การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศมาเลเซีย


พระราชบัญญัตินี้ ยังก่อให้เกิดโครงการเงินออมเพื่อกระตุ้นให้เด็กเริ่มการออมเงินตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับอุดมศึกษา ด้วยการก่อตั้งกองทุนนี้ นักศึกษาที่มีความสามารถเรียนได้ จะมีที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน

การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศมาเลเซีย

โดย รศ.วราภรณ์ บวรศิริ

 

          การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศมาเลเซียมีพื้นฐานมาจาก VISION 2020 โดยการดําเนินงานที่สําคัญเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 ซึ่งได้มีกฎหมายที่สําคัญ ได้แก่

  1. พระราชบัญญัติการศึกษา ค.ศ. 1996 (The Education Act 1996)
  2. พระราชบัญญัติสภาอุดมศึกษาแห่งชาติ ค.ศ. 1996 (The National Higher Education Council Act 1996)
  3. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ค.ศ. 1996 (The Private Higher Educational Institutions Act 1996)
  4. พระราชบัญญัติคณะกรรมการรับรองวิทยฐานะแห่งชาติ ค.ศ. 1996 (The National Accreditatio8n Board Act 1996)
  5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย (ฉบับปรับปรุง) ค.ศ. 1996 (The Universities and University Colleges (Amendment) Act 1996)

          สาระของพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่งผลให้มีการปฏิรูปอุดมศึกษาใน หลายเรื่อง สรุปได้ดังนี้

  • พระราชบัญญัติการศึกษา ค.ศ. 1996 (The Education Act 1996)
พระราชบัญญัติการศึกษา ค.ศ. 1996 พัฒนาระบบการศึกษาของ ประเทศให้มีคุณภาพระดับโลก ตระหนักถึงความสามารถสูงสุดของปัจเจกบุคคล เพื่อสนองความต้องการและความคาดหวังของประเทศ ตามมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติ การศึกษาฉบับนี้ ระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วยการศึกษาระดับต่าง ๆ ได้แก่ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา หลังมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

          พระราชบัญญัติการศึกษา ค.ศ. 1996 นี้เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งของการปฏิรูปรูปการศึกษาที่เกิดจากรัฐบาล เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานสูงสำหรับประชาชนของประเทศ อันจะช่วยให้สังคมมาเลเซียอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความรู้ความเชี่ยวชาญและค่านิยมที่จําเป็น เพื่อเผชิญกับการท้าทายในยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

  • พระราชบัญญัติสภาอุดมศึกษาแห่งชาติ ค.ศ. 1996 (National Higher Education Council Act 1996)
          จากพระราชบัญญัติสภาอุดมศึกษาแห่งชาติ ค.ศ. 1996 นี้ ทําให้มีองค์กรที่เรียกว่า สภาอุดมศึกษาแห่งชาติ (The National Council on Higher Education) เกิดขึ้นโดยมีอํานาจและหน้าที่เกี่ยวกับ
    • การวางแผน สร้าง และกําหนดนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการอุดมศึกษา
    • ควบคุมนโยบายที่เกี่ยวกับจํานวนการรับนักศึกษา (student intakes) ประเภทของวิชาที่เรียน (type of courses) ค่าเล่าเรียน (quantum of fees) การให้อนุปริญญาและปริญญาบัตร ตลอดจนการรับรองวิทยฐานะของวิชาที่เรียน(accreditation of courses) 

  • พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ค.ศ. 1996 (The Private Higher Educational Institutions Act 1996)

          รัฐบาลมาเลเซียได้เน้นความสําคัญของภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมเป็นผู้จัดการศึกษาร่วมกับภาครัฐ ในการผลิตกําลังคนวิชาชีพและกึ่งวิชาชีพต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้นโยบายที่รัฐบาลมาเลเซียได้นํามาใช้เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง กับด้านการศึกษา ตลอดจนการควบคุมคุณภาพการศึกษาของเอกชน ได้แก่ นโยบายทางการศึกษาที่อิสระและคล่องตัว เพิ่มการเจริญเติบโตทางการศึกษาในทิศทางที่ดี และให้ ความมั่นใจว่าการศึกษาที่จัดโดยภาคเอกชนที่มีคุณภาพ และได้มีการออกพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ค.ศ. 1996 ขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการจัดตั้ง จดทะเบียนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน บริหารและจัดการ ตลอดจนควบคุมคุณภาพของการศึกษาที่จัดโดยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 
  • พระราชบัญญัติคณะกรรมการรับรองวิทยฐานะแห่งชาติ ค.ศ. 1996 (The National Accredition Board Act 1996)

          จากพระราชบัญญัติคณะกรรมาการรับรองวิทยฐานะแห่งชาติ ค.ศ. 1996 นี้ ก่อให้เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการรับรองวิทยฐานแห่งชาติขึ้น โดยเป็นองค์กรควบคุมคุณภาพเพื่อรองรับวิทยฐานะของโปรแกรมและวิชาที่จัดสอน เป็นการสร้างความมั่นใจว่าวิชาที่สอนในสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นมีคุณภาพอย่างแท้จริง คณะกรรมการรับรองวิทยฐานะแห่งชาตินี้ ยังช่วยให้คําแนะนําและปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการด้วยเกี่ยวกับการอนุมัติวิชาที่เรียนโดยคํานึงถึงความเหมาะสมของอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ และการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

 
  • พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย (ฉบับปรับปรุง) ค.ศ. 1996 (The Universities and University Colleges (Amendment) Act 1996)

          ได้มีการปรับ ปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ค.ศ. 1996 ซึ่งใช้มาเป็นเวลาถึง 25 ปีแล้ว เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีการบริหารและการจัดการที่คล่องตัวขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้เพิ่มขึ้นและมีความสามารถที่จะทําธุรกิจได้

           นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีแผนการทํางานที่ชัดเจนขึ้น และไม่มีการปลดอาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยออก ถ้าไม่เต็มใจที่จะลาออกเอง มีจุดเน้นเพิ่มขึ้น เน้นประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยจะมีการดําเนินการที่โปร่งใส มีการตรวจสอบได้เพิ่มมากขึ้น (accountability) ทั้งจากภาครัฐและประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยของรัฐของประเทศมาเลเซีย มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านบทบาทและอํานาจหน้าที่ทางการบริหาร(governance) เป็นส่วนใหญ่ ด้านเงินเดือนของอาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีการขึ้นเงิน

เดือนประมาณร้อยละ 17 นั้นยังทำไม่ได้ เนื่องจากประเทศอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า

 

          การเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารและจัดการ (governance) นั้น ได้แก่ การเปลี่ยนสภามหาวิทยาลัย (council) เป็น Board of Director และลดจํานวนให้มีน้อยลง มีผู้ที่มาจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้น มีอิสระมากขึ้น มีการร่วมมือกับชุมชนและภาคเอกชนมากขึ้น และยังทําหน้าที่ทางด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยและทางด้านการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการลดจํานวนสภาวิชาการลงเช่นกัน

  • พระราชบัญญัติคณะกรรมการกองทุนอุดมศึกษาแห่งชาติ ค.ศ. 1997 (National Higher Education Fund Board Act 1997)

          การประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ ส่งผลให้มีการจัดตั้งกองทุนอุดมศึกษาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเงินยืมทางการศึกษา เพื่อนักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศมาเลเซีย เงินยืมนี้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การศึกษาและค่ากินอยู่ระหว่างศึกษา พระราชบัญญัตินี้ ยังก่อให้เกิดโครงการเงินออมเพื่อกระตุ้นให้เด็กเริ่มการออมเงินตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับอุดมศึกษา ด้วยการก่อตั้งกองทุนนี้ นักศึกษาที่มีความสามารถเรียนได้ จะมีที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน

 

          กล่าวได้ว่า สถาบันอุดมศึกษาของประเทศมาเลเซีย มีความคล่องตัว และ มีความเป็นอิสระเพิ่มมากขึ้นจากการปฏิรูปการอุดมศึกษาของประเทศ ในปี ค.ศ. 1996  ซึ่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติต่าง ๆ จำนวนมากดังกล่าว เพื่อเอื้อต่อการเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ แต่ยังคงได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาล มีการปรับเปลี่ยนภายในของสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ สามารถก่อตั้งบริษัททําธุรกิจเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้และเคลื่อนที่ไม่ได้ มีความคล่องตัวในการแสวงหารายได้ เพิ่มบทบาทของการเป็นที่ปรึกษาและข้อค้นพบทางการวิจัยที่เป็นการพาณิชย์มากขึ้น ปรับเปลี่ยนคณะกรรมการระดับมหาวิทยาลัยให้มีจํานวนลดลงมีผู้มาจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมีการร่วมมือกับชุมชนและภาคเอกชนเพิ่มขึ้น

 

          นอกจากนี้ ผลจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอก ชน ค.ศ. 1996 ทําให้มีการขยายตัวของการจัดการตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างรวดเร็ว โดยในปี ค.ศ. 1997 มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก คือ Universiti Telekom และในระยะเวลาเพียงสองปีมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนจํานวน 7 แห่ง มีวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ 1 แห่ง และมีวิทยาลัยเอกชนเกิดขึ้นประมาณ 450 แห่ง โปรแกรมที่เปิดสอนมีความหลากหลายและเน้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ประเทศเช่น   Twinning Degree Programme, Credit Transfer Degree Programme, Advanced Standing Programme (Validation),  External  Programme, Distance Learning Programme และ Franchised Programme ส่งผลให้มีการขยายการรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศมาเลเซีย เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานทั้งนี้เพราะมี คณะกรรมการรับรองวิทยฐานะแห่งชาติเป็นองค์กรควบคุมดูแลคุณภาพ เพื่อรับรองวิทยฐานะของโปรแกรมและวิชาที่จัดสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพอย่างแท้จริง และนอกจากรับนักศึกษาชาวมาเลเซียแล้ว ยังรับนักศึกษาจากต่างประเทศได้เป็นจํานวนมาก จัดเป็น education industry ที่ทํารายได้ให้ประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการระบุไว้อย่างเป็นทางการในวัตถุประสงค์ของ Private Education Department ที่ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการว่าการศึกษาถือเป็นแหล่งรายได้ของการส่ง ออก (to make education as a source of export)

           มีข้อสังเกตคือภายหลังการปฏิรูประบบอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยในมาเลเซีย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐจะมีการแข่งขันในด้านการรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อได้รับเงินจากค่าลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทดแทนรายได้ที่ได้จากรัฐบาลในสัดส่วนที่ลดลง นอกจากนี้ จะมีการบริหารและดําเนินการทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ร่วมมือกับภาคเอกชนและบุคคลภายนอกเพิ่มขึ้น และมีการจัดการเชิงธุรกิจหารายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการเน้นทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย เช่น การจัดตั้งสถาบันทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เป็นต้น
หมายเลขบันทึก: 69947เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท