การเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งในปรัชญาและรูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะสามารถนำมาสอดแทรกในการเรียนการสอน การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ผู้เขียน ร่าง “โครงการพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมรองคณบดีฝ่ายวิชาการของคณะวิชาต่างๆ เพื่อรับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ขอให้สถาบันการศึกษาน้อมนำพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญาในการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม รวมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง และมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ประชุมได้เล็งเห็นความสำคัญในแนวนโยบายการน้อมนำแนวพระราชดำรัส เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนโดยการสอดแทรกในเนื้อวิชาต่างๆ รวมทั้งเปิดสอนเป็นรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทั้งนี้ในการดำเนินงานดังกล่าว ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งในปรัชญาและรูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะสามารถนำมาสอดแทรกในการเรียนการสอน การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ผู้เขียน ร่าง โครงการพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จากงานที่ได้รับมอบหมายจึงได้คิดว่าน่าจะมีกิจกรรมดังนี้ค่ะ 

1.      การสัมมนา เรื่อง แนวทางการเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการปูพื้นให้ทราบถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคาดว่าจะเชิญ ท่าน ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ และดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรยายพิเศษค่ะ

2.      การศึกษาดูงาน เพื่อให้เห็นสภาพจริง ซึ่งสถานที่ที่คาดว่าจะไปดูงานคือ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน หมู่บ้านคำปลาหลาย โรงพยาบาลอำเภออุบลรัตน์ และศูนย์ค้ำคูณ เพื่อพบ นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร   พญ.ทานทิพย์ ธำรงวรางกูร ตัวแทนชาวบ้านหมู่บ้านคำปลาหลายและ Mr.Martin Wheeler อีกที่หนึ่งที่อยากจะไปคือ สวนป่าของท่านครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

3.      สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ความรู้ที่ได้จากการสัมมนา และศึกษาดูงาน เป็นการ แลกเปลี่ยนแนวคิดและความเข้าใจของอาจารย์แต่ละท่าน เพื่อสรุปเป็นแนวทางการเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.      จัดทำคู่มือแนวทางการเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้คณาจารย์ได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนในภาคต้นปีการศึกษา 2550

5.   สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากที่ได้สอนแล้วหนึ่งภาคการศึกษา ก็จะเชิญคณาจารย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของแต่ละท่าน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อไป

จึงอยากจะขอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากทุกท่านด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 69785เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
เริ่มต้นจาก 5 ข้อนี้ก่อน แล้วค่อยขยาย อย่างเช่น ถ้ามีการตั้งชมรมของนักศึกษา ได้ก็น่าจะดีนะคะ

ผมคิดว่าการที่จะสอนนักศึกษาให้เข้าใจความพอเพียง หรืออาจจะใช้คำว่าเหมาะสม เป็นสิ่งที่วงการแพทย์เราพูดกันมานานแล้ว เช่นไม่ควรสั่งการรักษาที่แพง จนต้องให้คนไข้ต้องขายไร่ขายนามาเป็นค่ารักษา   การรักษาเพื่อยื้อชีวิตไม่ให้ตายควรยุติเมื่อใด   การสั่งการตรวจ lab เช่นสั่งตรวจเลือดหลายชนิดโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่คนไข้จะได้ เทียบกับสิ่งที่ต้องเสีย (เช่นปริมาณเลือดที่ต้องเจาะออกจากตัวคนไข้  ต้นทุน ค่าแรงคนทำแลบ) เหล่านี้คือตัวอย่างที่ทำกันอยู่ในวงการแพทย์ (แต่คงไม่ทุกคน)   ส่วนในแวดวงอื่นั้นผมไม่มีความรู้และประสบการณ์ จึงเพียงเขียนในส่วนที่พอจะทราบ  เผื่อท่านจะเกิดความคิดอื่นเพิ่มเติมในสาขาวิชาอื่นครับ

  • ขอบคุณค่ะ คุณใบบุญ
  • ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะค่ะ เห็นด้วยค่ะ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ได้โดยการปฏิบัติด้วย
  • จะได้นำเสนอที่ประชุมต่อไปค่ะ

เรียนนายแพทย์ สาโรจน์ สันตยากร

  • ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ
  • ที่แวะมาให้ข้อคิดเห็น และมุมมองความพอเพียงทางการแพทย์ค่ะ

ผมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านว่า 

            การพัฒนาการเรียนการสอนโดยสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ควรเริ่มจากการเรียนรู้ตัวเอง    เข้าใจตัวเอง ซึ่งจะทำให้ทุกคนมีเหตุผลที่จะสร้างสิ่งที่พอเหมาะกับตัวเอง สิ่งเหล่านี้คือฐานสำคัญของการเชื่อมโยงตัวเองไปสู่สิ่งอื่น   โดยจะมีความต่างจากคำว่า  เห็นแก่ตัว 

            แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเรียนรู้กับทุกท่าน

  • มาร่วมแจมด้วยครับ
  • ผมว่า การสอนของอาจารย์ ต้องมาจากพฤติกรรมของอาจารย์ด้วยครับ ว่าท่านอาจารย์ทั้งหลาดได้ดำรงชีวิตแบบพอเพียงอย่างไร...ต้องมาจากภายในตัวอาจารย์ทั้งหลาย..ไม่อย่างนั้นการเรียน-การสอนก็ไม่ได้ผล
  • น่าจะมีการลปรร.กัน ระหว่างอาจารย์ว่า ด้วยว่า แต่ละท่านดำรงชีวิตแบบพอเพียงอย่างไร
  • อาจารย์หลายท่านอาจถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตแบบพอเพียง..เพื่อให้อาจารย์รุ่นใหม่นำไปปรับใช้ได้ครับ
  • มาสนับสนุนครับ
  • ขอไปสอนเด็กๆก่อนแล้วจะมาทักทายใหม่ครับ
  • ยังอยู่ชายแดนครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะไปทักทาย
  • วันนี้สอนเด็กๆชายแดนด้วยความสนุกครับเด็กน่ารักและตั้งใจเรียนใช้กิจกรรมเรียนปนเล่น
  • เด็กบอกว่าอยากให้มาทุกวันเลย
  • มาสวัสดีปีใหม่ครับผม
  • ขอบคุณอาจารย์เม็กดำ 1 มากค่ะ ที่มา ลปรร
  • แสดงว่านอกจากจะเรียนรู้ รู้จักเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ต้องเรียนรู้ และรู้จักตัวเองด้วยใช่มั้ยค่ะ เพื่อสร้างสิ่งที่พอเหมาะกับตัวเอง
  • ขอบคุณมากค่ะอาจารย์
  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์beeman
  • ค่ะ หลังจากฟังบรรยาย ดูงานแล้ว นอกจากจะให้อาจารย์ ลปรร แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าแล้ว จะให้อาจารย์ ลปรร ด้วยว่า แต่ละท่านดำรงชีวิตแบบพอเพียงอย่างไร ตามที่อาจารย์แนะนำด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะอาจารย์
  • ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากๆ ค่ะที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจเสมอๆ
  • สอนเด็กๆ ที่ชายแดนน่าสนุกนะค่ะ
  • ถ้าไปสอนเด็กๆทุกวัน อาจารย์ก็เข้า blog ไม่ได้ทุกวัน ......
  • blogger หลายท่านต้องคิดถึงอาจารย์แน่ๆ เลยค่ะ

อาจารย์คะ  ปีนี้เป็นปี  ๒๕๕๑  คิดว่าโครงการนี้น่าจะมีความก้าวหน้า  อยากทราบว่าปีอะไรก้าวหน้าบ้าหากยังไม่สรุปโครงการขอเพียงคร่าวๆ.....พรุ่งนี้จะนำไปตอบข้อสอบค่ะ

สวัสดีค่ะ

ได้เขียนโครงการและเสนอผู้บริหารไปแล้ว แต่ทางผู้บริหารได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปค่ะ โดยเชิญทีมวิทยากรที่เป็นผู้จัดอบรมด้านนี้โดยตรงมาอบรม ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเริ้มอบรมเมื่อไหร่ค่ะ

เสียดายค่ะที่โครงการนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่คาดว่ารูปแบบใหม่ที่เชิญวิทยากรมาอบรมก็คงจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้นค่ะ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท