การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศออสเตรเลีย


คณาจารย์มหาวิทยาลัยถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การจัดการคุณภาพการเรียนการสอน และในทางกลับกันคณาจารย์ก็อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้เช่นกัน

การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศออสเตรเลียโดย รศ.ดร.ชูเวช  ชาญสง่าเวช 

          ประเทศออสเตรเลียได้ดําเนินการปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างขนานใหญ่ในช่วง 12 ปีที่ ผ่านมา และได้ดําเนินการอย่างเป็นจริงเป็นจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 โดยเริ่มจากการตีพิมพ์ เอกสารเพื่อประกอบการอภิปรายนโยบายอุดมศึกษา ซึ่งเรียกว่า Green Paper โดย Mr. John Dawkins รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฯ ในขณะนั้น ตามด้วยการตีพิมพ์แถลงการณ์นโยบายอุดมศึกษา (White Parper) ในรูปของพระราชบัญญัติให้เงินอุดหนุน การอุดมศึกษา (Higher Education Funding Act 1988) วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปในครั้งนั้นเพื่อพลักดันให้การอุดมศึกษามีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและตอบสนองได้โดย ตรงต่อความต้องการทางเศรษฐกิจของออสเตรเลีย

 

          การปฏิรูปดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในระบบอุดมศึกษาของออสเตรเลีย ซึ่งผลที่ได้รับที่สําคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือทําให้เกิดการรวมตัวของสถาบันอุดมศึกษาจากเดิมที่มี 2 ระบบ คือ ระบบวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษา กับระบบมหาวิทยาลัยเหลือเพียงระบบเดียว เรียกว่า ระบบเอกภาพแห่งชาติ (Unified National System) โดยสถาบันเกือบทั้งหมดใช้ชื่อเป็นมหาวิทยาลัย อันเป็นผลให้ปัจจุบัน ประเทศออสเตรเลียมีมหาวิทยาลัยรวมทั้งสิ้น 39 แห่ง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ 37 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 2 แห่ง กับวิทยาลัยอีก 4 แห่ง ได้แก่ Batchelor College, Australian Maritime College, Avondale College และ Marcus Oldham College

          ผลของการปฏิรูปในช่วงนั้น ทําให้เกิดการถ่ายโอนอํานาจการบริหารมหาวิทยาลัยจากรัฐบาลกลางลงไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากขึ้น โดยมหาวิทยาลัยต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งผลจากการนี้ได้ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กล่าวคือ มีความตระหนักใน เรื่องคุณภาพการเรียนการสอนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนารูปแบบการบริหารไป ในแบบธุรกิจเอกชนมากขึ้น เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจและสังคมโดยที่ยังสามารถคงความเป็นอิสระทางวิชา การในอันที่จะกําหนดแนวทางการเรียนการสอนและการวิจัยเอาไว้ได้ 

A. การปฏิรูดมศึกษาในปลายทศวรรษ 1980

 

          การปฏิรูปการบริหารจัดการอุดมศึกษาของออสเตรเลียตามแนวทางที่แถลงไว้ใน White Paper ของออสเตรเลีย เมื่อปี 1988 นั้น ได้เน้นให้มีการสร้างความแข็งแกร่งในการบริหารในระดับสถาบัน  และได้เสนอแนะให้มีการลดขนาดขององค์กรระดับนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ สภามหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็ได้มีการตอบสนองในระดับหนึ่ง

           ในการปฏิรูปอุดมศึกษาดังกล่าวนี้ รัฐบาลของประเทศออสเตรเลียได้ดําเนินการช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายต่อไปนี้คือ (DEET,1993)
  • มีวิธีการจัดการที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ ขจัดอุปสรรคในการกระจายอํานาจในเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ
  • ให้มีการปรึกษาหารือและประสานงานกันในระหว่างภาครัฐและบริษัทผู้ว่า จ้างบัณฑิต นิสิตนักศึกษา และประชาคมโดยทั่วไป
  • ทําให้กระบวนการตัดสินใจมีความคล่องตัว
  • ให้มีความยืดหยุ่นในการที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะนํานโยบายใหม่ ๆ ไปปฏิบัติ ในขณะเดียวกันให้ลดช่วงเวลาระหว่างการกําหนดนโยบายกับการนํานโยบายการตัดสินใจไปปฏิบัติ

          สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งอันเป็นผลมาจากการปฏิรูปอุดมศึกษาของออสเตรเลีย คือการเพิ่มความแข็งแกร่งและบทบาทของสํานักงานอธิการบดี เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นหลายมหาวิทยาลัยได้เพิ่มทั้งจํานวนและบทบาทของรองอธิการบดี โดยหลายแห่งมี บุคลากรในตําแหน่งรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีจํานวน 6 คน หรือมากกว่ายิ่งกว่านั้น หลังจากการปฏิรูปได้มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบุคลากรในตําแหน่งผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ในระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ บ่อยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

           แนวโน้มสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ระบบอุดมศึกษาของออสเตรเลียกำลังก้าวไปสู่ระบบมหาวิทยาลัยมวลชนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 1998 ปรากฏว่า มีจํานวนนัก ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศออสเตรเลียถึง 671,853 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเป็น 2 เท่าจากเมื่อ 15 ปีก่อนหน้านั้นนอกจากนี้ยังได้มีการถ่ายโอนอํานาจการบริหารจัดการลงไปยังระดับคณะ-ภาควิชาเป็นอย่างมากด้วย โดยให้แต่ละเป็นศูนย์ต่างหากจากกัน มีการเพิ่มอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบแก่คณบดีและหัวหน้าภาควิชา และมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่งคณบดีและหัวหน้าภาควิชาจากวิธีเลือกตั้งมาเป็นการแต่งตั้งจากกระบวนการสรรหาเป็นส่วนใหญ่ สําหรับหัวหน้าภาควิชานั้นได้เพิ่มงานในหน้าที่รับผิดชอบอีกเป็นอันมาก เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรับผิดชอบบุคลากร การจัดทํางบประมาณรายจ่ายและเพิ่มเงินรายได้จากภายนอก การรับนักศึกษา การประกันคุณภาพทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย การประชาสัมพันธ์และการนํานโยบายต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติ เป็นต้น   

B. การปฏิรูดมศึกษาในปลายทศวรรษ 1990

 

เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1995 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฯ (DEETYA) ของประเทศออสเตรเลียได้แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนการบริหารจัดการอุดมศึกษาขึ้น โดยมีนักบริหารธุรกิจชื่อ Mr. David Hoare ซึ่งเป็นประธาน Bankers Trust Australia ทําหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้

หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการดังกล่าวได้แก่ การสํารวจตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะในอันที่จะให้ออสเตรเลียมีภาคการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูง โดยพิจารณาถึงประเด็นใน เรื่องการบริหารจัดการและการตรวจสอบได้ ในหัวข้อดังต่อไปนี้
  • การตรวจสอบได้กับการรายงานทางการเงิน
  • โครงสร้างการจัดองค์การในมหาวิทยาลัย
  • โครงสร้างการบริหารในระดับนโยบายรวมถึงคณะผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัย
  • แนวปฏิบัติในการจ้างงานและบุคลากร รวมถึงประเด็นในเรื่องอายุการจ้างงาน (Tenure)
  • การจัดการด้านการเงินรวมถึงการใช้สินทรัพย์ของมหาวิทยาลัย

          อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการนําข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะกรรมการชุดนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติโดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง แต่อาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันมีความเห็นพ้องกันในประเทศออสเตรเลียถึงความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้การปฏิรูปอุดมศึกษาดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า การปฏิรูปที่กําลัง ดําเนินอยู่ในประเทศออสเตรเลียในขณะนี้นั้น มีเป้าหมายสําคัญ 5 ประการได้แก่

  1. การขยายโอกาสทางการศึกษา
  2. การประกันคุณภาพ
  3. การเพิ่มพูนความสามารถของมหาวิทยาลัยในอันที่จะตอบสนองต่อความ ต้องการของนักศึกษาและธุรกิจอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
  4. พัฒนาฐานความรู้และมีส่วนช่วยนวัตกรรมของชาติและของโลก และ
  5. การประกันให้สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณชนในเรื่องการใช้ทรัพยากรของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ 
 

C. การปฏิรูปวิชาการ

 

          จากรายงานการสัมมนาร่วมระหว่าง สภาการอุดมศึกษา (Higher Education Council) และเสวนาวิชาการแห่งชาติ (National Academic Forum) ของประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1997 ซึ่งเป็นการสัมมนาที่จัดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อข้อเสนอแนะในรายงานเฉพาะประเทศขององค์การความร่วมมือและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development) เรื่อง “Thematic Review of the First Years of Tertiary Education Australia” ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าระบบอุดมศึกษาของออสเตรเลียในขณะนี้จะมีความแกร่งกล้า และมีพลวัตจากการที่ได้ ผ่านการปรับเปลี่ยนอย่างขนานใหญ่มาแล้วช่วงหนึ่งและสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ก็ได้แสดงให้เห็นถึง จิตวิญญาณของความสามารถที่จะปรับตัวในเชิงความเป็นผู้ประกอบการก็ตามที แต่ก็ยังมีประเด็นพิจารณาที่เร่งด่วน ดังต่อไปนี้

  1. การเรียนการสอนระดับปริญญาบัณฑิตได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรน้อยลงเป็นลําดับ
  2. ข้อวิจารณ์ของนักศึกษาถึงลักษณะความไม่เป็นส่วนตัว (impersonality) ของการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  3. ดุลยภาพระหว่างการพัฒนาทักษะความชำนาญเฉพาะเรื่องกับในเรื่องทั่วไป และระหว่างการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับด้านอาชีวศึกษา
  4. บทบาทของการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงในอันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอิทธิพลที่ออสเตรเลียมีต่อประเทศในภูมิภาคนี้
  5. การออกแบบพัฒนาหลักสูตรที่เสริมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาและ การมีส่วนร่วม
  6. การปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนที่สนองต่อความเรียกร้องต้องการของนักศึกษาจากภูมิหลังที่แตกต่างกันทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม
  7. การแบ่งแยกให้ชัดเจนระหว่างหลักสูตรเทคนิคอาชีวศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง (Technical and Further Education, TAFE) กับหลักสูตรมหาวิทยาลัย
  8. คุณภาพการสอนและเกียรติภูมิและรางวัลตอบแทนที่ให้แก่ผลสําเร็จในการสอน
  9. ความสอดคล้องของการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตกับบทบาทของนักศึกษา ในฐานะที่จะเป็นแรงงานและประชาชนในชาติและส่วนหนึ่งของประชาคมโลก

          จากประเด็นพิจารณาดังกล่าว ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้สรุปหัวข้อที่ควร ให้ความสําคัญเป็นพิเศษในด้านการปฏิรูปการเรียนการสอนของออสเตรเลียดังนี้

  1. ปลูกฝังความมุ่งมั่นในระดับชาติในอันที่จะทำการวิเคราะห์วิจารณ์หลักสูตรและปฏิรูปหลักสูตร  การเรียนการสอน
  2. มุ่งประเด็นความสนใจทางด้านกฎระเบียบข้อบังคับไปที่พันธกิจทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย
  3. เน้นความจําเป็นที่จะต้องมีการถกประเด็นในระดับชาติอย่างเป็นเอกภาพ และมีจุดประสงค์ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคและอาชีวศึกษากับอุดมศึกษา
  4. พิจารณาในระดับภาคการศึกษาโดยรวมถึงผลกระทบและนัยสาคัญ ของการปฏิวัติระบบเครือข่ายสารสนเทศและการเรียนการสอนแบบ ยืดหยุ่น (กล่าวคือความเป็นอิสระของการเรียนการสอนจากข้อจํากัด ดั้งเดิมในเรื่องของเวลาและสถานที่เรียน)
  5. จัดให้มีการประสานงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในเรื่องหลักสูตรอุดมศึกษา โดยใช้การสัมมนาหรือวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อไป
          นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญในด้านการประกันคุณภาพการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยและการปฏิรูปการวิจัย โดยรัฐบาลกลางออสเตรเลียได้ออกแถลงการณ์นโยบายเรื่องการอุดมศึกษา : คุณภาพและความหลากหลายในทศวรรษ 1990 (Baldwin, 1991) โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัย ในระดับอุดมศึกษา และได้มอบหมายให้สภาการอุดมศึกษา (Higher Education Council) ทําการสํารวจคุณภาพในระบบการอุดมศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่จะให้รัฐบาลกลางใช้ในการสนับสนุน

และปรับปรุงคุณภาพของการอุดมศึกษา

          ผลของการศึกษาในครั้งนั้นได้ออกมาเป็นข้อเสนอแนะในการจัดตั้งกลไกการประกันคุณภาพและการประเมินมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียที่ประสงค์จะเข้าร่วมในโครงการ ในปีค.ศ.1992 จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพอุดมศึกษา (Committee for Quality Assurance in Higher Education)  ขึ้น

 

          ในปี ค.ศ.1995 กระทรวงศึกษาธิการของออสเตรเลียได้จัดการประชุม สัมมนาที่รู้จักกันในนามของ Eltham Symposium ในหัวข้อเรื่อง การบริหารคุณภาพใน การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยขึ้นที่เมือง Eltham นครเมลเบิร์น เพื่อรวบรวมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและประกันคุณภาพ และเผยแพร่หลักการและแนวปฎิบัติที่เป็นตัวอย่าง (Best Practice)

           ข้อสรุปที่สําคัญจากการประชุมสัมมนา Eltham Symposium นี้ ได้แก่
  • การให้คณาจารย์มีความเป็นเจ้าของกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ในจัดการคุณภาพนั้นถือเป็นสิ่งจําเป็นยิ่ง
  • แนวปฏิบัติในการจัดการที่มีประสิทธิผลจะต้องมีทั้งแนวทางจากบนลงล่าง ประกอบกับจากล่างขึ้นบนโดยจะต้องมีสายการติดต่อ สื่อความที่ชัดเจนและเปิดถึงกันระหว่างสองแนวทางนี้
  • จะต้องมีการติดต่อสื่อความกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ให้เป็นที่เข้าใจตรงกันเพื่อ ให้การนํานโยบายไปปฏิบัติบังเกิดผลอย่างจริงจัง
  • มีความจําเป็นอย่างยิ่งจะให้มีการกำหนดและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง คําว่าการประกันคุณภาพกับการปรับปรุงคุณภาพในทุกระดับ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย
  • การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อคุณภาพในทุก ๆ ระดับภายในมหาวิทยาลัยถือเป็นสิ่งสำคัญในการนำนโยบายคุณภาพไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล
  • คณาจารย์มหาวิทยาลัยถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การจัดการคุณภาพการเรียนการสอน และในทางกลับกันคณาจารย์ก็อาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้เช่นกัน
  • การใช้เทคนิคการจัดการแบบผสมผสาน ทั้งผ่อนคลายผสมกับเข้มงวดและทั้งจากล่างขึ้นบนผสมกับจากบนลงล่าง จะสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อมในเชิงบวกซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในสภาพเช่นนี้ทั้งนี้โดยจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างในองค์กร
  • หน่วยงานพัฒนาการศึกษา (Educational Development Unit) จะเป็นหน่วย งานที่มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ทางด้านคุณภาพในการให้การสนับสนุน และการทํางานร่วมกับคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในทุกระดับของมหาวิทยาลัย

        นอกจากนี้ ได้มีความพยายามที่จะจัดทําแนวทางการประกับคุณภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาและประเมินหลักสูตร การรักษาคุณภาพทางวิชาการและการติดตามตรวจสอบมาตรฐานในการเรียนการสอนชั้นบัณฑิตศึกษาและโครงสร้างการประกันคุณภาพในการเรียนการสอนที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย เป็นต้น

 

          ปัจจุบันการเรียนการสอนไม่เพียงแต่ถือกันว่าเป็นกิจกรรมหลักภายใน มหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีความพยายามอย่างมากที่จะปรับปรุงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อ สนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่

  1. การปฏิรูปหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา
  2. การประกันให้ห้องสมุดเป็นแหล่งอ้างอิงที่มีคุณภาพสูงสําหรับ สนับสนุนการเรียนการสอน
  3. การนําเอารูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนโดยอาศัยเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่น ๆ มาให้ บริการแก่นิสิต นักศึกษา และ
  4. การจัดให้มีโครงการพัฒนาคณาจารย์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับนวัตกรรม ใหม่ ๆ ทางเทคโนโลยีการเรียนการสอน
 

D. การปฏิรูปการวิจัย

 

          ออสเตรเลียได้เพิ่มการให้ทุนสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการวิจัยและพัฒนามาก ขึ้น ในขณะที่รัฐบาลของประเทศ OECD ส่วนใหญ่ได้ลดเงินลงทุนในส่วนนี้ไป โดย ภาคอุดมศึกษาได้รับงบประมาณถึง 27 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาใน ช่วงปี 1994-1995 แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลได้มุ่งเน้นให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาที่สําคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการวิจัยพื้นฐาน

          ภายใต้ทิศทางการปฏิรูปดังกล่าว การวิจัยและการเรียนการสอนที่มีการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาไปสู่ลักษณะที่มีการวางแผนและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีการเพิ่มความหลากหลายในการให้การศึกษาด้านการวิจัยโดยการ เปิดหลักสูตรที่มีรายละเอียดการเรียนเป็นส่วนประกอบ ใช้เทคนิคการศึกษาทางไกล และการชักนำให้นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกเข้าร่วมในโครงการที่มีความร่วมมือกับอุตสาหกรรม ทางเลือกที่เพิ่มขึ้นใหม่นี้ ทําให้เกิดการทํางานเป็นทีม และเป็นการเปิดมหาวิทยาลัยสู่อุตสาหกรรมและเพิ่มมิติของการประยุกต์ให้กับการวิจัยมากขึ้น

          มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้มีการกําหนดยุทธศาสตร์การวิจัยโดยมุ่งเน้นสาขาที่ตนมีความเข้มแข็ง และจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนสาขาเหล่านั้น รัฐบาลกลางออสเตรเลียได้ส่งเสริมและสนับสนุนโดยตรงให้มีการขยายตัวของความร่วมมือในด้านการวิจัย โดยผ่านโครงการต่างๆ ที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยต่างๆ  ยังมีการร่วมงานเพิ่มขึ้นกับประชาคมและภูมิภาคที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ รวมทั้งร่วมมือกับองค์การที่

หมายเลขบันทึก: 69956เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท