วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ตอนที่ 5 บทเรียน PAR กับการพัฒนาบุคลากรในงานส่งเสริมการเกษตร


ถ้าคิดอย่างมีเหตุมีผล คิดอย่างใช้ข้อมูล ก็ทำให้งานมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับได้

          การทำงานพัฒนาตัวเจ้าหน้าที่ ให้ทำงานส่งเสริมการเกษตรเพื่อพัฒนาอาชีพและตัวของเกษตรกร  เริ่มมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน เริ่มตั้งแต่การปรับความคิด  ปรับวิธีการทำงาน  ปรับเครื่องมือ  และปรับบทบาท  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้ ความรักที่มีต่อองค์กรและเกษตรกร  ที่เป็นกำลังใจและเป็นกำลังสมองให้กับการกระทำที่ทุกคนมุ่งสู่เป้าหมายคือ พื้นที่ที่ทำอาชีพการเกษตร   

               บทเรียนที่ผ่านมาของการทำงานในหน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตรจึงเกิดขึ้นกับการลองผิดลองถูก  การสืบค้นผู้รู้และภูมิปัญญา  การเชื่อมโยงคน กลุ่ม และเครือข่าย  เป็นตัวอย่างชิ้นงานและองค์ความรู้ที่บรรลุผลสำเร็จเพื่อนำมาสู่การจัดการกับงานของตนเองให้บรรลุผล ในวันนี้ได้มีเจ้าหน้าที่และเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่ผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับ การทำวิจัยชุมชน  เพื่อสร้างเป็นฐานในการเรียนรู้เป็นของตนเองและกลุ่มสำหรับพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรให้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุมีผล  มีระบบการคิดเป็นตรรกะ  มีความเป็นตัวตนของนักวิชาการ  มีห้องทดลองงานวิทยาศาสตร์อยู่ในพื้นที่ตามมุมต่าง ๆ  และมีการต่อยอดงานอย่างต่อเนื่อง   

     ตัวอย่างเช่น                  

               ในกรณีของจังหวัดน่าน ได้มีการฝึกเจ้าหน้าที่โดยการนำ PAP เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเรียนรู้วิธีการชวนชาวบ้านคุย  มีการฝึกเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้กับชาวบ้าน  การจัดเวทีชุมชน ภายใต้เนื้อหาสาระเรื่อง  การจัดทำแผนชุมชน  หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่เป็นภาวะวิกฤติกับอาชีพส้มของเกษตรกร (ส้มร่วง) เจ้าหน้าที่จึงร่วมกันแก้ปัญหากับชุมชนโดยใช้เครื่องมือ PAP  ตั้งแต่ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหา  ร่วมกันสรุปประเด็นปัญหา  ร่วมกันวางแผนแก้ปัญหา  ร่วมกันลงมือแก้ปัญหากับสวนส้ม  และร่วมกันประเมินสรุปผลที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาแล้วพบว่า  สามารถร่วมกันฝ่าวิกฤติดังกล่าวได้บรรลุผลภายใต้การใช้ข้อมูลเป็นฐานในการปฏิบัติการอย่างมีเหตุมีผล  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกรโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)                   

               เมื่อจังหวัดน่านมีฐานในการปฏิบัติและมีประสบการณ์เกิดขึ้นจึงเริ่มมีการต่อยอดชิ้นงาน โดยรวบรวมและปรึกษาหารือกับผู้รู้และเครือข่าย เพื่อนำสู่การพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรให้ไม่หยุดนิ่งและงานส่งเสริมการเกษตรมีชีวิตจิตใจ มี โครงการ Safe Project  เข้ามาเป็นกิจกรรม ให้พัฒนาตัวเจ้าหน้าที่และตัวเกษตรกรผ่านการทำวิจัยชุมชนในอาชีพการเกษตร  อาทิเช่น  เรื่องกบ  เรื่องข้าว  เรื่องศัตรูพืช  เรื่องเมี่ยง   

               ฉะนั้น จาก ผลการสรุปงาน ในเวทีนำเสนอผลงานวิจัยชุมชน ที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 29  พฤศจิกายน  2549  นั้นพบว่า  1)  เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นสูง คือ  การนำผลงานวิจัยชุมชนที่ทำกับงานส่งเสริมการเกษตรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นเครือข่าย  2)  เจ้าหน้าที่มีประสบการณ์เรื่อง การทำวิจัยชุมชน ในขั้นของการรับรู้แบบองค์รวมโดยใช้เวลา 1 ปี  3)  จากการนำเสนอผลงานวิจัย ทำให้ได้คำตอบและข้อสรุปของงานส่งเสริมการเกษตรที่ไม่หยุดนิ่ง เกิดขึ้นตลอดเวลา และตรงความต้องการของเกษตรกร โดยผ่าน PAR  และ 4)  วิธีการทำงานดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนาตัวเจ้าหน้าที่และตัวเกษตรกรได้อย่างแท้จริง   

               แต่ จุดอ่อนที่เกิดขึ้นและควรเสริมหนุน ก็คือ 

          1)  เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ร่วมกันสรุปบทเรียนและองค์ความรู้ในอาชีพการเกษตรได้  ฉะนั้น  เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ก็ต้องการพี่เลี้ยงเพื่อสรุปบทเรียนและองค์ความรู้ในเทคนิคงานส่งเสริมการเกษตรด้วยเช่นกัน 

          2)  ทำอย่างไร? เราถึงจะบริหารจัดการงานส่งเสริมการเกษตรและการสอนงานให้มีการขยายผลให้เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน  และ

          3)  การบูรณาการงาน เป็นผลจากความร่วมมือของเครือข่ายระดับพื้นที่ (แนวราบ)  งานถึงสำเร็จได้ 

               ฉะนั้น ความร่วมมือของเครือข่ายแนวดิ่ง ทำอย่างไร? ถึงจะเกิดขึ้นได้จริงเพื่อเสริมหนุนและเป็นแรงผลักในการทำงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ได้ การสรุปบทเรียนเรื่อง PAR  กับการพัฒนาบุคลากรในงานส่งเสริมการเกษตร ได้ผ่านการถอดบทเรียนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่  1)  สรุปผลงาน ได้แก่  กิจกรรมที่ทำ  ผลที่ได้รับ/ข้อค้นพบใหม่  และ เทคนิคการทำงาน  และ 2)  กระบวนการวิจัยโดยชุมชน (เป็นคู่มือการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตร)   

ฉะนั้น  สิ่งที่เกิดขึ้น คือ  การวิจัยในอาชีพทางการเกษตรของเกษตรกร/ชุมชน ได้แก่  เรื่องข้าว  เรื่องกบ  เรื่องจิ้งหรีด  เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ  เรื่องการอนุรักษ์  เรื่องผักพื้นบ้าน  และเรื่องอื่น ๆ  และ สิ่งที่เพิ่มเติม คือ  การวิจัยในการทำงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร /กลุ่ม/ชุมชน  ได้แก่ 

- เรื่องวิธีคิดของชุมชนกับอาชีพทางเกษตร  เช่น ได้แก่ เรื่องข้าว  เรื่องกบ  เรื่องจิ้งหรีด  เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ  เรื่องการอนุรักษ์  เรื่องผักพื้นบ้าน เป็นต้น                 

- เรื่องวิธีการ/กระบวนการชวนชาวบ้านทำวิจัยชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพทางการเกษตร เช่น  ได้แก่  เรื่องข้าว  เรื่องกบ  เรื่องจิ้งหรีด  เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ  เรื่องการอนุรักษ์  เรื่องผักพื้นบ้าน  เป็นต้น                 

- เรื่องการนำวิธีการวิจัยชุมชนไปใช้ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกร/กลุ่ม/ชุมชน                 

- เรื่องอื่น ๆ                

ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นของปี 2549 กับการทำงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่กับเกษตรกร. 

คำสำคัญ (Tags): #สรุปบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 69887เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท