สถิติอันตราย


สถิติอันตราย” เพราะอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้อง

แนวคิดนี้ ผมได้มาจากการสอนนักศึกษาด้านการวิจัยในระดับปริญญาเอก ซึ่งนิยมใช้วิชาสถิติในการประเมินผลการทดลอง โดยบางครั้งไม่ได้ดูว่า พื้นฐานทางความคิดของการวิเคราะห์นั้นเกิดมาจากอะไร แต่มักจะหลับหูหลับตาตัดสินตีความไปทางนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้โดยง่าย โดยเฉพาะการวิเคราะห์เพื่อลดความแปรปรวน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางสถิติ

  

ซึ่งได้มาจากหลักการพื้นฐานที่ว่า ความแตกต่างเก็บไว้ก่อน นำความเหมือนเข้ามาสร้างความรู้ เพราะความเหมือนนั้นทำให้เราเข้าใจว่าสิ่งที่เหมือนกันเกิดผลอะไรได้บ้าง นั่นคือ หลักการเบื้องต้นของการวิเคราะห์ความแตกต่าง (Analysis of Variances)

  

แต่ในระดับที่สอง เราจะเริ่มวิเคราะห์ความแตกต่าง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นการหาสหสัมพันธ์โดยวิธีต่างๆ ว่าปัจจัยใดมีสหสัมพันธ์กับปัจจัยใด (Correlations)

  

จุดนี้ล่ะครับ เป็นจุดที่ทำให้เกิดความสับสนมาก คนที่ไม่เข้าใจทฤษฎี ก็จะตีความผิดได้ง่าย

  

ผมเลยยกตัวอย่างว่า ให้ลองนำ ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก ว่ามีความสัมพันธ์กับนิสัยการบริโภคอย่างไร ก็อาจได้คำตอบว่า การรับประทานขนมปังเป็นอาหารหลัก มีสหสัมพันธ์สูงมาก อันเนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกส่วนใหญ่มาจากประเทศยุโรปและอเมริกา ที่รับประทานขนมปังเป็นอาหารหลักอยู่ แล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ทางโลกตะวันออก ที่บริโภค ข้าว เป็นอาหารหลักมีจำนวนน้อยกว่า 

ลองนึกดูสิครับ ลองเอาเรื่องอาหารหลักมาวิเคราะห์สหสัมพันธ์ กับ ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก เราจะได้คำตอบว่าอะไรครับ..  

ทุกคนตอบได้ทันทีว่า ต้องสัมพันธ์กับการรับประทานขนมปังแน่นอน

  

แต่ท่านคิดว่า..ใช่ไหมครับ!.. ก็สถิติบอกอย่างนั้นนี่ครับ ทำไมจะไม่เชื่อล่ะครับ

  เชื่อไม่ได้หรอกครับ..เพราะพื้นฐานไม่ถูกต้อง  

นี่แหล่ะครับ ที่ผมเรียกว่า สถิติอันตราย เพราะอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้อง 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง เรื่องไม่ได้ง่ายอย่างที่ผมยกตัวอย่างนี้หรอกครับ ซับซ้อนกว่านี้ และเข้าใจยากกว่านี้ และมีใครซะกี่คนที่จะตามค้นสืบไปดูว่าข้อสรุปนั้นมาจากหลักการว่าอะไร 

แต่คนส่วนใหญ่ หรือจำนวนหนึ่งก็แล้วแต่ ยึดถือผลลัพธ์ แล้วนำไปใช้เลย หลักการนี้ใช้กันมากในวิชาหมอดู และการโฆษณาสินค้าขายตรง ว่า เมื่อทำแล้วจะเกิดผลอย่างนั้นอย่างนี้ โดยอาศัยตัวอย่างที่สอดคล้องกับประเด็นที่เขาต้องการพูด 

เห็นไหมครับ..ว่าอันตรายแค่ไหน 

ระวัง! หน่อยนะครับ เวลาใครเสนอข้อมูลทางสถิติ ต้องถามเลยล่ะว่า มีฐานคิดในการวิเคราะห์มาจากอะไร ไม่งั้นท่านจะโดนต้มเอาง่ายๆ เลยล่ะครับ...

โดยเฉพาะจากพวก ๑๘ มงกุฎทั้งหลายขอให้อยู่รอดปลอดภัยนะครับ
หมายเลขบันทึก: 69800เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ ผมพยายามเรียนรู้การทำวิจัย และการใช้สถิติต่างๆ (เพิ่งเรียนจบครับ) พออ่านบทความของอาจารย์ กระจ่างเลยครับ จากที่งงๆ มานาน ว่าเอ๊ะ ทำไมเราต้องควบคุมตัวแปรต่างๆ เช่น อายุ เพศ อะไรประมาณนี้ ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ

อยากให้อาจารย์นำเสนอแนวคิดเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ครับ

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

ขอบคุณครับคุณสุรศักดิ์

ผมจะเก็บตกประเด็นการสอนมาไว้เรื่อยๆครับ

เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ เพื่อจะได้สร้างความตระหนักให้กับนักวิจัย "จ๋า" ทั้งหลาย ที่พยายามเชื่อมโยงและพยายามผลิตแต่ Paper  ไปวันๆ แล้วเอาความฉลาดของตนเองหลอกคนอื่นไปวันๆ

ด้วยความเคารพ

อุทัย

  นักวิทยาศาสตร์บริโภคอะไรก้แล้วแต่

คนที่ชอบ ไข่มดแดง แกงเห็ดเผาะ จิบไวน์

ทำให้เซลย์สมองดีกว่าปกติตรงไหน

มีใครทำสถิติแล้วยัง 

ยังหาเครื่องมือไม่ได้ครับ ครูบา

อรุณสวัสดิ์อีกครั้งค่ะท่าน  ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • บันทึกนี้มีประโยชน์มากค่ะ 
  • ครูอ้อยกำลังเรียนเรื่องสหสัมพันธ์ในภาคเรียนนี้พอดี  พอจะเข้าใจ 

ขอบคุณมากค่ะ

ครูอ้อยทำไมเรียนหลายอย่างจังครับ

แค่นี้ก็ทึ่งแล้วครับ

พหุปัญญา  ยังไม่พอ ยังเป็น พหุลักษณ์ อีกหรือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท