เกษตรผสมผสาน : ไม่ง่ายอย่างที่คิด


เกษตรกรต้องปรับมาคิดว่า จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ระบบการหมุนเวียนทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และกลับไปใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม และหรือเมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผลออกจากพื้นที่ จะต้องมีการจัดการอย่างไร จึงจะทำให้ระบบอยู่ในสมดุลเช่นเดิม

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในปัจจุบัน การพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานเป็นสิ่งที่ทุกคนฝันถึง ทั้งระดับเกษตรกรและระดับนโยบาย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่ในทางปฏิบัตินั้น มีไม่กี่คนที่รู้ว่า การจัดการระบบเกษตรผสมผสานนั้นต้องใช้ชุดความรู้มากมาย เพราะเป็นการจัดการทรัพยากรพื้นฐานด้านดิน ด้านน้ำ พืชพรรณ เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>รวมทั้งการจัดการแสงเพื่อให้มีการกระจายตัว ใช้ประโยชน์ในพืชต่างๆ อย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพสูงที่สุด   </p><p>พูดแค่นี้ ทุกคนก็จะเริ่มมองเห็นว่า ต้องมีทั้งชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดิน การจัดการน้ำ และการจัดการพืช เพื่อให้แสงส่องลงมาได้อย่างทั่วถึง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>แค่นี้ยังไม่พอนะครับ เพราะว่า ทรัพยากรเหล่านี้มีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง พืชก็จะโตอย่างต่อเนื่อง สมดุลต่างๆ ถูกปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ไม่มีพืชใดอยู่เฉยๆ มีการแข่งขัน ใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่างๆ แล้วแต่จังหวะการเจริญเติบโต  </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ระบบมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ที่จะต้องมีการจัดการในระบบให้สมดุลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ และในขณะเดียวกัน ยังต้องมีการจัดการตามความต้องการของเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้ผลิตผลเพื่อการบริโภค แจกจ่าย หรือจำหน่าย แล้วแต่กรณี </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ถ้าทำเช่นนั้น เกษตรกรต้องปรับมาคิดว่า จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ระบบการหมุนเวียนทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และกลับไปใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม และหรือเมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผลออกจากพื้นที่ จะต้องมีการจัดการอย่างไร จึงจะทำให้ระบบอยู่ในสมดุลเช่นเดิม </p><p>อีกนัยหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ระบบสมดุลของการจัดการนั้น จะต้องอยู่บนพื้นฐานของระบบสมดุลของทรัพยากรย่อย เช่น ดิน ธาตุอาหาร น้ำ แสง ที่สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของที่ดิน และยังทำให้ระบบนั้นพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปได้อีก   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เห็นไหมครับ การจัดการเพื่อให้เกิดความสมดุลของทรัพยากรเหล่านี้ ดูเหมือนจะง่ายนะครับ แต่ในทางปฏิบัติไม่ง่ายเลย และเป็นสิ่งที่ท้าทายนักวิชาการเชิงเดี่ยวให้หันมามองภาพเชิงระบบ เพื่อการทำงาน สนับสนุนซึ่งกันและกัน จนเกิดระบบเกษตรผสมผสานที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>หรือมิเช่นนั้นก็อาจจะเกิดปัญหาในการจัดการได้ในทุกระดับ</p><p> สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ยาก และนักวิชาการเชิงเดี่ยวทั้งหลายไม่อยากเข้ามาแตะ เพราะตนมีความรู้ไม่พอที่จะมาดำเนินการได้อย่างครบถ้วน และการทำงานเชิงเดี่ยวนั้น มักจะทำให้เกิดผลเสียหายในองค์รวมได้ง่ายๆ </p><p>เปรียบเสมือนการที่หมอผ่าตัดจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย ก็จะเกิดผลกระทบในบริเวณข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นระบบเส้นประสาท ระบบเส้นเลือด หรือระบบผิวหนัง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการผ่าตัดเลย แต่ก็ต้องถูกผลกระทบไปด้วย  </p><p>ลักษณะเช่นเดียวกันนี้ก็จะเกิดขึ้นในระบบเกษตรผสมผสานเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ระบบเกษตรผสมผสานจึงยากทั้งในการจัดการ การสอดแทรกความรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ </p><p>แต่จะง่ายทันที เมื่อมีคนมองในเชิงระบบ มองอย่างมีปฏิสัมพันธ์ มองอย่างเข้าใจระบบนิเวศ </p><p>เหมือนกับการพลิกฝ่ามือ ที่เราไม่ต้องคิดเลยว่าเราจะต้องพลิกนิ้วไหนขึ้นมาบ้างในกระบวนการพลิกฝ่ามือนั้น </p><p>อุปมาอุปไมยเช่นเดียวกัน  แต่ถ้าเรามาคิดว่า จะต้องยกนิ้วทีละนิ้ว เพื่อให้เกิดการพลิกฝ่ามือนั้น จะยากทันทีเลยครับ </p><p>ลองคิดดูนะครับ  จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่าย ก็ง่าย ล่ะครับ </p><p>แล้วแต่จะมอง ดูดี ๆ มีแต่ได้ครับ…. </p>



ความเห็น (20)

เรียน อาจารย์ ดร.แสวง  รวยสูงเนิน

  • อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพแต่ดั้งเดิมของบรรพบุรุษ แต่ถามว่ามีสักกี่คน ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ และสามารถยึดเป็นอาชีพที่เลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้อย่างสบายๆ เหมือนกับอาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะสังคมระดับรากแก้ว หรือระดับรากหญ้า (แล้วแต่จะเรียก) ซึ่งในความหมายของผมก็คือสังคมชนบทนั่นเอง
  • จากที่มีโอกาสได้สัมผัสกับครอบครัวเกษตรในชุมชนชนบทส่วนใหญ่จะพยายามหลีกหนีจากอาชีพที่บรรพบุรุษกำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ สมาชิกส่วนใหญ่หลั่งไหลเข้าเมืองกรุง หรือเขตเมืองใหญ่ๆ
  • ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับอาจารย์ทุกประการครับ ที่การทำการเกษตรนั้นมันคงเป็นเรื่องที่ยากจริงๆ ที่ทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ
  • แล้วเราจะทำอย่างไรครับอาจารย์ ที่จะช่วยให้อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่ทรงคุณค่า และมีพลัง สมกับการเป็นอาชีพจริงๆ ซึ่งผมคิดว่าคงเป็นหน้าที่ของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องทุกระดับ และเกษตรกรเจ้าของอาชีพ ที่จะต้องมาช่วยกัน จัดการความรู้เพื่อหาทางออกให้เป็นอาชีพที่ใครๆ ก็อยากเข้ามาทำเหมือนกับอาชีพอื่นๆ ครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

 

อาจารย์แสวงที่เคารพ

        อนาคตข้างหน้า  คำว่าอาชีพ เกษตรกร อาจจะหายหน้าไปจากสังคมไทย เหลือไว้แต่แรงงานเกษตรกรรมของฟาร์มขนาดใหญ่ของนายทุน  เพราะหลายนโยบายไม่ส่งเสริมเกษตกรรายย่อยให้สร้างงานสร้างอาชีพด้วยตนเอว มีแต่ส่งเสริมให้เป็นนักบริโภค

       ขอบคุณค่ะ

เราจึงต้องมาจัดการความรู้เรื่องนี้ให้ชัดเจน ทั้งส่วนย่อยและส่วนรวม

ทั้งในเชิง input process และ outputs

  ตัดสินว่าอะไรง่าย

อะไรยาก

อยู่ที่ประสิทธิภาพของการทำ

ทำจริง ได้จริง เห็นผลง่าย  แต่ทำยาก

ทำเล่น เหมือนลิงหลอกเจ้า ทำง่าย แต่ไม่มีทางเห็นผลง่ายๆ

เหมือนคนที่ไม่เรียนแต่จะให้เก่งให้รู้ มันก็ฝืนธรรมขาติ

ปลูกมะม่วงวันเดียวให้ออกผล  มันทำบ่ได้ ความรู้เรายังไม่เก่งปานนั้น ต้องมีความรู้ระดับพิศดารจึงจะทำได้

แล้วความรู้ระดับเล่นกล หรือลิงหลอกเจ้านี่ถือเป็นความรู้แบบไหนครับ ผมเห็นว่าเป็นที่นิยมมากเหลือเกินครับ

โดยเฉพาะผู้บริหารและนักการเมืองแถวๆข้างๆบ้านครูบานั่นแหละ

ก็ระวังพวกมักง่ายจะหาจุดแซวนะครับ กันไว้ก่อน

เรียนอ.แสวง

            พูดถึงการทำงานหรือการเริ่มต้น ต้องเริ่มจากยาก ยิ่งเราทำบ่อย ๆ จะเริ่มชำนาญและสอนคนอื่นได้  ไม่มีอะไรที่จะเริ่มต้นจากการเชี่ยวชาญก่อน  ต้องลองผิดลองถูกทุกคน  แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง ๆ ก็ต้องศึกษาและทดลองมาเป็นร้อย เป็นพันครั้งกว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญได้

            พูดถึงการทำงานแบบเกษตรผสมผสานเป็นความใฝ่ฝันของเกษตรกรเกือบทุกคน  รวมทั้งราณีที่อยากมีพื้นที่ทำบ้าง (ถึงแม้นว่าจะเป็นแค่ความฝันก็ตาม เพราะมันทำให้มีความสุขทางใจ)  จริง ๆแล้วถ้าเรานำคนที่มีความรู้เกี่ยวกับเกษตรผสมผสานไป บอกถึงประโยชน์ของการทำการเกษตรแบบนี้  จะทำให้เกษตรกรมีความรู้และนำไปบอกต่อๆ ไปอีก 

           สำคัญที่คนไปให้ความรู้ค่ะ จะทำให้การขยายตัวภาคการเกษตรมีแบบยั่งยืนค่ะ

คุณรานีลองดูซิครับ ชีวิตจะมีความหมายอีกหลายๆมุมมอง อยากให้ลองเองแล้วจะรู้ แบบ ปัจจัตตัง ครับ

อยากทำมากค่ะอาจารย์ สำคัญที่ไม่มีพื้นที่ ถ้าอาจารย์มีที่ไหนบอกด้วยนะค่ะ

       ซินเจี่ยยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้
           อังเปาตั่วตั่วไก้

  รักษาสุขภาพนะค่ะอาจารย์
 

คุณรานีครับ

เกษตรผสมผสานเริ่มได้ตั้งแต่ กระถางแขวนข้างบ้าน ระเบียงบ้านที่มีแสง

กระถางข้างทางเข้าบ้าน

สัก ๑-๒ ตารางเมตรหน้าบ้าน และถ้ามีก็ค่อยๆขยับขยายไป

ความรู้ที่ดีต้องเริ่มจากเล็กไปใหญ่ครับ

ผมเริ่มต้นจาก ๐ อย่างที่เคยเล่าให้ฟัง ไม่มีแม้ตารางเมตรเดียว นอกจากมรดกที่โคราช ๓๐ ตารางวา ที่ผมไปสร้างบ้านร่วมกับพี่ชายอีก ๓ คน รวมกันเป็น ๑๒๐ ตารางวาครับ

ค่อยๆเก็บมาเรื่อยๆ ตอนนี้ผมมีที่บ้าน สวน นา ไร่ ที่เลี้ยงวัว ควาย เป็น พท  ๑๐ กว่าไร่ในทุกรูปแบบ จนใช้ไม่ค่อยหมด เพราะบางแปลงก็ห่างออกไป ใช้ยากนืดหนึ่ง

เสียดายครับ ถ้าอาจารย์อยู่ขอนแก่น ผมมีที่ให้ทำได้ทันที ติดน้ำด้วยนะจะบอกให้

คุณรานีครับ

ถ้าเราเริ่มทำจริงอย่าว่าแต่ไร่สองไร่เลย เป็น ๑๐๐ ไร่ก็มีคนอยากยกให้

 

ปีที่แล้ว ผมจำเป็นต้องปฏิเสธไปมากมาย

รวมๆ มีคยยกที่ให้ผมหลายแปลง แบบไม่คิดค่าอะไรทั้งสิ้น รวมกันแล้วกว่า ๑๕๐ ไร่

มีตั้งแต่ติดถนนใหญ่ จนถึงติดแม่น้ำ ผมทำไม่ไหว แค่ที่ผมทำอยู่ก็ไม่ค่อยรอดเท่าไหร่ครับ

เราต้องทำก่อนครับ ก่อนที่จะมีใครมาช่วยเรา

นี่คือประสบกาณ์ตรงของผมในทุกเรื่องครับ

ลองคิดดูนะครับ

ต้องอาศัยความรู้ และระยะเวลาในการจัดการเป็นธรรมดา

 

เรียนอ.แสวง 

ขอบคุณสำหรับน้ำใจของอาจารย์  ซึ้งมาก ๆ กับน้ำใจของอาจารย์ค่ะ  แต่ราณีก็ชอบซื้อต้นไม้ปลูกไว้เยอะค่ะ  ถึงแม้จะมีบ้านเป็นตึกแถวก็ตาม  หน้าร้านก็มีต้นไม้ไม่ต่ำกว่า15 ชนิด  ส่วนที่บ้านหลังบ้านก็มีต้นไม้เยอะเหมือนกันชอบที่เห็นต้นไม้เขียว ๆ ค่ะมีความสุขมาก

แหมทำแล้วก็ไม่บอก ให้ปล่อยไก่ตัวเบ้อเร่อ เลยครับ

สวัสดีท่านอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านครับ

ผมเป็นคนหนึ่งที่รักอาชีพเกษตรกรรมครับ แต่เนื่องด้วยฐานะทางบ้านไม่อำนวยจึงต้องทำงานบริษัทเอกชนซึ่งตอนนี้เป็นเวลากว่าสองปีแล้วที่ผมทำงานมาและเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งซึ่งผมนำเงินก้อนนี้ไปซื้อที่ได้ 3 ไร่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรีครับ ผมวางแผนว่าจะทำงานต่อไปอีกประมาณ 2 - 3 ปีเพื่อนำเงินส่วนที่เก็บได้ในแต่ละเดือนมาถมลงในที่ที่ผมซื้อไว้ครับ ผมอยากทำเกษตรผสมผสาน แต่ไม่ค่อยมีความรู้มากนักในเรื่องนี้ ที่ของผมเป็นที่ค่อนข้างลุ่มครับ เกือบจะเป็นที่นาด้วยซ้ำ แต่ยังดีที่ไม่มีน้ำขัง โครงการที่วางแผนไว้มีหลายอย่างครับ ผมกะว่าเริ่มแรกจะขุดสระน้ำ และนำไม้ยืนต้นมาปลูกรอบ ๆ พื้นที่เพื่อกันไว้เป็นรั้วบ้าน และจะปลูกไผ่ด้วย แต่ไม้ยืนต้นที่สามารถให้ผลและนำไม้บางส่วนมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยนั้น ผมยังคิดไม่ออกว่าจะเลือกไม้อะไรดี รบกวนท่านผู้รู้ทุกท่านแนะนำด้วยครับ เผื่อจะสามารถนำไปใช้ได้ ขอบคุณครับ

จักรพันธ์ โสวะพันธ์

เรียน อ.แสวง กระผมเรียนที่ม.เกษตร สกลครับ ผมอยากปลูกกฤษณาเเล้วมันดีไหมครับ อ.ช่วยชี้เเนะด้วยครับ แบบผมอยากมีลู่ทางในการทำหนะครับ ขอบคุณครับ

ดีครับ แต่ต้องเป็นคนละเอียด เงินที่ได้จะช้า แต่ดูดีๆจะได้มากพอสมควร

ราคาขั้นต่ำลิตรละ ๒ ล้านบาทครับ

น่าเล่นสำหรับคนไม่ใจร้อน และชอบเรียนครับ

โทรมาคุยดีกว่าครับ จะได้รายละเอียดมากกว่า

จักรพันธ์ โสวะพันธ์

รบกวนขอเบอร์โทรอาจารย์ด้วยครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูขอปรึกษาเรื่องอยากทำเกษตรผสมผสานแต่ที่ดินเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำเลย แห้งแล้งมาก คิดว่าจะขุดน้ำบาดาลใช้ในการทำเกษตรจะคุ้มและรอดไหมค่ะหรือจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ตอนนี้ปลูกไม้ยูคาลิปตัสอยู่นะค่ะ แต่อยากจะเปลี่ยนทำเกษตรผสมผสานนะค่ะ ช่วยตอบด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ผมเชื่อว่าเดิมเป็นป่าไม้ ไม้เดิมอยู่ได้ ทำไมเราจะนำกลับคืนมาไม่ได้

ให้ศึกษาของเก่า แล้วค่อยๆพัฒนา ถ้ามีน้ำ และปุ๋ยเสริมก็จะดี เพราะของเก่าเขาเคยมี แต่ถูกทำลายไปแล้ว

หลักการคือนำของเดิมกลับมาก่อน แล้วพัฒนาต่อ ได้แน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท