนราคาถูกให้กลับมาอยู่กับชาวบ้าน

            แนวคิดของการมาครั้งนี้เพื่อค้นหาวิธีการช่วยชาวบ้านในการสร้างอาหารโปรตีนราคาถูกจากการเลี้ยงไก่ไข่  พันธ์ใหม่ของไทย  ขึ้นมาใช้ในการทดแทนไก่ไข่นำเข้าบางส่วน  ซึ่งไก่พันธุ์นี้เลี้ยงง่ายและเลี้ยงได้ดีในโรงเรือนเปิดทั่วไป  ภายใต้สภาพภูมิอากาศไทย  โดยคัดเลือกเกษตรกรที่สนใจ เข้าร่วมโครงการที่มีความหวังในชีวิต   ที่จะสร้างงาน สร้างอาหารให้กับตัวเองครอบครัวและชุมชนของเขา  นอกจากนี้ยังไปสนับสนุนนักเรียนของโรงเรียนเม็กดำให้เลี้ยงไก่ไข่เพื่อการเรียนรู้และเป็นอาหารกลางวันด้วย

          โจทย์ของงานนี้คือ  เราจะทำนโยบายอย่างไรเกษตรกรรายย่อยจึงจะรอด  "เพราะที่ผ่านมานโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ทำให้เกษตรกรไปอยู่ในกระทรวงแรงงาน  ถ้ายังดำเนินนโยบายแบบเก่า ๆ  เกษตรกรจะหมดไปจากประเทศไทย

           ความหวังของโครงการนี้ (ลึก ๆ  ในหัวใจ)  คงจะได้เห็นเครือข่ายของชาวบ้านในแต่ละชุมชนร่วมกันสร้างงาน จากเลี้ยงไก่ไข่ ให้ครบวงจร ภายในชุมชนตั้งแต่  ผลิตลูกไก่  เลี้ยงไก่รุ่น  เลี้ยงไก่ไข่  คนขายไข่ไก่  ตัวแทนซื้อขายอุปกร์และอาหารไก่ในชุมชนเอง  มี ช่างไม้ ช่างเหล็ก ในการจัดทำอุปกรณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ในชุมชน

          นอกจากนี้ยังหวังไว้ว่า  อบต.จะเข้ามามีส่วนเรียนรู้กระบวนการสร้างงานให้กับชุมชนและเชื่อมโยงกับ หน่วยงาน ของรัฐเพื่อลงมาช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเต็มที่เพราะอบต.เองก็มีทั้งอำนาจและเงินที่น่าจะสามารถผลักดันกระบวนการสร้างงานให้กับชุมชนบนพื้นฐานการพึ่งตนเองและพึ่งพาตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 69975เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
แล้ว อบต เขาสนใจจะซื้อความคิดนี้หรือเปล่า ทำไม อย่างไร

ถ้าทำได้จะดีมากเลยค่ะ

  • ในหมู่บ้านเล็กๆ การกินไก่หรือไข่ไม่ได้ดูน่ากลัวเหมือนคนเมืองใหญ่ค่ะ เพราะเราจะรู้จักคนเลี้ยงและคนฆ่าไก่ คุณภาพถูกจับตามองแบบง่ายๆด้วยสายตาคนในหมู่บ้านเองค่ะ
  • แต่ที่สังเกตคนที่กลัวและไม่กินคือคนที่ต้องซื้อจากตลาดในเมืองและไม่รู้แหล่งที่มาของไก่และไข่เขาเลยต้องเลือกจากบริษัทที่ออกมารับประกันความปลอดภัยค่ะ ถ้าผู้เลี้ยงไก่สามารถฝ่าด่านนี้ได้จะได้ประโยชน์ทั้งคนกินและคนเลี้ยงค่ะ

ต้องขายความคิดให้กับ อบต.ด้วยนะครับ

เพื่อเราจะได้ร่วมกันผลักดันให้ความฝันนั้นเป็นจริง

ขอบคุณครับ และขอให้มีความสุขกับปีใหม่นะครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย

 

เรียน อาจารย์แสวงที่เคารพ(ตลอดกาล)

  • โจทย์ที่อาจารย์ให้มา ผมยังตอบไม่ได้ และยังไม่ตอบครับ
  • แต่วันนี้ผมได้เข้าไป ร่วมพูดคุยกับ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก และ อบต.ส่วนหนึ่ง ทำให้เห็นร่องรอยของ แนวความคิดที่จะส่งเสริมอาชีพที่ยั่งยืน ให้กับชาวบ้าน  แต่เท่าที่คุยกัน และดูจาก แผนสามปี (2550-2552) ก็เพียงการเก็บข้อมูล และยังไม่เป็นนโยบายหลัก  และฐานความคิดยังไม่แตะ เกษตรพอเพียงเลย
  • แต่สิ่งที่ผมใด้มากและมีความหมายเชิง การพัฒนาองค์กร ซึ่งผมมองว่า เขากำลัง จะก้าวเข้าไปแตะ KM โดยที่ เขาไม่รู้ ตัวตนของKM  เลย  เช่น การทำแผนชุมชน ที่เริ่มจากแต่ละหมู่บ้าน ไปทำเวทีย่อย เพื่อทำแผนของหมู่บ้านในด้านต่างๆ แล้ว ตัวแทนของหมู่บ้าน นำเข้ามาสู่เวทีของตำบล เพื่อจัดทำแผนของตำบล
  • นอกจากนี้ยังมีโครงการ และกิจกรรมอีกหลายอย่างที่สำคัญ และคงจะเขียนรายละเอียด ในบันทึกครับ  เช่น การจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน, แนวคิดการจัดตั้งป่าชุมชน ,การรวมตัวกันของชาวบ้านที่จะเป็นศูนย์ช่วยเหลือเร่งด่วน ของชุมชน คงต้องติดตาม ครับ

เรียนคุณ จันทรรัตน์

  • ชาวบ้านลำบากจริงๆครับ  ถ้าเราสามารถช่วยให้เขาพึ่งพาตัวเอง  และพึ่งพากันเป็นเครือข่ายในหมู่บ้านและชุมชน  มีกลไกของการพึ่งพากันทั้งด้าน ทรัพยากร ทักษะ  องค์ความรู้ 
  • แนวทาง การเข้าถึง  เข้าใจ  และพัฒนาร่วมกัน น่าจะพอช่วยใด้หรือปล่าวครับ
  • องค์กรต่างในชุมชนน่าจะเข้ามามีบทบาทอย่างไร
  • ใครจะเป็นผู้นำในการฝ่าด่านความเชื่อ ในความปลอดภัย

                      ขอให้สุขกายสบายใจในปีใหม่ ครับ

  กลั๊วกลัว  การลอกกากแนวคิดมาทำทั้งดุ้น

กิจกรรมอะไรที่ไม่เกิดจากเนื้อในของชุมชนเองยั่งยืนยาก  ดูแต่สมัยที่พัฒนากรไปประกวดหมู่บ้าน แจกรางวัล  แจกรถแทรกเตอร์

วันเจ้าหน้าที่มาตรวจ ชาวบ้านอดนอนมาคอยเก็บใบไม้ไม่ให้หล่นที่พื้นแม่แต่ใบเดียว รั้วบ้านทาสี ตบแต่งยังกะจัดงานพืชสวนโลก กรรมการก็หลับหูหลับตาตรวจให้รางวัลกันไป

พอผ่านไปปีเดียว หมู่บ้านที่ชนะการประกวดมีแต่ป้ายเก่าๆร่องแร่ง หาร่องรอยพัฒนาไม่เจอ

นี่คิดการพัฒนาในวัฒนธรรมของราชการ  เดี่ยวนี้ก็ยังคิดยังทำอย่างนี้อยู่

ในนามของนักศึกษาต้องมองแล้วคิดแบบสายตาเหยี่ยว อย่าตื่นตูมกับข้อมูลดาด ดูเหตุผลเป็นหลัก ดูความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ย้อนไปดู..ระดับ

ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่

ไม่ใช่ไปดูขาอ่อนสวมถุงไนหล่อนแล้วบอกว่า..ขาขาวๆยังพอไหว

เดี๋ยวก็ตกบันไดพลอยโจนไปกับข้อมูลเสมือนจริงเต็มรายงาน จะหยิกให้ก้นเขียวเชียวแกละ

  • จริงๆ ผมก็กลัว และกลัวมากกว่าครูบา อีก ครับ
  • วันนี้เป็นเพียงการพูดคุยกันเบื้องต้น  บางคนพอได้ยิน โครงการ แทบยังไม่ได้คิด หรือคนอธิบาย ยังไม่จบ  สมัครใจจะทำแล้ว  กลุ่มพวกนี้ต้อง เตะลงคันนา เดี๋ยวจะเป็น เกษตรปราณีต 1 ไร่  ภาค 2  แย่แน่เลยครับ
 คงต้อง ให้อาจารย์อุทัย ช่วยด้วย ในฐานะผู้ชำนาญการเกี่ยวกับชุมชน หวังว่าคงใด้ร่วมมือกันนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท